Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
ความเคลือบแคลงใจในโฆษณาของผู้บริโภค
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Consumer's advertising skepticism
Year (A.D.)
2007
Document Type
Thesis
First Advisor
วิฏราธร จิรประวัติ, ม.ล.
Faculty/College
Faculty of Communication Arts (คณะนิเทศศาสตร์)
Degree Name
นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
การโฆษณา
DOI
10.58837/CHULA.THE.2007.341
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความแตกต่างทางลักษณะประชากรของผู้บริโภคต่อความเคลือบแคลง ใจในโฆษณาและพฤติกรรมการหลีกเลี่ยงโฆษณา 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความมั่นใจในตัวเองกับความเคลือบ แคลงใจในโฆษณาและพฤติกรรมการหลีกเลี่ยงโฆษณา 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เกี่ยวกับตลาดกับความ เคลือบแคลงใจในโฆษณาและพฤติกรรมการหลีกเลี่ยงโฆษณา 4) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเคลือบแคลงใจใน โฆษณากับพฤติกรรมการหลีกเลี่ยงโฆษณา โดยมีสมมติฐานในการวิจัย 7 ข้อ ดังต่อไปนี้ 1) ผู้บริโภคที่มีลักษณะทางประชากรแตกต่างกันมีระดับความเคลือบแคลงใจในโฆษณาแตกต่างกัน 2) ความมั่นใจในตัวเองมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความเคลือบแคลงใจในโฆษณา 3) ความรู้เกี่ยวกับตลาดของผู้บริโภคมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความเคลือบแคลงใจในโฆษณา 4) ผู้บริโภคที่มีลักษณะทางประชากรแตกต่างกันมีพฤติกรรมการหลีกเลี่ยงโฆษณาแตกต่างกัน 5) ความมั่นใจในตัวเองของผู้บริโภคมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการหลีกเลี่ยงโฆษณา 6) ความรู้เกี่ยวกับตลาดของผู้บริโภคมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการหลีกเลี่ยงโฆษณา 7) ความเคลือบแคลงใจในโฆษณามีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการหลีกเลี่ยงโฆษณา การวิจัยครั้งนี้เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ซึ่งใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน กลุ่มตัวอย่างที่ได้คือ ผู้บริโภคเพศชายและหญิง อายุ 20 – 49 ปี ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า 1) ผู้บริโภคที่มีระดับรายได้ที่แตกต่างกันมีระดับความเคลือบแคลงใจในโฆษณาที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) ความมั่นใจในตัวเองมีความสัมพันธ์กับความเคลือบแคลงใจในโฆษณาอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) ความรู้เกี่ยวกับตลาดมีความสัมพันธ์กับความเคลือบแคลงใจในโฆษณาอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 4) ผู้บริโภคที่มีระดับอายุที่แตกต่างกันมีปริมาณพฤติกรรมการหลีกเลี่ยงโฆษณาที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 5) ความมั่นใจในตัวเองมีความสัมพันธ์กับปริมาณพฤติกรรมการหลีกเลี่ยงโฆษณาอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 6) ความรู้เกี่ยวกับตลาดมีความสัมพันธ์ในทางลบกับปริมาณพฤติกรรมการหลีกเลี่ยงโฆษณาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 7) ความเคลือบแคลงใจในโฆษณามีความสัมพันธ์ในทางบวกกับปริมาณพฤติกรรมการหลีกเลี่ยงโฆษณาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
This survey research aimed to study : 1) the difference of consumer’s demographic factors toward advertising skepticism and advertising avoidance 2) the relationship of consumer’s self-esteem toward consumer’s advertising skepticism and consumer’s self-esteem toward consumer’s advertising avoidance 3) the relationship of consumer’s marketplace knowledge toward consumer’s advertising skepticism and consumer’s marketplace knowledge toward consumer’s advertising avoidance 4) the relationship of consumer’s advertising skepticism toward consumer’s advertising avoidance. There are 7 hypotheses as follows : 1) Consumers with different demographic factors have different levels of advertising skepticism. 2) Consumer’s self-esteem was positively correlated with consumer’s advertising skepticism. 3) Consumer’s marketplace knowledge was positively correlated with consumer’s advertising skepticism. 4) Consumers with different demographic factors have different levels of advertising avoidance. 5) Consumer’s self-esteem was positively correlated with consumer’s advertising avoidance. 6) Consumer’s marketplace knowledge was positively correlated with consumer’s advertising avoidance. 7) Consumer’s advertising skepticism was positively correlated with consumer’s advertising avoidance. Data gathering was done by using questionnaires with 400 samples, male and female, aged 20 – 49, living in Bangkok. The results of this study are : 1) Consumers with different personal income levels have different levels of advertising skepticism at the .05 significant level. 2) Consumer’s self-esteem was not positively correlated with consumer’s advertising skepticism at the .05 significant level. 3) Consumer’s marketplace knowledge was not positively correlated with consumer’s advertising skepticism at the .05 significant level. 4) Consumers with different age levels have different levels of advertising avoidance at the .05 significant level. 5) Consumer’s self-esteem was not positively correlated with consumer’s advertising avoidance at the .05 significant level. 6) Consumer’s marketplace knowledge was negatively correlated with consumer’s advertising avoidance at the .05 significant level. 7) Consumer’s advertising skepticism was positively correlated with consumer’s advertising avoidance at the .05 significant level.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
ฤกษ์อำนวยโชค, ธีระเศรษฐ์, "ความเคลือบแคลงใจในโฆษณาของผู้บริโภค" (2007). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 25825.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/25825