Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ช่วงความเชื่อมั่นสำหรับฟังก์ชั่นการอยู่รอด เมื่อข้อมูลมีค่าที่ถูกตัดทิ้ง

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Confidence interval for survival functions with censored data

Year (A.D.)

1996

Document Type

Thesis

First Advisor

มานพ วราภักดิ์

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

การประกันภัย

DOI

10.58837/CHULA.THE.1996.1365

Abstract

ศึกษาเปรียบเทียบวิธีการประมาณค่าฟังก์ชันการอยู่รอดเมื่อข้อมูลมีค่าที่ถูกตัดทิ้งแบบช่วง โดยการเปรียบเทียบค่าระดับความเชื่อมั่นและค่าความยาวเฉลี่ยของช่วงความเชื่อมั่นของแต่ละวิธีการประมาณ วิธีการประมาณที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ วิธีความเที่ยงเท่ากัน (Equal Precision), วิธีฮอล-เวลเนอร์ (Hall-Wellner) และวิธีเรนยี (Renyi) ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยได้จากการจำลองด้วยเทคนิคมอนติคาร์โล การวิเคราะห์ข้อมูลกระทำเมื่อข้อมูลมีค่าที่ถูกตัดทิ้งแบบสุ่ม โดยกำหนดการแจกแจงของข้อมูลที่ไม่ถูกตัดทิ้งเป็นแบบไวบูลล์, ลอกนอร์มอล และกอมเพริตซ์ การแจกแจงของข้อมูลที่ถูกตัดทิ้งเป็นแบบสม่ำเสมอและเอกซโปเนนเชียลค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นเป็น 90%, 95% และ 99% ค่าสัดส่วนของข้อมูลที่ถูกตัดทิ้งเป็น 10%, 20% และ 30% ขนาดตัวอย่างเป็น 25, 50, 100 และ 200 เวลาของการอยู่รอดเป็น 0.25 ถึง 3.00 โดยเพิ่มขึ้นทีละ 0.25 โดยทำการทดลองซ้ำ ๆ กัน 2,000 ครั้งในแต่ละสถานการณ์ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ค่าระดับความเชื่อมั่นจากการทดลอง ในกรณีศึกษาส่วนใหญ่ช่วงความเชื่อมั่นที่ประมาณจากวิธีความเที่ยงเท่ากัน และวิธีฮอล-เวลเนอร์จะให้ค่าระดับความเชื่อมั่นจากการทดลองไม่ต่ำกว่าค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นที่กำหนด ส่วนช่วงความเชื่อมั่นที่ประมาณจากวิธีเรนยี จะให้ค่าระดับความเชื่อมั่นจากการทดลอง ไม่ต่ำกว่าค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นที่กำหนดเมื่อฟังก์ชันการอยู่รอดมีค่ามากกว่า 0.3 (S(t)>0.3) 2. ค่าความยาวเฉลี่ยของช่วงความเชื่อมั่น ในกรณีศึกษาส่วนใหญ่ช่วงความเชื่อมั่นที่ประมาณจากวิธีความเที่ยงเท่ากันจะให้ค่าความยาวเฉลี่ยของช่วงความเชื่อมั่นต่ำที่สุดเมื่อฟังก์ชันการอยู่รอดมีค่าน้อย (S(t)<0.3) หรือมีค่ามาก (S(t)>0.75) ส่วนช่วงความเชื่อมั่นที่ประมาณจากวิธีฮอล-เวลเนอร์จะให้ค่าความเฉลี่ยของช่วงความเชื่อมั่นต่ำที่สุดเมื่อฟังก์ชันการอยู่รอดมีค่าปานกลาง (0.3

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

Compares the interval estimation methods for survival functions with censored data by comparing their confidence levels and average confidence interval lengths. The estimation methods under consideration in this study are Equal precision method, Hall-Wellner method, and Renyi method. The experimentation data are generated through the Monte Carlo Simulation technique with sample sizes 25, 50, 100, and 200. The analysis of data is performed in case of random censored data by studying the uncensored data distributions from Weibull, Lognormal, and Gompertz ; the censored data distributions from Uniform and Exponential. This study is made on censoring proportions 10%, 20%, and 30% ; confidence levels 90%, 95%, and 99% ; survival time ranging from 0.25 to 3.00 increasing by 0.25. The experiment is repeated 2,000 times under each case. The conclusions of this study are as follows:- 1) Confidence levels: In most cases, the confidence levels of Equal precision method and Hall-Wellner method are not lower than the given confidence levels of 90%, 95%, 99%. The confidence levels of Renyi method are not lower than the given confidence levels of 90%, 95%, 99%, when survival functions are more than 0.3 (s(t)>0.3). 2) Average confidence interval lengths: In most cases, average confidence interval lengths of Equal precision method are shortest when survival functions are low (s(t)<0.3) or high (s(t)>o.75). Average confidence interval lengths of Hall-Wellner method are shortest when survival functions are medium (0.3

Share

COinS