Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
อายุความล้าของวัสดุฐานฟันปลอมอะคริลิกเรซินชนิดบ่มตัวด้วยความร้อนที่ซ่อมแซมด้วยวิธีต่างกัน
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
The fatigue life of heat-activated acrylic resin denture base materials repaired with various methods
Year (A.D.)
2007
Document Type
Thesis
First Advisor
ชัยรัตน์ วิวัฒน์วรพันธ์
Faculty/College
Faculty of Dentistry (คณะทันตแพทยศาสตร์)
Degree Name
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
ทันตกรรมประดิษฐ์
DOI
10.58837/CHULA.THE.2007.234
Abstract
วัตถุประสงค์ งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอายุความล้าของวัสดุฐานฟันปลอมอะคริลิกเรซินชนิดบ่มด้วยความร้อนที่ซ่อมแซมด้วยวิธีที่แตกต่างกันวิธีการทดลอง อะคริลิกเรซินชนิดบ่มด้วยความร้อนถูกเตรียมเป็นชิ้นทดสอบรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า(80x10x2.5 มม.) แบ่งเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ (1) กลุ่มที่ไม่มีการซ่อมแซม จะให้แรงคงที่ที่ระดับ 51.46, 48.75, 46.04, 43.34, 40.63 และ 37.92 นิวตัน, (2,3) กลุ่มที่ซ่อมแซมด้วยอะคริลิกเรซินชนิดบ่มด้วยความร้อน (แบ่งเป็นกลุ่มที่เตรียมผิวหน้าก่อนซ่อมแซมด้วยส่วนเหลวของอะคริลิกเรซิน และสารผลิตภัณฑ์ Rebase II) จะให้แรงคงที่ที่ระดับ 43.34, 40.63, 37.92, 35.21, 32.50, 29.79 และ 27.09 นิวตัน, (4,5) กลุ่มที่ซ่อมแซมด้วยอะคริลิกเรซินชนิดบ่มได้เอง(แบ่งเป็นกลุ่มที่เตรียมผิวหน้าก่อนซ่อมแซมด้วยส่วนเหลวของอะคริลิกเรซิน และสารผลิตภัณฑ์ Rebase II) จะให้แรงคงที่ที่ระดับ 37.92, 32.50, 27.09, 21.67 และ 16.25 นิวตัน ในแต่ละระดับแรงจะใช้ชิ้นทดสอบ 5 ชิ้น จนกระทั่งชิ้นทดสอบเกิดการแตกหัก หรือครบที่ 106 รอบ (ขีดจำกัดความล้า) แล้วบันทึกจำนวนรอบที่ทำให้เกิดการแตกหัก ผลการทดลอง ระดับแรงที่ทำให้อายุความล้าของทุกกลุ่มมีค่าตั้งแต่ 106 รอบของอะคริลิกเรซินที่ไม่มีการซ่อมแซมจะสูงที่สุด รองลงมาเป็นกลุ่มที่ซ่อมแซมด้วยอะคริลิกเรซินชนิดบ่มด้วยความร้อน และกลุ่มที่ซ่อมแซมด้วยอะคริลิกเรซินชนิดบ่มได้เองมีค่าต่ำที่สุด, ส่วนอายุความล้าเฉลี่ยของอะคริลิกเรซินที่ซ่อมแซมด้วยการเตรียมผิวหน้าระหว่างสารเคมีทั้ง 2 ชนิด คือ ส่วนเหลวของอะคริลิกเรซิน 180 วินาที และสารผลิตภัณฑ์ Rebase II 20 วินาที ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญภายในกลุ่มที่ซ่อมแซมด้วยอะคริลิกเรซินชนิดเดียวกันสรุป อะคริลิกเรซินที่ไม่มีการซ่อมแซมจะมีอายุความล้าที่ทนต่อระดับแรงที่สูงกว่าได้มากกว่าอะคริลิกเรซินที่มีการซ่อมแซม จึงควรที่จะทำการเปลี่ยนฐานฟันปลอมมากกว่าที่จะทำการซ่อมแซม ในกรณีที่จำเป็นต้องทำการซ่อมแซมควรใช้อะคริลิกเรซินชนิดบ่มตัวด้วยความร้อนมากกว่าชนิดบ่มได้เอง และควรใช้สารเคมีในการเตรียมผิวหน้าก่อนการซ่อมแซมร่วมด้วย.
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
Objective. In this study the fatigue life of heat-activated acrylic resin denture base materials repaired with various methods was examined.Material & Methods. Rectangular specimens(80x10x2.5 mm) of heat-activated acrylic resin were divided into 5 groups: (1) unrepaired test specimens were tested by a constant force fatigue test at 51.46, 48.75, 46.04, 43.34, 40.63, 37.92 Newton (2,3) repaired with heat-activated acrylic resin (were divided into 2 surface treatment for repair surface: Liquid of acrylic resin 180-s and Rebase II 20-s) were tested by a constant force fatigue test at 43.34, 40.63, 37.92, 35.21, 32.50, 29.79 and 27.09 Newton (4,5) repaired with auto-polymeirizing acrylic resin (were divided into 2 surface treatment: Liquid of acrylic resin and Rebase II) were tested by a constant force fatigue test at 37.92, 32.50, 27.09, 21.67 and 16.25 Newton. Five specimens for each force fatigue test, applied force until specimen was fracture or limited at 106 cycles. The number of loading cycles were determined.Results. Unrepaired test specimens showed the highest force which specimen had fatigue life up to 106 cycles, repaired with heat-activated acrylic resin and auto-polymeirizing acrylic resin, respectively. The mean fatigue life of repaired with the same acrylic resin were not significantly among the surface treatment for repair surface.Conclusion. Unrepaired heat-activated acrylic resin had higher fatigue life (at higher force) than repaired resin. The repair with heat-activated acrylic resin is recommended and should be used chemical surface treatment for repair denture.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
โชคชัยวรกุล, วิภาภรณ์, "อายุความล้าของวัสดุฐานฟันปลอมอะคริลิกเรซินชนิดบ่มตัวด้วยความร้อนที่ซ่อมแซมด้วยวิธีต่างกัน" (2007). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 26698.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/26698