Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเปรียบเทียบอารมณ์ขันในนวนิยายของ ชาร์ลส์ คิดเกนส์ กับ มาร์ค ทเวน

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

A comparative study of humour in Charies Dickens' and Mark Twain's Novels

Year (A.D.)

1996

Document Type

Thesis

First Advisor

ศิริรัตน์ ทวีเลิศนิธิ

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

อักษรศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

วรรณคดีเปรียบเทียบ

DOI

10.58837/CHULA.THE.1996.2133

Abstract

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มุ่งวิเคราะห์อารมณ์ขันในนวนิยายหกเรื่องของชาร์ลส์ ดิคเกนส์ และมาร์ค ทเวน การวิเคราะห์จะชี้ให้เห็นการนำอารมณ์ขันมาใช้วิจารณ์มนุษย์และสังคม และเปรียบเทียบกลวิธีการนำเสนออารมณ์ขันในงานของดิคเกนส์กับทเวน อารมณ์ขันของดิคเกนส์มุ่งที่จะวิจารณ์ข้อบกพร่องของมนุษย์ อารมณ์ขันของทเวนมุ่งที่จะล้อเลียนระบบวัฒนธรรม อารมณ์ขันของดิคเกนส์มีพื้นฐานจากการเลียนแบบพฤติกรรมมนุษย์ที่ด้อยกว่ามาตรฐานหรือสร้างตัวตลก อารมณ์ขันของทเวนมีพื้นฐานจากการสร้างพระเอกนิทานโกหก ความขบขันในนวนิยายของดิคเกนส์และทเวนส่วนใหญ่เกิดจากการกล่าวมากกว่าความจริง และบางส่วนเกิดจากลักษณะบิดเบือนรูปลักษณ์ นวนิยายของดิคเกนส์และทเวนประกอบด้วยเนื้อเรื่องมากกว่าหนึ่งเรื่อง ซึ่งช่วยให้พวกเขามีประเด็นในการนำเสนอความขบขันที่หลากหลาย ความแตกต่างหลักของพวกเขาอยู่ที่ศิลปะการใช้ภาษาการประณามตรงไปตรงมาและการใช้ภาษาพูดมีส่วนสร้างความขบขันในนวนิยายของทเวน การกล่าวตรงข้ามกับความหมายที่สื่อและลีลาการพูดเฉพาะตัวของตัวละครมีส่วนสร้างความขบขันในนวนิยายของดิคเกนส์ นวนิยายของดิคเกนส์เร้าอารมณ์หลากหลายจากผู้อ่าน แต่นวนิยายของทเวนไม่มีลักษณะเร้าอารมณ์หลากหลายจากผู้อ่าน นอกจากนี้ ดิคเกนส์ใช้รายละเอียดของสถานการณ์และของบุคลิกลักษณะของตัวละครสร้างอารมณ์ขันยิ่งกว่าทเวน

Share

COinS