Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
การสื่อสารและความน่าเชื่อถือของอาจารย์ที่แสดงตนต่างจากเพศกำเนิดในบริบทการศึกษาไทย
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Communication and credibility of transgender teachers in Thai educational context
Year (A.D.)
2008
Document Type
Thesis
First Advisor
เมตตา วิวัฒนานุกูล
Faculty/College
Faculty of Communication Arts (คณะนิเทศศาสตร์)
Degree Name
นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
วาทวิทยา
DOI
10.58837/CHULA.THE.2008.515
Abstract
การวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ความน่าเชื่อถือของอาจารย์ที่แสดงตนต่างจากเพศกำเนิด และผลการรับรู้ความน่าเชื่อถือของอาจารย์ที่แสดงตนต่างจากเพศกำเนิด ในมุมมองของอาจารย์ที่แสดงตนต่างจากเพศกำเนิด และบุคคลแวดล้อม ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา อาจารย์เพื่อนร่วมงาน นักเรียน-นักศึกษา และผู้ปกครอง รวมถึงศึกษาปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นกับอาจารย์ที่แสดงตนต่างจากเพศกำเนิด โดยใช้แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 5 กลุ่ม ได้แก 1. อาจารย์ที่แสดงตนต่างจากเพศกำเนิด 2. ผู้บริหารสถานศึกษาที่อาจารย์ที่แสดงตนต่างจากเพศกำเนิดสังกัด 3. อาจารย์เพื่อนร่วมงาน 4. นักเรียน-นักศึกษา 5. ผู้ปกครองของนักเรียนนักศึกษา ผลการวิจัยพบว่า 1.การรับรู้ตนเองของอาจารย์ที่แสดงตนต่างจากเพศกำเนิด แบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ คือการรับรู้เพศภาวะของตนเอง และการรับรู้คุณลักษณะความเป็นครู ส่งผลต่อการรับรู้ความน่าเชื่อถือในวิชาชีพครูจากมุมมองของบุคคลแวดล้อม โดยส่วนใหญ่ เห็นว่าไม่แตกต่างจากอาจารย์ผู้หญิง และเน้นความรู้ ความสามารถของอาจารย์ที่แสดงตนต่างจากเพศกำเนิดมากกว่าเพศภาวะ 2.การรับรู้มีผลต่อการนำเสนอตนเองของอาจารย์ที่แสดงตนต่างจากเพศกำเนิดผ่านทางวัจนภาษาและอวัจนภาษา ขณะที่ บุคคลแวดล้อมทุกกลุ่มให้การยอมรับในความสามารถที่อาจารย์ที่แสดงตนต่างจากเพศกำเนิดมี ยกเว้นสถานศึกษาบางแห่งมีการออกกฎระเบียบบางประการเพื่อสร้างความชัดเจนหรือหลีกเลี่ยงการเป็นแบบอย่าง 3.การยึดภาพลักษณ์ของครูตามบทบาททางเพศในสังคมไทยของสถานศึกษา และวิธีการใช้คำพูดที่ไม่เหมาะสมของอาจารย์ที่แสดงตนต่างจากเพศกำเนิดกับเพื่อนร่วมงาน เป็นอุปสรรคต่อการยอมรับการทำงานในฐานะครู รวมไปถึงกฎระเบียบของสถานศึกษา มีผลต่อการนำเสนอความเป็นเพศของอาจารย์ข้ามเพศในฐานะแบบอย่างที่ดี
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The objectives of this qualitative research are to study the perception of transgender teachers’ credibility and its impact from the perspective of deans, colleagues, students and parents, including problems and obstacles against occupational performance of transgender teachers by conducting in-depth interview and survey questionnaires from 5 groups : transgender teachers | deans | colleagues, students and parents. The results show that 1.Self-perception of transgender teachers is based on how they perceive their sex identity and condition and how they perceive general teachers’ proper characteristics, which affects the perception of other concerned people on their credibility as a teacher. Most samples perceive transgender teachers as not different from female teachers and emphasize their doing more than their being. 2.Transgender teachers’ self-perception affects their self-presentation through their verbal and nonverbal language, while respondents of all groups admit them and their performance, except some colleges which issue some regulations to clarify and avoid being imitated. 3Colleges’ rigid expectation of sex-role and expression according to Thai norms, and improper use of words by transgender teachers themselves are the problems which can lead to a rejection on their role as a good teacher.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
สวนประดิษฐ์, ผณิศวรฎา, "การสื่อสารและความน่าเชื่อถือของอาจารย์ที่แสดงตนต่างจากเพศกำเนิดในบริบทการศึกษาไทย" (2008). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 26074.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/26074