Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ความน่าเชื่อถือของการแนะนำผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางในเว็บไซต์ด้านเครื่องสำอาง

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Credibility of cosmetic products reviews in cosmetic websites

Year (A.D.)

2011

Document Type

Thesis

First Advisor

ธาตรี ใต้ฟ้าพูล

Faculty/College

Faculty of Communication Arts (คณะนิเทศศาสตร์)

Degree Name

นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

นิเทศศาสตร์

DOI

10.58837/CHULA.THE.2011.454

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาเกณฑ์การประเมินความน่าเชื่อถือของการแนะนำผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางในเว็บไซต์ด้านเครื่องสำอาง ของผู้ใช้ข้อมูลข่าวสาร โดยเปรียบเทียบระหว่างเว็บไซต์ที่มีลักษณะที่แตกต่างกัน ได้แก่ เว็บไซต์จีบันดอทคอม และเว็บไซต์ของผู้ผลิตสินค้าเครื่องสำอางยี่ห้อ Lancome นอกจากนี้ยังศึกษาความแตกต่างของการประเมินความน่าเชื่อถือของการแนะนำผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางในเว็บไซต์ด้านเครื่องสำอาง ระหว่าง 3 กลุ่มปัจจัยที่เป็นตัวแปรอิสระ คือ ลักษณะทางประชากรศาสตร์ พฤติกรรมการซื้อเครื่องสำอาง และพฤติกรรมการใช้ข้อมูลข่าวสารในเว็บไซต์ด้านเครื่องสำอาง ใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ มีแนวทางการศึกษาในลักษณะวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ใช้ข้อมูลข่าวสารจากเว็บไซต์จีบันดอทคอม และผู้ใช้ข้อมูลข่าวสารจากเว็บไซต์ของผู้ผลิตสินค้าเครื่องสำอางยี่ห้อ Lancome เว็บไซต์ละ 200 คน ผลการวิจัยพบว่า 1.ผู้ใช้ข้อมูลข่าวสารประเมินความน่าเชื่อถือของการแนะนำผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางในเว็บไซต์จีบันดอทคอมในระดับมาก โดยกลุ่มตัวอย่างประเมินปัจจัยด้านความน่าเชื่อถือในด้าน การใช้ภาษาที่เข้าใจได้ง่าย มากที่สุด 2.ผู้ใช้ข้อมูลข่าวสารประเมินความน่าเชื่อถือของการแนะนำผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางในเว็บไซต์ของผู้ผลิตสินค้าเครื่องสำอางยี่ห้อ Lancome ในระดับปานกลาง โดยกลุ่มตัวอย่างประเมินปัจจัยด้าน ความน่าเชื่อถือในด้านลักษณะการโต้ตอบมีความเป็นมิตร น่าพูดคุยด้วย มากที่สุด 3.ปัจจัยด้านอายุ ระดับการศึกษา ความถี่ในการซื้อเครื่องสำอาง ระยะเวลาในการใช้ข้อมูล และลักษณะการใช้ข้อมูลที่ต่างกัน จะทำให้ผู้ใช้ข้อมูลข่าวสารประเมินความน่าเชื่อถือของการแนะนำผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางในเว็บไซต์ด้านเครื่องสำอางแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 4.ผู้ใช้ข้อมูลข่าวสารประเมินความน่าเชื่อถือของการแนะนำผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางในเว็บไซต์จีบันดอทคอมสูงกว่าเว็บไซต์ของผู้ผลิตสินค้าเครื่องสำอางยี่ห้อ Lancome

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

This research has the following objectives: to conduct a study on cosmetic-website visitors’ criteria of assessing a cosmetic website in term of credibility of products review by making a comparison of two different websites that are www.jeban.com and www.lancome-th.com, and to study the differences of credibility assessment of product introduction on the websites between 3 independent variable groups which are socio-demographics, cosmetics purchasing manner, and behavior of using information on cosmetics websites. The quantitative method was used for the study. A survey research was carried out by using questionnaires as a tool to collect data from those who take information from Jeban website and Lancome website. The survey was conducted to 200 people as random samples for each website, 400 people in total. The results of the study are as follow : 1.The products review of Jeban website earned a high mark from the samples’ credibility assessment. It was evaluated that the use of easily understandable linguistic pattern of the website received the highest credibility. 2.The credibility assessment of Lancome website was set at a fair level by the samples. This website was given the highest credibility in the aspect of customer-friendly communication. 3.Age differences, level of education, purchase frequency of cosmetic product, duration of information use, the way of using information have an effect on the assessment of product introduction credibility at a significance level of 0.05 4.Jeban website got a higher credibility mark than Lancome website did according to the samples’ assessment.

Share

COinS