Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ตัวชี้วัดความมีชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยด้านการสื่อสารในประเทศจีน

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Indicators for reputation measurement of communication universities in China

Year (A.D.)

2010

Document Type

Thesis

First Advisor

รุ่งนภา พิตรปรีชา

Faculty/College

Faculty of Communication Arts (คณะนิเทศศาสตร์)

Degree Name

นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

การประชาสัมพันธ์

DOI

10.58837/CHULA.THE.2010.491

Abstract

การวิจัยเรื่อง “ตัวชี้วัดความมีชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยด้านการสื่อสารในประเทศจีน" ผู้วิจัยได้เลือกมหาวิทยาลัยด้านการสื่อสารในประเทศจีน จำนวน 3 แห่ง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงปริมาณ โดยมีการเก็บข้อมูลการวิจัย 2 วิธี วิธีที่ 1 จะเป็นการศึกษาใช้วิธีการ สัมภาษณ์เชิงจากอธิการบดีหรือ ผู้บริหารในฝ่ายประชาสัมพันธ์หรือสื่อสารองค์กรทีดูแลด้าน การประชาสัมพันธ์ระดับองค์กร จำนวน 3 ท่าน จาก3 มหาวิทยาลัย และวิธีที่ 2 ศึกษาโดยใช้ แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล ซึ่งแบ่งการเก็บข้อมูลออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 เป็นผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียที่เป็นประชากรบุคลากรในมหาวิทยาลัย ได้แก่ อาจารย์ผู้สอนและพนักงานใน มหาวิทยาลัยจำนวน 100 คน นักศึกษาตามคณะต่างๆ ที่เรียนอยู่ในมหาวิทยาลัยด้านการสื่อสาร ในประเทศจีนจำนวน 100 คน และประชาชนทั่วไปจำนวน 400 คน ผลการวิจัยพบว่า การจัดลำดับความสำคัญของตัวชี้วัดความมีชื่อเสียงขององค์กรใน มหาวิทยาลัยด้านการสื่อสารในประเทศจีน กลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่ม ที่เป็นอาจารย์ พนักงานและ นักศึกษา และกลุ่มบุคคลทั่วไป มีความเห็นตรงกันคือให้ปัจจัยด้านสินค้าและบริการขององค์กร มี ความสำคัญอันดับที่ 1 ส่วนของการจัดอันดับที่ 2 อันดับที่3 และอันดับที่ 4 พบว่ามีความเห็น ต่างกัน โดยอาจารย์ พนักงาน และนักศึกษา ให้ความสำคัญกับ ปัจจัยด้านความเป็นผู้นำ มีความสำคัญเป็นอันดับที่ 2 ปัจจัยด้านนวัตกรรม มีความสำคัญเป็นอันดับที่ 3 ปัจจัยด้าน สถานที่ทำงานมีความสำคัญเป็นอันดับที่ 4 ในขณะที่ กลุ่มบุคคลทั่วไป ให้ความสำคัญกับปัจจัย ด้านนวัตกรรมมีความสำคัญเป็นอันดับที่ 2 ปัจจัยด้านสถานที่ทำงานมีความสำคัญเป็นอันดับที่ 3 ปัจจัยด้านความเป็นผู้นำมีความสำคัญเป็นอันดับที่ 4 ส่วนความสำคัญในอันดับที่ 5-7 พบว่า ทั้ง สองกลุ่มมีการจัดอันดับเหมือนกัน คือ ปัจจัยด้านผลการดำเนินงาน มีความสำคัญเป็นอันดับที่ 5 ปัจจัยด้านการกำกับดูแล มีความสำคัญเป็นอันดับ 6 และปัจจัยด้านความเป็นพลเมืองดีมี ความสำคัญเป็นอันดับที่ 7

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

The objectives of this research were 1) To study the development of communication universities in China. 2) To identify the indicators for reputation measurement of the universities perceived by the universities stakeholder (executive, teacher, staff, student and employer). 3) to identify the indicators for reputation measurement of the universities perceived by the general public. The study applied both qualitative and quantitative research. The qualitativeresearch was conducted by in-depth interview with 3 public relations executives from 3 communication universities. This research was also conducted in a quantitative manner by doing a survey relatively in 2 groups of 600 samples: the stakeholder and general public. The statistics employed in this study are arithmetic meanstandard deviation and independent sample T-test The qualitative study showed that the corporate indicators of 3 communication universities of China comprised 7 factors and 26 attributes. And the quantitative shows that university stakeholder and their students putthe corporate reputation indicators into the following orders: (1) Product and Service (2) Leadership (3) Innovation (4) Workplace (5) Performance (6) Governances (7) Citizenship The general public put the corporate reputation indicators into the following orders: (1) Product and Service (2) Innovation (3) Workplace (4) Leadership (5) Performance (6) Governances (7) Citizenship

Share

COinS