Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
การใช้ตัวละครเพื่อการสื่อความหมายในละครเบาสมองตามเหตุการณ์ เรื่อง "เป็นต่อ"
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
The use of static character in "Pentor" situation comedy series
Year (A.D.)
2008
Document Type
Thesis
First Advisor
ศิริชัย ศิริกายะ
Faculty/College
Faculty of Communication Arts (คณะนิเทศศาสตร์)
Degree Name
นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
การสื่อสารมวลชน
DOI
10.58837/CHULA.THE.2008.474
Abstract
ศึกษาการใช้ตัวละครเพื่อการสื่อความหมายในละครเบาสมองตามเหตุการณ์เรื่อง “เป็นต่อ" โดยศึกษาบทบาทและลักษณะของตัวละครต่างๆ ที่ปรากฏในละครเรื่อง “เป็นต่อ" ว่าเป็นเช่นไร และทำหน้าที่ในการสื่อความหมายอย่างไร โดยในการศึกษาวิจัยนี้ใช้การวิเคราะห์เชิงอรรถอธิบาย โดยศึกษาจากตัวบทของละครเบาสมองตามเหตุการณ์เรื่อง “เป็นต่อ" เป็นหลัก และใช้การสัมภาษณ์แบบเจาะลึกเพื่อประกอบการวิเคราะห์และอภิปรายผลการวิจัย ผลจากการศึกษาพบว่า ละครเบาสมองตามเหตุการณ์เรื่อง “เป็นต่อ" ตัวละครชายส่วนใหญ่ถูกนำเสนอออกมาในลักษณะของภาพแบบฉบับของผู้ชายเจ้าชู้ ส่วนตัวละครหญิงส่วนใหญ่จะถูกนำเสนอออกมาในลักษณะของภาพแบบฉบับของสาวแก่ขึ้นคาน ซึ่งสามารถสะท้อนให้เห็นถึงสภาพของสังคมไทยในปัจจุบัน ที่ผู้ชายไทยมักจะเจ้าชู้และผู้หญิงไทยมักจะครองตัวเป็นโสดมากขึ้น โดยจะเห็นได้ว่าในการสื่อความหมายตัวละครในเรื่อง “เป็นต่อ" นั้น จะไม่ได้แสดงภาพแบบฉบับออกมาในลักษณะของตัวสารที่ชัดเจนนัก เพราะส่วนใหญ่ลักษณะของภาพแบบฉบับที่พบในตัวละครจะไม่ได้ปรากฏอยู่ในทุกตอน ส่วนใหญ่จะถูกนำมาใช้ในการทำให้เกิดอารมณ์ขันในลักษณะที่เป็นตัวรหัสซึ่งทำหน้าที่อัตตภาษา (Metalingual) ในการสร้างอารมณ์ขันหรือมุขตลก ยกเว้นภาพแบบฉบับของคนเพื่อชีวิตที่ปรากฏในตัวละครพี่อู๊ดและภาพแบบฉบับของกะเทยที่ปรากฏในตัวละครพี่ก็อบ ที่ปรากฏอยู่ในทุกตอนและมีความชัดเจน โดยภาพแบบฉบับของกะเทยและภาพแบบฉบับของคนเพื่อชีวิต จะปรากฏออกมาในลักษณะของรหัสของการนำเสนอตัวละคร และในส่วนของการทำหน้าที่เป็นบริบทของเนื้อหาหรือการสร้างสถานการณ์ จะพบในบางตอนเท่านั้น ดังนั้นการสร้างอารมณ์ขันส่วนใหญ่ตัวละครจึงทำหน้าที่ในการเป็นรหัสมากกว่าเป็นบริบท.
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
To study the portrayal of static characters in “Pentor" situation comedy series and also demonstrating how roles and characteristics of each character can be interpreted. The research is based mainly on the descriptive analysis method that focuses on the insight study of situation comedy content/text along with in-depth interview in order to analyze and discuss the result. The findings of this study are as follows. Most of the Leading male characters in “Pentor" situation comedy series are mainly portrayed as a type of characters who love flirting to every girl. Likewise leading female characters are normally presented as a type of old single and virgin women. As a result, these can reflect the actual characteristics or behaviors of Thai males and females in a current society. However, the characters in this situation comedy don’t obviously present their main characters or types. The type of characters or old single ladies is only used for building a comedy code or as the function of Metalingual. On the other hand, the character of Pee Oud, a type of a goal oriented person and that of Pee Golf, a type of a transvestite person are distinctively presented as a Presentation code. It can be concluded that most of the characters in Pentor situation comedy series are represented as “Code" rather than “Context".
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
อนุเสถียร, ไพลิน, "การใช้ตัวละครเพื่อการสื่อความหมายในละครเบาสมองตามเหตุการณ์ เรื่อง "เป็นต่อ"" (2008). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 26029.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/26029