Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
ผลกระทบของความสัมพันธ์ฉันคนรักต่อการสื่อสารในองค์กร
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
The impact of romantic relationship on organizational communication
Year (A.D.)
2007
Document Type
Thesis
First Advisor
รุ้ง ศรีอัษฎาพร
Faculty/College
Faculty of Communication Arts (คณะนิเทศศาสตร์)
Degree Name
นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
วาทวิทยา
DOI
10.58837/CHULA.THE.2007.437
Abstract
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) อาศัยวิธีการสัมภาษณ์เจาะลึก (In-depth Interview) จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 24 คน และเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 192 คน ซึ่งเป็นกลุ่มคู่รัก เพื่อนร่วมงาน ผู้ใต้บังคับบัญชา และผู้บังคับบัญชาของคู่รัก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงรูปแบบและพฤติกรรมการสื่อสารในความสัมพันธ์ฉันคนรักภายในองค์กร รวมถึงผลกระทบจากการสื่อสารของคู่รักที่มีต่อการสื่อสารระดับต่างๆ ทั้งในระดับบุคคล ระดับกลุ่ม และระดับองค์กร ผลการวิจัยพบว่า 1) คู่รักในองค์กรมีรูปแบบการสื่อสารอย่างไม่เป็นทางการและสื่อสารแบบสองทางมากที่สุด ส่วนพฤติกรรมในการสื่อสารจะใช้การพูดคุยกันโดยตรง (face-to-face) การพูดคุยผ่านโทรศัพท์มือถือ และมีการหยอกล้อกันด้วยความสนิทสนม 2) ผลกระทบที่เกิดจากการสื่อสารของคู่รักในองค์กรต่อการสื่อสาร “ระดับบุคคล" ภายในองค์กร ได้แก่ ช่วยกระชับความสัมพันธ์ระหว่างคู่รักกันเอง ช่วยให้เกิดความสะดวกในการรับส่งข้อมูล และลดความเขินอายในการให้หรือรับคำแนะนำระหว่างคู่รัก 3) ผลกระทบที่เกิดจากการสื่อสารของคู่รักในองค์กรต่อการสื่อสาร “ระดับกลุ่ม" ภายในองค์กร ได้แก่ เกิดความรวดเร็วในการแลกเปลี่ยนข่าวสารระหว่างคนรักที่อยู่ต่างแผนก ทำให้สามารถพูดคุยกันได้อย่างตรงไป ตรงมา ทำให้เข้าใจความคิดของคนรักได้รวดเร็วกว่าคนอื่น และทำให้กล้าที่จะแสดงความคิดเห็นที่ขัดแย้งกันได้ 4) ผลกระทบที่เกิดจากการสื่อสารของคู่รักในองค์กรต่อการสื่อสาร “ระดับองค์กร" ได้แก่ เกิดการสื่อสารจัดการที่ดีในองค์กร ก่อให้เกิดการสร้างเครือข่ายอย่างไม่เป็นทางการภายในองค์กร และมีผลต่อแนวโน้มในการตัดสินใจเข้าหรือไม่เข้าร่วมกิจกรรมขององค์กรตามคนรัก
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
This study is a survey research. The purposes of this research are to explore communication patterns and behaviors in romantic relationship and to investigate its impacts on organizational communication at the interpersonal, group, and organizational levels in Thai workplace. Using in-depth interview and questionnaire techniques, the researcher collected qualitative data from a group of 24 samples and collected quantitative data from 192 questionnaires. Samples of the study are boyfriends/girlfriends and couples who worked together in the same organization. The samples also included their coworkers, subordinates and supervisors. Results of the study show that girlfriends/boyfriends and couples who work in the same organization mostly use direct and face-to-face communication styles. At the interpersonal level, romantic relationship helps strengthen more convenient, informal, and two-way communication in work relationships. At the group level, romantic relationship encourages more open, candid, and rapid communication exchange in workgroups. At the organizational level, romantic relationship promotes effective communication management, creates informal communication network, and supports decisions to participate in organizational activities.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
กาญจนเพ็ญ, กฤษณา, "ผลกระทบของความสัมพันธ์ฉันคนรักต่อการสื่อสารในองค์กร" (2007). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 25925.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/25925