Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากในผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ก่อนและหลังการผ่าตัดปลูกกระดูกรองรับฟัน

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Oral health-related quality of life in cleft lip and palate patients before and after alveolar bone grafting

Year (A.D.)

2011

Document Type

Thesis

First Advisor

อาทิพันธุ์ พิมพ์ขาวขำ

Second Advisor

สุดาดวง กฤษฎาพงษ์

Faculty/College

Faculty of Dentistry (คณะทันตแพทยศาสตร์)

Degree Name

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

ศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล

DOI

10.58837/CHULA.THE.2011.313

Abstract

วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ก่อนและหลังการผ่าตัดปลูกกระดูกรองรับฟันโดยใช้ดัชนี Child-OIDP และเพื่อเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากที่เกิดจากการมีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่กับปัญหาอื่นในช่องปาก วัสดุและวิธีการ ผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ที่มีอายุในช่วง 9 – 12 ปี ที่มาเข้ารับการผ่าตัดปลูกกระดูกรองรับฟันที่คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ จำนวน 21 คน มีอายุเฉลี่ย 10.38 ± 0.92 ปี การเก็บข้อมูลทำโดยใช้ดัชนี Child-OIDP ทำการสัมภาษณ์ผู้ป่วยเป็นรายบุคคล ในช่วงก่อนผ่าตัดและ 3 เดือนหลังผ่าตัด ผลการศึกษา ภายหลังการผ่าตัดผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่มีคะแนนรวม Child-OIDP และคะแนนปัญหาแบบเจาะจงสภาวะช่องปากที่เป็นสาเหตุ (Condition-Specific Child-OIDP score: CS-COIDP score) ที่เกิดจากปากแหว่งเพดานโหว่ลดลงจากก่อนผ่าตัดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p = .003 และพบว่าช่วงก่อนผ่าตัดมีคะแนน CS-COIDP ที่เกิดจากปากแหว่งเพดานโหว่สูงกว่าคะแนน CS-COIDP ที่เกิดจากปัญหาอื่นในช่องปากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p = .009 สรุป การผ่าตัดปลูกกระดูกรองรับฟันสามารถช่วยทำให้คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ดีขึ้น โดยเฉพาะในหัวข้อการรับประทานอาหาร และการพูด

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

Objective To investigate the Oral Health-Related Quality of Life (OHRQoL) in cleft lip and palate (CLP) patients before and after secondary alveolar cleft bone grafting (SABG) and to compare the effects of CLP-related and non-CLP-related problems on the OHRQoL. Material and Method This study consisted of 21 patients (9 -12 years of age, mean age = 10.38 ± 0.92 years). The CLP patients were individually interviewed prior to surgery and 3 months post SABG. The OHRQoL was assessed using the Child Oral Impacts on Daily Performances (Child-OIDP) questionnaire. Result After SABG, there were significant decreases in the overall Child-OIDP scores (p = .003) and in the Condition-Specific Child-OIDP (CS-COIDP) scores in the CLP-related group (p = .003). Preoperatively, the CLP-related scores were significantly higher than the non-CLP-related scores (p = .009). Conclusion SABG can improve the patient’s OHRQoL, especially in eating and speaking performances postoperatively.

Share

COinS