Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
ผลกระทบต่อประเทศไทยจากอนุสัญญาโรม ค.ศ.1952 ว่าด้วยความเสียหาย ซึ่งอากาศยานต่างประเทศก่อให้เกิดขึ้นแก่บุคคลที่สามบนผิวพื้น
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
The impact of Rome Convention 1952 on Damage Caused by Foreign Aircraft to Third Parties on the Surface on Thailand
Year (A.D.)
1996
Document Type
Thesis
First Advisor
สรจักร เกษมสุวรรณ
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
นิติศาสตร์
DOI
10.58837/CHULA.THE.1996.977
Abstract
งานวิจัยฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาถึงผลกระทบจากการที่ประเทศไทยมิได้เป็นภาคีของอนุสัญญาโรมว่าด้วยความเสียหายซึ่งอากาศยานต่างประเทศก่อให้เกิดขึ้นแก่บุคคลที่สามบนผิวพื้น ค.ศ. 1952 ซึ่งเป็นอนุสัญญาที่กำหนดให้ผู้ดำเนินการอากาศยานต่างประเทศมีความรับผิดเด็ดขาดในความเสียหายที่เกิดขึ้น เพื่อคุ้มครองให้ผู้เสียหายมีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนโดยไม่ต้องพิสูจน์ถึงความรับผิดของผู้ดำเนินการฯ และในขณะเดียวกันก็กำหนดให้ผู้เสียหายมีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนไม่เกินขอบเขตความรับผิดที่กำหนด ไว้ในอนุสัญญาฯ เพื่อเป็นการคุ้มครองสถานะทางการเงินของผู้ดำเนินการฯ รวมทั้งผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น หากประเทศไทยเป็นภาคีของอนุสัญญาฯ ฉบับนี้ ผลการวิจัยพบว่าการที่ประเทศไทยมิได้ให้สัตยาบันเพื่อเป็นภาคีของอนุสัญญาฯ ฉบับนี้ อันทำให้ ต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาปรับใช้กับความเสียหายที่เกิดขึ้น จะไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อ ประเทศไทย เนื่องจากระบบประกันภัยเพื่อความเสียหายของบุคคลที่สามมีบทบาทช่วยเสริมให้หลักเกณฑ์ของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์สามารถคุ้มครองผู้เสียหาย และสถานะทางการเงินของผู้ดำเนินการ อากาศยานไทยได้ดียิ่งขึ้น ในทางกลับกันถ้าหากว่าประเทศไทยให้สัตยาบันเพื่อเข้าเป็นภาคีของอนุสัญญาฯ ฉบับนี้แล้ว จะก่อให้เกิดผลกระทบเป็นอย่างมาก เพราะจะทำให้ผู้ดำเนินการอากาศยานไทยต้องมีความรับผิดเด็ดขาดในความเสียหายที่เกิดขึ้นทุกกรณีซึ่งไม่เป็นผลดีต่อสถานะทางการเงินของผู้ดำเนินการฯ นอกจากนี้ยังทำ ให้ผู้เสียหายไม'มีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนเกินกว่าขอบเขตความรับผิดที่กำหนดไว้ในอนุสัญญาฯ แม้ว่าความ เสียหายที่เกิดขึ้นนั้นจะมากกว่าขอบเขตดังกล่าวก็ตาม
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The objective of this research is to study the impact of the Rome Convention 1952 on Damage Caused by Foreign Aircraft to Third Parties on the surface which provides that an operator of foreign aircraft shall have a strict but limited liability and the injured party is relinquished from a burden of proof and at the same time to protect the financial status of the operator. As Thailand is a signatory but has not ratified this Convention so when any damages occur, the applicable law shall be the Civil and Corrmercial Code. This, however, should not affect Thailand since the third party insurance will help to protect both the injured party and the operator financial Status. On the other hand, if Thailand ratifies this Convention, strict liability will apply in every case and will certainly effect a great deal on the operator's financial status. Moreover, the injured party will have no chance to get more compensation than the limit that is determined in the Convention though the damage could be much greater.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
เกียรติยศเจริญ, ศรินดา, "ผลกระทบต่อประเทศไทยจากอนุสัญญาโรม ค.ศ.1952 ว่าด้วยความเสียหาย ซึ่งอากาศยานต่างประเทศก่อให้เกิดขึ้นแก่บุคคลที่สามบนผิวพื้น" (1996). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 27533.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/27533