Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
การแปลงข้อมูลภาพแบบแรสเตอร์เป็นแบบเวกเตอร์สำหรับรูปภาพกราฟิกเบื้องต้น
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Raster-to-vector conversion for graphic primitives
Year (A.D.)
1996
Document Type
Thesis
First Advisor
นงลักษณ์ โควาวิสารัช
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
วิศวกรรมคอมพิวเตอร์
DOI
10.58837/CHULA.THE.1996.1531
Abstract
วัตถุประสงค์ของวิทยานิพนธ์ฉบับนี้คือแปลงข้อมูลภาพแบบแรสเตอร์ของรูปภาพกราฟิกเบื้องต้น ได้แก่ เส้นตรง ส่วนโครงของวงกลม และรูปหลายเหลี่ยมปิดที่ระบายสีทึบให้เป็นข้อมูลภาพแบบเวกเตอร์ข้อมูลภาพที่ใช้ในการแปลงเป็นข้อมูลที่เก็บอยู่ในแฟ้มข้อมูลภาพพีซีเอ็กช์และแบบทิฟฟ์ ส่วนข้อมูลภาพแบบเวกเตอร์ที่เป็นผลลัพธ์จากการแปลงจะเก็บอยู่ในแฟ้มข้อมูลภาพแบบดีเอ็กช์เอฟ การแปลงข้อมูลภาพแบบแรสเตอร์เป็นแบบเวกเตอร์ประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้ ขั้นตอนการอ่านข้อมูลภาพแบบแรสเตอร์จากแฟ้มข้อมูล ขั้นตอนการหาแกนกลางของวัตถุ ขั้นตอนการจำแนกรูปหลายเหลี่ยมปิดที่ระบายสีทึบ ขั้นตอนการหาจุดยอดของรูปหลายเหลี่ยมปิดที่ระบายสีทึบ ขั้นตอนการหาจุดพิกัดและความหนาของเส้นตรงและส่วนโค้งของวงกลม และขั้นตอนการเก็บข้อมูลภาพแบบเวกเตอร์ลงแฟ้มขอ้มูลภาพแบบดีเอ็กช์เอฟนอกจากนี้ยังมีส่วนของบรรณาธิกรที่ใช้ในการแก้ไขผลลัพธ์จากการแปลงข้อมูลภาพให้ถูกต้องตามความต้องการ ผลจากการวิจัยสามารถแปลงข้อมูลภาพแบบแรสเตอร์เป็นแบบเวกเตอร์ได้โดยมีความผิดพลาดบ้างได้แก่ จุดยอดของเส้นตรงและรูปหลายเหลี่ยมปิดที่ระบายสีทึบ จุดศูนย์กลางและรัศมีของส่วนโค้งของวงกลม และความหนาของเส้นตรงและส่วนโค้งของวงกลมมีความผิดพลาดเล็กน้อย ส่วนโค้งของวงกลมที่มีขนาดเล็กอาจได้ผลลัพธ์เป็นเส้นตรง เส้นตรงที่มีความชันระหว่าง 0 ถึง 1 และไม่มีวัตถุอื่นมาเชื่อมจะได้ผลลัพธ์เป็นเส้นตรงหลายเส้น ประเภทของรูปภาพที่ให้ผลลัพธ์ดีที่สุดคือรูปทรงเรขาคณิตง่าย ๆ รองลงมาคือรูปสัญลักษณ์อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ประเภทของรูปภาพที่ได้ผลลัพธ์ไม่ดีนำคือแผนที่
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The objective of this thesis is to convert raster data of graphic primitives such as lines, arcs and filled polygons to vector data. Raster data used in the conversion is in PCX or TIFF file format. The result which is the vector data is stored in DXF file format. Raster-to-vector conversion composes of many steps which are:- reading raster data from file, finding the skeleton, filled polygon separation, finding the vertices of filled polygons, finding the coordinates and width of lines and arcs, and finally, saving vector data in DXF file format. In addition, this thesis provides an editor which can be used to edit the output of the raster-to-vector conversion program. The results show that converting raster to vector can be done successfully with small errors. The errors found in this thesis are as follows: some errors occur for the vertice of lines and filled polygons, the center points and the radius of arcs, and the width of arcs and lines; a small arc may be converted to a line; a line that has a slope between 0 to 1 and does not have any connected object is converted to a few lines. Types of images that give the best results are simple geometry shapes and electronic symbols, respectively, while contour maps gives fair results.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
มะแก้ว, กิตติมา, "การแปลงข้อมูลภาพแบบแรสเตอร์เป็นแบบเวกเตอร์สำหรับรูปภาพกราฟิกเบื้องต้น" (1996). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 27372.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/27372