Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
โลกทัศน์ประชาธิปไตยของชนชั้นกลางไทย : ศึกษาเปรียบเทียบกลุ่มข้าราชการประจำกับกลุ่มพนักงานองค์กรเอกชน
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Democratic world-view of the Thai middle class a comparative study of government officials and private enterprise employees
Year (A.D.)
1996
Document Type
Thesis
First Advisor
อนุสรณ์ ลิ่มมณี
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
การปกครอง
DOI
10.58837/CHULA.THE.1996.1199
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีจุดหมายเพื่อศึกษาว่า ตัวแปรทางด้านภูมิหลังทางเศรษฐกิจสังคม ตัวใดที่มีอิทธิพลต่อการมีโลกทัศน์ประชาธิปไตย โดยได้ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มข้าราชการกรมการปกครองกับกลุ่มพนักงานธนาคารกรุงเทพ ซึ่งเป็นการศึกษาในเชิงปริมาณที่ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือหลักในการเก็บรวบรวมข้อมูล นอกเหนือไปจากการค้นคว้าจากเอกสารที่ได้จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ สำหรับตัวแปรที่นำมาใช้ในการศึกษาเพื่อหาความสัมพันธ์ตามสมมุติฐานสามารถแยกพิจารณา ได้ดังนี้ 1. ตัวแปรต้น ได้แก่ เพศ, อายุ, การศึกษา, รายได้และระยะเวลาการทำงาน 2. ตัวแปรตาม ได้แก่ โลกทัศน์ประชาธิปไตยของกลุ่มข้าราชการกรมการปกครองกับกลุ่มพนักงานธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ผลการวิจัยว่า มีเพียงตัวแปรทางด้านเพศและระดับการศึกษา เท่านั้นที่มีผลต่อการมีโลกทัศน์ประชาธิปไตยที่แตกต่างกันของกลุ่มข้าราชการกรมการปกครองและกลุ่มพนักงานธนาคารกรุงเทพ โดยข้าราชการและพนักงานเพศชายที่มีระดับการศึกษาสูงจะมีโลกทัศน์ประชาธิปไตยในเชิงบวกสูงกว่าข้าราชการและพนักงานธนาคารเพศหญิงที่มีการศึกษาต่ำ นอกจากนี้ยังพบว่า ความแตกต่างในเรื่องอายุ, ระดับรายได้, ระยะเวลาการทำงานและกลุ่มอาชีพไม่มีความสัมพันธ์ต่อการมีโลกทัศน์ประชาธิปไตยของทั้ง 2 กลุ่ม แต่ประการใด เมื่อพิจารณาถึงโลกทัศน์ประชาธิปไตยโดยภาพรวมของทั้ง 2 กลุ่มแล้วพบว่าทั้ง 2 กลุ่ม ต่างก็มีโลกทัศน์ประชาธิปไตยอยู่ในระดับปานกลาง แต่มีความโน้มเอียงว่ากลุ่มข้าราชการกรมการปกครอง จะมีโลกทัศน์ประชาธิปไตยในเชิงลบได้มากกว่ากลุ่มพนักงานธนาคารกรุงเทพ
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The purpose of the research is to identify which socio-economic variables influence the democratic world-view of government officials and private enterprise employees (Bangkok Bank). In addition to searching information from various sources, this comparative study uses quantitative techinques, mainly through questionnaires in its data collection and analysis. The results indicate that only two variables of gender and level of education have an effect on different world-views of government officials and private enterprise employees. The male officials and employees who possess high level of education produce more positive effects on democratic world-view than those female groups who have low educational background. Besides, the study finds that the differences in age, level of income, length of work and occupation do not provide any influence on the democratic world-view of the two groups. Considering the overview of both groups, their democratic world-views are at the middle level, but there is a tendency that government officials have more negative attitudes to2ards the democracy than private enterprise employees.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
ตรีธนากร, สุนีย์, "โลกทัศน์ประชาธิปไตยของชนชั้นกลางไทย : ศึกษาเปรียบเทียบกลุ่มข้าราชการประจำกับกลุ่มพนักงานองค์กรเอกชน" (1996). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 27932.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/27932