Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
การเปรียบเทียบปริมาณฟลูออไรด์ในผิวเคลือบฟันและน้ำลาย ภายหลังการเคลือบฟันโดยทันตแพทย์ด้วยฟลูออไรด์เฉพาะที่ 4 ชนิด
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Comparison of fluoride concentrations in enamel surface and saliva after 4 professionally topical fluoride application
Year (A.D.)
1999
Document Type
Thesis
First Advisor
วัชราภรณ์ ทัศจันทร์
Second Advisor
เอมอร เบญจวงศ์กุลชัย
Faculty/College
Faculty of Dentistry (คณะทันตแพทยศาสตร์)
Degree Name
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
ทันตกรรมสำหรับเด็ก
DOI
10.58837/CHULA.THE.1999.183
Abstract
เปรียบเทียบประสิทธิภาพในการเพิ่มปริมาณฟลูออไรด์ในผิวเคลือบฟัน และปริมาณฟลูออไรด์ที่เหลือในช่องปากภายหลังเคลือบฟันโดยทันตแพทย์ ด้วยฟลูออไรด์เฉพาะที่ 4 ชนิดคือ โซเดียมฟลูออไรด์ชนิดวุ้นเข้มข้นร้อยละ 2 โซเดียมฟลูออไรด์ชนิดโฟมเข้มข้นร้อยละ 2 แอซิดูเลดเตคฟอสเฟตฟลูออไรด์ชนิดวุ้นเข้มข้นร้อยละ 1.23 และแอซิดูเลคเตดฟอสเฟตฟลูออไรด์ชนิดโฟมเข้มข้นร้อยละ 1.23 ในเด็กอายุ 10-12 ปี จำนวน 80 คน ก่อนเคลือบฟลูออไรด์ได้เก็บตัวอย่างน้ำลาย โดยให้กลุ่มตัวอย่างบ้วนน้ำลายในเวลาที่กำหนด และเก็บตัวอย่างผิวเคลือบฟันบริเวณกึ่งกลางฟันด้านริมฝีปาก ของฟันตัดถาวรซี่กลางบนขวาด้วยวิธีกรดกัดตามลำดับ และทันทีหลังเคลือบฟลูออไรด์เก็บตัวอย่างน้ำลาย และผิวเคลือบฟันบริเวณกึ่งกลางฟันด้านริมฝีปาก ของฟันตัดถาวรซี่กลางบนซ้ายตามลำดับด้วยวิธีการเดิม นำสารตัวอย่างที่ได้ไปวัดปริมาณฟลูออไรด์ด้วยฟลูออไรด์อิเลกโตรด และวัดปริมาณแคลเซียมด้วยเครื่อง atomic absorption spectrophotometer ผลการวิจัยพบว่าแอซิดูเลดเตดฟอสเฟตฟลูออไรด์ชนิดโฟมเข้มข้นร้อยละ 1.23 มีประสิทธิภาพในการเพิ่มปริมาณฟลูออไรด์ในผิวเคลือบฟัน ได้ค่าเฉลี่ย (+- ค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน) เท่ากับ 3,725 (+-566) ส่วนในล้านส่วน ซึ่งมากกว่าอีก 3 ชนิดคือ โซเดียมฟลูออไรด์ ชนิดวุ้นและชนิดโฟมเข้มข้นร้อยละ 2 และแอซิดูเลดเตดฟอสเฟตฟลูออไรด์ชนิดวุ้นเข้มข้นร้อยละ 1.23 ซึ่งมีค่า 1,581 (+-380), 1,186 (+-239) และ 1,382 (+-315) ส่วนในล้านส่วนตามลำดับอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งทั้ง 3 ชนิดดังกล่าวมีประสิทธิภาพในการเพิ่มปริมาณฟลูออไรด์ในผิวเคลือบฟัน ได้ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเปรียบเทียบปริมาณฟลูออไรด์ในน้ำลายที่เพิ่มขึ้น พบว่ามีค่าสูงสุดคือ 500.688 (+-61.692) ส่วนในล้านส่วนในกลุ่มที่เคลือบด้วยแอซิดูเลดเตดฟอสเฟตฟลูออไรด์ ชนิดวุ้นเข้มข้นร้อยละ 1.23 รองลงมาในกลุ่มที่เคลือบด้วยโซเดียมฟลูออไรด์ชนิดวุ้นเข้มข้นร้อยละ 2 ซึ่งมีค่า 274.413 (+-24.832) ส่วนในล้านส่วน และน้อยที่สุดในกลุ่มที่เคลือบด้วยชนิดโฟมโดยไม่มีความแตกต่าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่าง กลุ่มโซเดียมฟลูออไรด์ชนิดโฟมเข้มข้นร้อยละ 2 กับกลุ่มแอซิดูเลดเตดฟอสเฟตฟลูออไรด์ชนิดโฟมเข้มข้นร้อยละ 1.23 ซึ่งมีค่า 183.220 (+-16.258) และ 148.484 (+-15.461) ส่วนในล้านส่วนตามลำดับ จากผลการวิจัยสรุปว่า แอซิดูเลดเตดฟอสเฟตฟลูออไรด์ชนิดโฟมเข้มข้นร้อยละ 1.23 มีประสิทธิภาพในการเพิ่มปริมาณฟลูออไรด์ในผิวเคลือบฟันมากที่สุด ในขณะที่ทำให้มีปริมาณฟลูออไรด์เหลือในช่องปากน้อยกว่าชนิดวุ้น
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
Clinical study to compare enamel fluoride uptake and oral fluoride retention after application of 4 professionally topical fluoride producs; a 2% sodium fluoride (NaF) gel, a 2% NaF foam, a 1.23% acidulated phosphate fluoride (APF) gel and a 1.23% APF foam, to 80 children ranging in age from 10 to 12 years. Before application, unstimulated saliva samples were collected and then enamel biopsies were obtained using an acid-etch technique at middle one-third of labial surface of upper right central incisors. Immediately after application, unstimulated saliva samples were collected and enamel biopsies from middle one-third of babial surface of upper left central incisors were obtained using the same technique respectively. The results showed that the enamel fluoride uptake after the 1.23% APE foam application (Mean+-SE = 3,725+-566 ppm) was significantly higher than those of 2% NaF gel (1,581+-380 ppm), 2% NaF foam (1,186+-239 ppm) and 1.23% APE gel (1,382+-315 ppm) at p<0.05. There was no significant difference in the enamel fluoride uptake among these three products. Salivary fluoride concentrations after treatment of the 1.23% APF gel (500.688+-61.692 ppm) and the 2% NaF gel (274.413+-24.832 ppm) were significantly different from others (p<0.05). There was no significant difference in fluoride concentrations between the 2% NaF foam (183.220+-16.258 ppm) and the 1.23% APF foam (148.484+-15.461 ppm). We concluded that the 1.23% APF foam produced the highest enamel fluoride uptake and less oral fluoride retention compared to gel products
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
ถาวรนันท์, ปริยกมล, "การเปรียบเทียบปริมาณฟลูออไรด์ในผิวเคลือบฟันและน้ำลาย ภายหลังการเคลือบฟันโดยทันตแพทย์ด้วยฟลูออไรด์เฉพาะที่ 4 ชนิด" (1999). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 26498.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/26498