Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
พลศาสตร์การดูดซับความชื้นจากอะซิโตนโดยสารดูดซับโมเลคูลาร์ ซีฟ ชนิดสามเอ ในหอดูดซับ
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Dynamics of demoisturization from acetone by the 3a type molecular sieve adsorbent in an adsorption column
Year (A.D.)
1996
Document Type
Thesis
First Advisor
ปิยะสาร ประเสริฐธรรม
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
วิศวกรรมเคมี
DOI
10.58837/CHULA.THE.1996.1636
Abstract
การทำวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะแยกเอาความชื้นออกจากอะซิโตนโดยใช้สารดูดซับโมเลคูลาร์ ซีฟ ชนิดสามเอ ซึ่งบรรจุในหอดูดซับแบบเบดนิ่ง ศึกษาผลของอุณหภูมิที่แปรเปลี่ยนไปสมดุลการดูดซับแบบอุณภูมิคงที่ และผลของการเปลี่ยนอัตราการป้อนอะซิโตนเข้าหอดูดซับต่อเวลาของการเคลื่อนที่ของเขตการถ่ายเทมวลสาร ความเร็วของการเคลื่อนที่ของเขตการถ่ายเทมวลสารความยาวของเขตที่มีการถ่ายเทมวลสารและสัมประสิทธิ์ของการถ่ายเทมวลสารรวม จากการวิจัยพบว่า ความชื้นสามารถจะแยกออกจากอะซิโตนได้โดยสารดูดซับโมเลคูลาร์ ซีฟ ชนิดสามเอ โดนอุณหภูมิมีผลต่อสมดุลการดูดซับ คือ เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น การดูดซับจะน้อยลง สังเกตจากปริมาณการดูดซับที่คงที่แล้วจะต่ำ โดยสมดุลการดูดซับความชื้นจากอะซิโตน จะได้กราฟสมดุลแบบที่สอง คือเมื่อปริมาณความชื้นเพิ่มขึ้น ปริมาณการดูดซับจะเพิ่มขึ้นตาม จนถึงปริมาณการดูดซับที่คงที่ค่าหนึ่งซึ่งจะคงที่ที่ปริมาณนี้ต่อไป ไม่ว่าปริมาณความชื้นจะเพิ่มขึ้นเท่าใดก็ตาม การทดลองพบว่าที่อัตราการป้อนสูงขึ้นจะให้ค่าของเวลาของเขตของการถ่ายเทมวลสารมากขึ้น ทำให้ความเร็วของเขตของการถ่ายเทมวลสารและความยาวของเขตของการถ่ายเทมวลสารเพิ่มขึ้นด้วย แต่เมื่ออัตราการป้อนเพิ่มขึ้นจะทำให้สัมประสิทธิ์ของการถ่ายเทมวลสารรวมต่ำลง
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The objectives of this work are to study how to separate moisture from acetone by the 3 type molecular sieve adsorbent in packed bed column, to study the effect of various temperatures in adsorption isotherm and the effect of various feeding flow rates of acetone to packed bed column in times of mass transfer moving, velocities of mass transfer zone moving, lengths of mass transfer zone and overall mass transfer coefficient. Research results are as followings : moisture can be separated from acetone by the 3A type molecular sieve adsorbent. It was also found that there is a relationship in approaching the equilibrium of adsorption. Isotherm will be low when increasing temperature. The adsorption isotherm graph of all temperature is 2nd type. This means, when moisture content increase, the adsorption loading will be increased to constant valve and the system approaches steady state. The higher the feeding flow rate of acetone to column, the lengths of mass transfer zone will longer because all of times of mass transfer zone and velocities of mass transfer zone are increasing. But when the feeding flow rate of acetone to column is higher, the overall mass transfer coefficients will be lower.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
อินทร์มา, แดน, "พลศาสตร์การดูดซับความชื้นจากอะซิโตนโดยสารดูดซับโมเลคูลาร์ ซีฟ ชนิดสามเอ ในหอดูดซับ" (1996). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 27188.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/27188