Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
การเปรียบเทียบการพัฒนาความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยแตกต่างกัน ที่เรียนโดยการสอนแบบแลกเปลี่ยนบทบาทผสมผสานการอธิบายโดยตรง
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
A comparison of the development of Thai reading comprehension ability of prathom suksa six students with different learning achievement learnt by reciprocal teaching integrated with direct explanation
Year (A.D.)
1996
Document Type
Thesis
First Advisor
มณีรัตน์ สุกโชติรัตน์
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
ประถมศึกษา
DOI
10.58837/CHULA.THE.1996.466
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการพัฒนาความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจภาษาไทย โดยการสอนแบบแลกเปลี่ยนบทบาทผสมผสานการอธิบายโดยตรงของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยสูง ปานกลาง และต่ำ ตัวอย่างประชากรเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสุขสวัสดิ์ อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ จำนวน 60 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 30 คน แต่ละกลุ่มประกอบด้วยนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยสูง 10 คน ปานกลาง 10 คน และต่ำ 10 คน ทั้ง 2 กลุ่ม ได้รับการสอนแบบแลกเปลี่ยนบทบาทผสมผสานการอธิบายโดยตรง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบทดสอบความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจภาษาไทยที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของ gain-score และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (one-way analysis of variance) ผลการวิจัยพบว่า 1. หลังการทดลอง คะแนนความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจภาษาไทยของนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยต่ำ และปานกลาง เพิ่มขึ้นไม่แตกต่างกัน 2. หลังการทดลอง คะแนนความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจภาษาไทยของนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยสูงเพิ่มขึ้นมากกว่าคะแนนของนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยต่ำที่เพิ่มขึ้น 3. หลังการทดลอง คะแนนความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจภาษาไทยของนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยปานกลาง และสูง เพิ่มขึ้นไม่แตกต่างกัน
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The purpose of this research was to compare the development of Thai reading comprehension ability through the reciprocal teaching integrated with the direct explanation of prathom suksa six students having high, moderate, and low achievement of Thai language. The samples were sixty students of prathom suksa six from Suksawad School, Amphur Prapradeng, Sumutprakharn. The students were divided into two experimental groups, each of which consisted of thirty students with equal number group of high, moderate and low Thai language achievement. The instruments used in this research were the Thai reading comprehension ability teacher-made tests. The data were analyzed by use of gain-score and one-way analysis of variance. The findings indicated that : 1. After having the experiment, increasing scores on Thai reading comprehension ability of the students who have low and moderate Thai language achievement were not statistically different. 2. After having the experiment, the high achieved students have higher scores than those of the low achieved students. 3. After having the experiment, increasing scores on Thai reading comprehension ability of students have moderate and high Thai language achievement were not statistically different.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
วิทโยฬารโกวิท, พิมพ์พา, "การเปรียบเทียบการพัฒนาความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยแตกต่างกัน ที่เรียนโดยการสอนแบบแลกเปลี่ยนบทบาทผสมผสานการอธิบายโดยตรง" (1996). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 27834.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/27834