Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
การสื่อสารทางการเมืองของนักการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมืองไทยผ่านเว็บไซต์เครือข่ายทางสังคม
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Political communication of politicians and political interest groups via social networking websites
Year (A.D.)
2010
Document Type
Thesis
First Advisor
พิรงรอง รามสูต
Faculty/College
Faculty of Communication Arts (คณะนิเทศศาสตร์)
Degree Name
นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
วารสารสนเทศ
DOI
10.58837/CHULA.THE.2010.592
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสื่อสารทางการเมืองผ่านเว็บไซต์เครือข่ายทางสังคมของนักการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมืองในประเทศไทยและศึกษาลักษณะทางเทคโนโลยีที่เอื้ออำนวยและเป็นอุปสรรคต่อการสื่อสารทางการเมือง ซึ่งมีระเบียบการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพโดยวิเคราะห์ทำการวิเคราะห์เนื้อหาเนื้อหาของวอลล์ โปร์ไฟล์ ของเว็บไซต์เครือข่ายทางสังคม Hi5 Facebook และ Twitter ของกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมืองทั้ง 3 กลุ่ม คือ 1)ผู้นำทางการเมือง:นายอภิสิทธ์ เวชชาชีวะ,พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร 2)นักการเมือง: สาธิต วงศ์หนองเตย, กรณ์ จาติกวณิช, นพดล ปัทมะ, จาตุรนต์ ฉายแสง 3)กลุ่มผลประโยชน์ทางการเมือง:พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย(พันธมิตร), ประชาธิปไตยและฝ่ายแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) ผลการศึกษาพบว่านักการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์ในประเทศไทยสื่อสารทางการเมืองโดยอาศัยรูปแบบการสื่อสาร 5 รูปแบบ คือ ตัวอักษร ภาพ เสียง วีดีโอคลิป และลิงค์รูปแบบของการสื่อสารของนักการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมืองยังคงนิยมใช้การสื่อสารแบบตัวอักษรและรูปภาพมากกว่าการสื่อสารรูปแบบอื่น และพบว่าเนื้อหาของการสื่อสารมีวัตถุประสงค์เพื่อ1.การประกาศจุดยืนทางความคิดและอุดมการณ์ทางการเมือง 2. การแสดงความคิดเห็น 3. การระดมสรรพกำลัง 4. การสำรวจความคิดเห็นของสมาชิก 5.การประชาสัมพันธ์และสร้างความนิยม จากการวิจัยทำให้ทราบว่ารูปแบบของเนื้อหามีความเป็นกันเองมากขึ้น แต่ว่าวัตถุประสงค์ในการสื่อสารยังคงเป็นไปเพื่อการประชาสัมพันธ์ตนเองเป็นส่วนใหญ่ ไม่ได้ใช้ประโยชน์ในการสื่อสารกับประชาชนโดยตรงในเรื่องการสื่อสารแบบสองทางเท่าที่ควร เนื่องจากไม่มีการโต้ตอบใดๆกับการแสดงความคิดเห็นของประชาชน คล้ายกับสื่อสารแบบทางเดียวเหมือนสื่อเก่า เรียกได้ว่าเพื่อที่จะสร้างกลุ่มเครือข่ายของคนที่ชื่นชอบและประชาสัมพันธ์ตนเองเท่านั้น
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
This research has the following objectives: to study what purpose and form of communication of politicians and political interest via social networking sites what facilitate technological communications of social networking sites about political communication with qualitative research procedures by analyzing the content analysis of the content on wall or profile of social networking sites ; Hi5, Facebook and Twitter. This research focus for 3 groups: 1) the political leadership: Mr. Abhisit Vejjajiva and Thaksin Shinawatra 2) politicians: satit wongnongtaey, Korn Chatikavanij, Noppadon Pattama, Chaturon Chaisang 3) political interest groups : People's Alliance for Democracy, United Front of Democracy against Dictatorship (UDD) The result finds that political communication based on communication patterns and 5 forms of text, image, voice, video clips and links. The form of communications is still widely used text and images than the other forms . And found that the content of the communication was intended to 1. Adoption standpoint of political ideas and ideologies. 2 reviews 3. Mobilization. 4 poll of its members. 5. To promote and create popularity. The study also finds that all the forms of communication content are more friendly. But the purpose of communication is still possible to promote themselves as a majority. They don’t take advantage in communicating with people directly in a two-way communications as they should. As a result, there is no interaction with any public comment. Similar to the one-way communications, like old media. Is known that in order to create a network group of lovers and their only release.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
เอี่ยมเอิบ, อัญญรัตน์, "การสื่อสารทางการเมืองของนักการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมืองไทยผ่านเว็บไซต์เครือข่ายทางสังคม" (2010). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 26404.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/26404