Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
การตรวจหาค่าแผกเหล่าในแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์โดยใช้ชุดสี่
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
A detection of outlier in completely randomized experimental design using tetrads
Year (A.D.)
1996
Document Type
Thesis
First Advisor
ดิเรก ศรีสุโข
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
วิจัยการศึกษา
DOI
10.58837/CHULA.THE.1996.604
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจหาค่าแผกเหล่าโดยใช้ค่าชุดสี่ และเปรียบเทียบจำนวนค่าแผกเหล่าที่สามารถตรวจหาได้ถูกต้อง จากเกณฑ์มาตรฐานที่พัฒนาขึ้น 5 เกณฑ์ และศึกษาลักษณะการแจกแจงของค่าสัมบูรณ์ของค่ามัธยฐานค่าชุดสี่ เมื่อกลุ่มตัวอย่างได้รับการสุ่มจากประชากรที่มีการแจกแจงแบบปกติ จำนวนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองเป็น 3, 5 และ 7 กลุ่ม ขนาดกลุ่มตัวอย่างเป็น 11, 21 และ 31 โดยมีค่าแผกเหล่า 3 ระดับ คือ มาก ปานกลาง น้อย ทำการทดลองด้วยเทคนิคมอนติคาร์โลซิมูเลชั่น โดยจำลองการทดลองด้วยคอมพิวเตอร์ กรณีละ 2,000 ครั้ง ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. เมื่อตรวจสอบค่าแผกเหล่าทั้ง 3 ระดับ โดยใช้ค่าชุดสี่ ร่วมกับเกณฑ์มาตรฐานที่พัฒนาขึ้น ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1.1 การใช้ค่าชุดสี่ร่วมกับเกณฑ์มาตรฐานที่ 5 (DC 5) สามารถตรวจหาค่าแผกเหล่าระดับมากได้ถูกต้องมากที่สุด โดยตรวจหาได้ถูกต้องเกินกว่า 95% 1.2 การใช้ค่าชุดสี่ร่วมกับเกณฑ์มาตรฐานที่ 4 (DC 4) สามารถตรวจหาค่าแผกเหล่าระดับปานกลางได้ถูกต้องมากที่สุด โดยตรวจหาได้ถูกต้องตั้งแต่ 90%-94.99% 1.3 การใช้ค่าชุดสี่ร่วมกับเกณฑ์มาตรฐานที่ 3 (DC 3) สามารถตรวจหาค่าแผกเหล่าระดับน้อยได้ถูกต้องมากที่สุด โดยตรวจหาได้ถูกต้องตั้งแต่ 85%-89.99% 2. ค่าสัมบูรณ์ของค่ามัธยฐานชุดสี่มีลักษณะการแจกแจงโค้งเดียว และเบ้ไปทางขวา
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The purposes of this study were to detect the outliers using tetrads technique, to compare the validity of the detection among 5 detection criterions, and also to investigate the distribution of median of tetrads under the distribution of non outlier. The Monte Carlo simulation technique was employed for the study. The simulation were made under the differrent number of samples as 3, 5, 7 and differrent sample sizes as 11, 12, 13 and the level of outliers were large, moderate and small. The results of this study were as follow : 1. The detection of 3 degrees of outliers by using tetrad technique with the developed Detection Criterion (DC) were as follow 1.1 Using tetrads with Detection Criterion No.5 (DC5) could correctly detect more than 95% of the large outliers. 1.2 using tetrads with Detection Criterion NO.4 (DC4) could correctly detect 90-94.99% of the moderate outliers. 1.3 Using tetrads with Detection Criterion NO.3 (DC3) could correctly detect 85-89.99% of the small outliers. 2. The absolute value of median of tetrads was a unimoldal distribution with positive skewness.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
อันนันนับ, เรวดี, "การตรวจหาค่าแผกเหล่าในแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์โดยใช้ชุดสี่" (1996). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 27092.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/27092