Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
กลยุทธ์การสื่อสารการรณรงค์โครงการร่วมใจเพื่อลดอันตรายจากควันบุหรี่มือสอง
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Communication strategy in network of second hand smoking protection campaign
Year (A.D.)
2006
Document Type
Thesis
First Advisor
พัชนี เชยจรรยา
Second Advisor
ไศลทิพย์ จารุภูมิ
Faculty/College
Faculty of Communication Arts (คณะนิเทศศาสตร์)
Degree Name
นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
นิเทศศาสตรพัฒนาการ
DOI
10.58837/CHULA.THE.2006.415
Abstract
การวิจัยเรื่องกลยุทธ์การสื่อสารการรณรงค์โครงการร่วมใจเพื่อลดอันตรายจากควันบุหรี่มือสองเป็นโครงการวิจัยเชิงคุณภาพ มุ่งศึกษาการดำเนินกิจกรรมในโครงการรณรงค์ทางด้านบุหรี่ โดยมวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษากลยุทธ์การสื่อสารการรณรงค์ที่ใช้ในโครงการ และกลยุทธ์สื่อ กลยุทธ์สารที่ใช้ในการรณรงค์ โดยใช้วิธีการวิจัยจากข้อมูลเอกสารและการสัมภาษณ์ผู้ดำเนินการที่เกี่ยวข้องในโครงการจาก 13 เครือข่าย จากผลการวิจัยพบว่า โครงการร่วมใจเพื่อลดอันตรายจากควันบุหรี่มือสองนั้นเป็นโครงการรณรงค์โดยใช้ลักษณะของภาคีเครือข่ายเป็นตัวช่วยขับเคลื่อนการรณรงค์ การสื่อสารภายในเครือข่ายมีทั้งแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ มีการแบ่งบทบาทของภาคีไว้อย่างชัดเจน โดยแบ่งเป็น ภาคี แกนนำ ภาคีผู้ดำเนินการหลัก และภาคีสนับสนุน กลยุทธ์การสื่อสารการรณรงค์ในโครงการแบ่งเป็น 2 ส่วน ค้อ กลยุทธ์ระดับส่วนกลางและระดับท้องถิ่น ซึ่งกลยุทธ์ระดับส่วนกลางประกอบด้วย กลยุทธ์การทำกิจกรรมเชิงลึกสร้างกระแส กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์โครงการผ่านสื่อมวลชน กลยุทธ์การทำกิจกรรมสร้างกระแส กลยุทธ์การใช้สื่อบุคคล กลยุทธ์การกระตุ้นการสื่อสารกลับโดยใช้ศูนย์ร้องเรียน กลยุทธ์ระดับท้องถิ่น ประกอบด้วย กลยุทธ์การรณรงค์แบบบูรณาการ และกลยุทธ์การใช้สื่อเฉพาะกิจ กลยุทธ์สื่อที่ใช้ในโครงการ ประกอบด้วย กลยุทธ์สื่อบุคคล กลยุทธ์การใช้สื่อมวลชน กลยุทธ์การใช้สื่อผสม กลยุทธ์การซื้อสื่อเองในราคาพิเศษ กลยุทธ์การซื้อสื่อในช่วงเวลา Prime time หรือ Top rating กลยุทธ์การใช้สื่อให้เหมาะกับกลุ่มเป้าหมาย กลยุทธ์การใช้สารประกอบด้วย กลยุทธ์การนำเสนอสารในเชิงบวก กลยุทธ์สารเสนอความเป็นเหตุเป็นผล กลยุทธ์สารเน้นข้อความสะดุดหู กลยุทธ์สารเสนอข้อเท็จจริง และกลยุทธ์สารเร้าความกลัว
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The research on Communication Strategy for Network of Second Hand Smoking Protection Campaign is a qualitative research emphasized the communication activities implemented in the smoking protection campaign. The objectives of the research were to study communication campaign strategy, message strategy, and channel strategy used in the campaign. To collect the data, a documentary research and an in-depth interview were used. The findings were 1.) The campaign was mobilized by the communication network whose communication was formal informal while the roles of associate members were clearly defined; 2.) Communication strategy w3as divided into two level: Metropolitan and countryside area. The strategies in the Metropolitan area were comprised of agenda setting, message, mass media, personal media, two-way communication strategies and activities campaign. The countryside area strategies were comprised of integration and printed media strategies; 3.) Channel strategies were comprised of personal media, mass media, mixed media, price negotiation, and audience segmentation strategies; 4.) Message strategy were comprised of positive approach, rational message, rhetoric message, and fear arousal strategies.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
ศรีบุญลือ, สิริพรรษ์, "กลยุทธ์การสื่อสารการรณรงค์โครงการร่วมใจเพื่อลดอันตรายจากควันบุหรี่มือสอง" (2006). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 25744.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/25744