Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การพัฒนาต้นกำเนิดกระตุ้นรังสีเอกซ์สำหรับเครื่องวิเคราะห์ ด้วยการเรืองรังสีเอกซ์แบบแจกแจงพลังงาน โดยใช้หลอดรังสีเอกซ์ทางทันตกรรม

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Development of an X-ray exciting source for EDXRF spectrometer using a dental X-ray tube

Year (A.D.)

1996

Document Type

Thesis

First Advisor

สุวิทย์ ปุณณชัยยะ

Second Advisor

นเรศวร์ จันทน์ขาว

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

นิวเคลียร์เทคโนโลยี

DOI

10.58837/CHULA.THE.1996.1623

Abstract

ต้นกำเนิดกระตุ้นรังสีเอกซ์สำหรับเครื่องวิเคราะห์ด้วยการเรืองรังสีเอกซ์แบบแจกแจงพลังงานที่มีระบบวัดแบบนิม (NIM system) โดยใช้หลอดรังสีเอกซ์ทางทันตกรรมนี้ พัฒนาขึ้นเพื่อทดแทนชุดต้นกำเนิดรังสีกระตุ้นแบบไอโซโทปรังสีซึ่งใช้งานไม่สะดวก มีอายุการใช้งานจำกัดและไม่สามารถปรับพลังงานหรือความเข้มรังสีได้ต่อเนื่อง ระบบควบคุมการกำเนิดรังสีเอกซ์แบบให้สามารถปรับศักดาไฟฟ้าและกระแสของแอโนดได้ 0-30 กิโลโวลต์ และ 15-500 ไมโครแอมแปร์ ตามลำดับ จากการทดสอบคุณสมบัติของหลอดรังสีเอกซ์ ทางทันตกรรมของบริษัท Philips รุ่น ORALIX 65 S พบว่าแอโนดทำด้วยทังสเตน ให้สเปกตรัมด้านพลังงานต่ำตั้งแต่ 10 กิโลอิเล็กตรอนโวลต์ ผลการทดสอบการวิเคราะห์ธาตุด้วยวิธีการเรืองรังสีเอกซ์ร่วมกับหัววัดรังสีชนิด HPGe ของ ORTEC รุ่น GLP-06165/05 โดยใช้ไฟฟ้าศักดาสูง และกระแสไฟฟ้าที่แอโนดของหลอดรังสีเอกซ์ที่ 25 กิโลโวลต์ กระแส 65 ไมโครแอมแปร์ ตามลำดับ พบว่าสามารถวิเคราะห์ธาตุที่มีเลขอะตอมต่ำในบรรยากาศปกติได้ถึงธาตุโปแทสเซียม จากการทดสอบขีดจำกัดต่ำสุด (3σ) ในการวัดปริมาณธาตุด้วย Fe2O3 พบว่าสามารถวัดได้ 0.002% Fe2O3 และขีดจำกัดต่ำสุด (3σ) ในการวัดปริมาณธาตุด้วย Ca(OH)2 พบว่าสามารถวัดได้ 0.02%Ca(OH)2 โดยน้ำหนักที่เวลาวัดรังสี 300 วินาที

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

Due to the inherent limitation in life time, invariability in energy and intensity of the radioisotope exciting x-ray source a dental x-ray tube for the NIM EDXRF spectrometer system with anode voltage and current adjustable from 0-30 kV and 15-500 μA respectively was developed. A Philips ORALIX 65S with tungsten anode, a dental x-ray tube, was used as experimental unit yielding an x-ray of low energy spectrum starting at 10 kV. A HPGe detector, ORTEC Model GLP-06165/05 was used for elemental analysis with the x-ray tube operating at 25 kV 65 μA. It was found that light elements down to potassium could be detected in air atmosphere. With a measurement time of 300 S, the detection limits (3σ) for Fe2O3 and Ca(OH)2 were found to be 0.002% and 0.02% by weight respectively.

Share

COinS