Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ผลของการใช้ทักษะการสื่อสารทางวาจาตามแนวคิดกลุ่มปฏิสัมพันธ์ ที่มีต่อความสามารถทางการพูดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานการประถมศึกษากรุงเทพมหานคร

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Effects of using oral communication skills according to interaction approach towards speaking ability of Prathom Suksa Four students in elementary school under the Jurisdiction of Office of Bangkok Primary Education

Year (A.D.)

1996

Document Type

Thesis

First Advisor

อัจฉรา ชีวพันธ์

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

ครุศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

ประถมศึกษา

DOI

10.58837/CHULA.THE.1996.453

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของการใช้ทักษะการสื่อสารทางวาจาตามแนวคิดกลุ่มปฏิสัมพันธ์ที่มีต่อความสามารถทางการพูดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการใช้ทักษะการสื่อสารทางวาจา ตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยนี้คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2538 โรงเรียนประยุรวงศาวาส สังกัดสำนักงานการประถมศึกษากรุงเทพมหานคร จำนวน 60 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม โดยการจับคู่คะแนน ภาคความรู้วิชาภาษาไทย ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2537 เพื่อทดลองสอนการใช้ทักษะการสื่อสารทางวาจาตามแนวคิดกลุ่มปฏิสัมพันธ์ และสอนตามปกติตามแผนการสอนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น เพื่อเปรียบเทียบผลของการใช้ทักษะการสื่อสารทางวาจา และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการใช้ทักษะการสื่อสารทางวาจา โดยการทดสอบค่าที (t-test)ที่ระดับนัยสำคัญ .05 ผลของการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนกลุ่มทดลองที่เรียนโดยการใช้ทักษะสื่อสารทางวาจาตามแนวคิดกลุ่มปฏิสัมพันธ์มีคะแนนความรู้การใช้ทักษะการสื่อสารทางวาจาไม่สูงกว่ากลุ่มควบคุมที่เรียนตามปกติ 2.นักเรียนกลุ่มทดลองที่เรียนโดยการใช้ทักษะการสื่อสารทางวาจาตามแนวคิดกลุ่มปฏิสัมพันธ์มีความสามารถในการใช้ทักษะการสื่อสารทางวาจาด้านการเล่าเรื่อง ได้แก่ การใช้สีหน้า ท่าทาง เมื่อเริ่มปรากฏตัว และการใช้ท่าทางและ/หรืออุปกรณ์การพูด ด้านการสนทนา ได้แก่ การพูดให้ผู้อื่นเข้าใจ ความหมายได้ชัดเจน และการพูดได้เหมาะสมกับกาลเทศะ สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 3.นักเรียนกลุ่มทดลองที่เรียนโดยการใช้ทักษะการสื่อสารทางวาจาตามแนวคิดกลุ่มปฏิสัมพันธ์ มีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการใช้ทักษะการสื่อสารทางวาจาอยู่ในระดับมาก

Share

COinS