Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
ลักษณะ แรงจูงใจของผู้ส่ง และผลกระบทของอีเมลส่งต่อ
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Characteristics, senders' motivations and consequences of forward e-mail
Year (A.D.)
2010
Document Type
Thesis
First Advisor
ดวงกมล ชาติประเสริฐ
Faculty/College
Faculty of Communication Arts (คณะนิเทศศาสตร์)
Degree Name
นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
วารสารสนเทศ
DOI
10.58837/CHULA.THE.2010.603
Abstract
ศึกษาลักษณะ แรงจูงใจในการส่ง และผลกระทบของอี เมลส่งต่อ เพื่อนำผลการวิจัยไปพัฒนาโปรแกรมรับส่งอีเมลให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น พร้อมกับกระตุ้นให้ผู้ใช้โปรแกรมรับส่งอีเมลตระหนักในประโยชน์และปัญหาตามมาจากอีเมลส่งต่อ งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงสำรวจ ประกอบด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพและปริมาณ แบ่งวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลออกเป็น 2 วิธี ได้แก่ การวิเคราะห์เนื้อหา ศึกษาอีเมลส่งต่อจำนวน 350 ฉบับที่แพร่ไปในระบบรับส่งอีเมลภายหลังประกาศพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และการสำรวจความคิดเห็นของผู้ใช้ระบบรับส่งอีเมลส่งต่อ จำนวน 450 คน ผลการวิจัยพบว่า 1. อีเมลส่งต่อมีการตั้งชื่อหลายรูปแบบ เนื้อหาส่วนใหญ่เป็นเรื่องเกี่ยวกับบุคคลหรือองค์กร วัตถุประสงค์ที่พบมากที่สุดคือการโน้มน้าวใจ อีเมลส่งต่อมีจุดดึงดูดใจอยู่ที่การเร้าอารมณ์และความรู้สึกเป็นหลัก แรงจูงใจภายนอกอยู่ที่คุณลักษณะของเนื้อหา เช่น ความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือ ความน่าสนใจ เป็นต้น พบความไม่เหมาะสมในเนื้อหาจำนวนมาก และความน่าเชื่อถือใช้รูปแบบของแหล่งอ้างอิงข้อมูลเป็นส่วนใหญ่ 2. ผู้ตอบแบบสอบถามมีพฤติกรรมเข้าอ่านอีเมลส่งต่อและส่งค่อนข้างน้อย แรงจูงใจในการส่งส่วนใหญ่เป็นไปเพื่อสื่อสารความคิดความรู้สึกไปให้ผู้รับทราบ และมีการตรวจสอบข้อมูลรวมทั้งคัดเลือกผู้รับก่อนส่งเป็นอย่างดี แต่ยังไม่ตระหนักถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นเท่าที่ควร 3. ผลกระทบต่อผู้รับอีเมลส่งต่อส่วนใหญ่มีความรุนแรงระดับปานกลางถึงมาก ทั้งในเชิงสร้างสรรค์และทำลาย แต่ในภาพรวม ผู้รับกลับรู้สึกว่าอีเมลส่งต่อมีประโยชน์มากกว่าสร้างปัญหา
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
To study the characteristics of forwarded e-mail, the motivations of senders and the effect of forward e-mail. The researcher analyzed the content of 350 forward e-mails after Commission of an Offence relating to Computer Act, B.E. 2550 (2007) became effective and conduct a survey of 450 e-mail users. The results are as follows: 1. Regarding the characteristics of the forward e-mails, they are named in various ways. The content are mostly about people and organizations. The purpose are mainly persuasive and most of them use emotional appeals. Many forwarded mail contain inappropriate content and most of them cite sources to increase credibility. 2. A rather small number of respondents read or forward emails. For those who do, there major intrinsic motivation is to communicate their thoughts and feelings with other people. The content of the e-mail, eg. the accuracy, the credibility and the attractiveness etc. provide extrinsic motivations. They also verify the information and select recipients carefully before forwarding mails. However, they are not aware of the impacts forwarded mails might have on recipients. 3. Most recipients rated the impact of forwarded e-mails as moderate or very much in both positive and negative directions. However, the perceived that forwarded emails as a whole are beneficial rather than destructive.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
แสงอินทร์, สมประสงค์, "ลักษณะ แรงจูงใจของผู้ส่ง และผลกระบทของอีเมลส่งต่อ" (2010). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 26415.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/26415