Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
การแสวงหาสารนิเทศของนักศึกษาแพทย์ระดับคลินิกในกรุงเทพหานคร
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Information seeking of clinical medical students in Bangkok Metropolis
Year (A.D.)
1996
Document Type
Thesis
First Advisor
ศจี จันทวิมล
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์
DOI
10.58837/CHULA.THE.1996.2062
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการแสวงหาสารนิเทศของนักศึกษาแพทย์ระดับคลินิกในกรุงเทพมหานครในด้านวัตถุประสงค์ในการการแสวงหาสารนิเทศ วิธีการแสวงหาสารนิเทศ แหล่งสารนิเทศ ที่ใช้ ประเภท ภาษาของสารนิเทศ และบัญหาในการแสวงหาสารนิเทศของนักศึกษาแพทย์ระดับคลินิกในกรุงเทพมหานคร โดยตั้งสมมติฐานไว้ว่า การแสวงหาสารนิเทศของนักศึกษาแพทย์ระดับคลินิกจะแตกต่างกัน ไปตามชั้นปีในด้านวัตถุประสงค์ ในการแสวงหาสารนิเทศ วิธีการแสวงหาสารนิเทศ และแหล่งสารนิเทศ ที่ใช้ ประเภทและภาษาของสารนิเทศ วิธีดำเนินการวิจัยแบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลจากนักศึกษาแพทย์ระดับ คลินิก 5 แห่งในกรุงเทพมหานคร จำนวน 314 คน ได้รับแบบสอบถามกลับคืนมา 262 ชุด คิดเป็นร้อยละ 80.25 ข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามนำมาวิเคราะห์โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติด้านสังคมศาสตร์ (SPSS) ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาแพทย์ระดับคลินิกมีวัตถุประสงค์ในการแสวงหาสารนิเทศเพื่อการ อภิปราย/สัมมนาในชั้นเรียน เป็นลำดับแรก โดยแสวงหาจากห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์ อาจารย์/แพทย์ เฉพาะสาขา และบทความในหนังสือพิมพ์ เป็นลำดับแรก แหล่งสารนิเทศสถาบันเป็นแหล่งที่นักศึกษาแพทย์ระดับคลินิกเห็นว่ามีประโยชน์มากที่สุด แหล่งสารนิเทศที่เลือกใช้เป็นแหล่งที่อยู่ใกล้ไปใช้ได้สะดวก วิธีการแสวงหาสารนิเทศที่นักศึกษาแพทย์ระดับคลินิกใช้เป็นลำดับแรกคือ ค้นจากบัตรรายการ สอบถามรุ่นพี่ สอบถามเพื่อน/ผู้ร่วมงาน และดูรายการโทรทัศน์ สำหรับประเภทของสารนิเทศที่นักศึกษาแพทย์ระดับคลินิกแสวงหาคือ เอกสารประกอบการเรียน การสอนภาษาไทย และการแสวงหาสารนิเทศทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษในระดับมาก ผลการทดสอบสมมติฐานปรากฏว่า ผลการวิจัยมีทั้งสอดคล้องและไม่สอดคล้องกับสมมติฐาน ปัญหาที่นักศึกษาแพทย์ระดับคลินิกประสบในการแสวงหาสารนิเทศ ได้แก่ไม่มีเวลาในการแสวงหาสารนิเทศ เวลาปิด-เปิดของห้องสมุด/ศูนย์สารนิเทศ ผู้ให้สารนิเทศไม่มีเวลาให้คำปรึกษา/บริการ และไม่ทราบว่าสารนิเทศที่ต้องการนั้นจะออกอากาศวันและเวลาใด
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The purpose of this research are to study information seeking of clinical medical students concerning purposes, methods, sources, types, languages and problems of information seeking in Bangkok Metropolis. The hypothesis is information seeking of clinical medical students varies with years for purposes, methods, sources, types and languages. Three hundred and twenty four questionnaires were distributed to clinical medical students of 5 faculties in Bangkok Metropolis. The total number of 252 usable responses in 80.25% of population. The data were analyzed by the Statistical Package for the Social Science (SPSS). The results found that the purpose in information seeking is discussion and seminar in classroom. Primary information sources used were Faculty of Medicine libraries, teachers/specialists and medical columns in newspapers. Institutional information sources are considered the most useful for them. The most convenient and the nearest location are the reasons for seeking information. Searching from card catalogs, asking residents, asking friends and watching television are the primary information seeking methods. The information type is Thai course document. Languages are Thai and English. The research results agree and disagree with hypothesis. Problems in information seeking are lack of time for seeking information, office hour of the libraries, no time for consultant and not knowing about TV or radio program.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
พ่อค้าเรือ, พนิดา, "การแสวงหาสารนิเทศของนักศึกษาแพทย์ระดับคลินิกในกรุงเทพหานคร" (1996). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 27664.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/27664