Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
ผลของซีไวตาเมอร์ต่อการเจริการเติบโต และการรอดของกุ้งกุลาดำ Penaeus monodon วัยอ่อน
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Effects of c-vitamers on development growth and survival of black tiger prawn penaeus monodon larvae
Year (A.D.)
1996
Document Type
Thesis
First Advisor
สมเกียรติ ปิยะธีระธิติวรกุล
Second Advisor
ประสาท กิตตะคุปต์
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
วิทยาศาสตร์ทางทะเล
DOI
10.58837/CHULA.THE.1996.1487
Abstract
ศึกษาผลของซีไวตาเมอร์ (วิตามินซีและอนุพันธ์) 5 ชนิดที่มีต่อการเจริญ การเติบโต การรอดและความทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงความเค็มอย่างฉับพลันของกุ้งกุลาดำ Penaeus monodon วัยอ่อน โดยเลี้ยงกุ้งด้วยอาหารกึ่งสังเคราะห์ 6 สูตรคือ อาหารที่เติม Ascorbate-2-monophosphate (M), อาหารที่เติม Ascorbate-2-polyphosphate (P), อาหารที่ไม่เติมวิตามินซี (N), อาหารที่เติม Ascorbate-2-sulfate (S), อาหารที่เติม L-ascorbic acid (A) และอาหารที่เติม Coated ascorbic acid (C) อาหาร 5 สูตรที่มีการเติมวิตามินซีรูป แบบต่างๆ จะควบคุมปริมาณวิตามินซีเท่ากับ 200 ppm แบ่งการทดลองเลี้ยงกุ้งกุลาดำวัยอ่อนเป็น 3 ระยะคือ ระยะ Zoea, Mysis และ Postlarva พบว่ากุ้งที่เลี้ยงด้วยอาหารสูตร P มีการเติบโตและอัตรารอดระยะ Postlarva สูงสุด อัตรารอดของกุ้งระยะ Zoea ที่เลี้ยงด้วยอาหารสูตร M, P และS และอัตรารอดของกุ้งระยะ Mysis ที่เลี้ยงด้วยอาหารเสริมวิตามินซีทุกรูปแบบไม่มีความแตกต่างทางสถิติ (P<0.05) กุ้งที่เลี้ยงด้วยอาหารที่ไม่เติมวิตามินซีมีอัตรารอดต่ำสุดทุกระยะ อาหารสูตร S มีปริมาณ Ascorbic acid (AA) มากที่สุดแต่กุ้งที่เลี้ยงด้วยอาหารสูตรนี้มีปริมาณ AA ในเนื้อเยื่อน้อยกว่ากุ้งที่เลี้ยงด้วยอาหารสูตร P และ M ส่วนอาหารสูตร C และ A มีปริมาณ AA ต่ำดังนั้นกุ้งที่เลี้ยงด้วยอาหาร 2 สูตรนี้จึงมีปริมาณ AA ในเนื้อเยื่อต่ำด้วย และยังพบว่ากุ้งกลุ่ม P สามารถทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงความเค็มได้ดีกว่ากุ้งกลุ่ม M, S, C, A และ N ตามลำดับ
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The present study is to compare the efficiency of five C-vitamers (~200 ppm of ascorbic acid equivalent) on development, growth, survival and salinity stress resistance of black tiger prawn Penaeus monodon larvae. Six semi-purified diets including ascorbate-2-monophosphate diet (M), ascorbate-2-polyphosphate diet (P), non-vitamin c supplemented diet (N), ascorbate-2-sulfate diet (S), L-ascorbic acid diet (A) and coated ascorbic acid diet (C) were fed to three larval stages (zoea, mysis and postlarva). The larvae fed with diet p showed the highest growth and survival rate of postlarva stage. The zoea fed with diets M, P and S and the mysis fed with all C-vitamer supplemented diets showed no {significant difference on survival late (p<0.05). The larvae fed with non-vitamin c supplemented diet had the lowest survival rate for all stages. The diet showed the highest ascorbic acid (AA) content but the larvae fed with this diet had the AA content in tissue less than those of the larvae fed with diets p and M. The diets c and A had low AA content, and the larvae fed with these diets also had low AA content in tissue. Moreover, the tolerance in 0 ppt salinity stress test of the group was better than those of the M, ร, c, A and N groups, respectively.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
หรูวัฒนะกุล, พนิดา, "ผลของซีไวตาเมอร์ต่อการเจริการเติบโต และการรอดของกุ้งกุลาดำ Penaeus monodon วัยอ่อน" (1996). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 27153.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/27153