Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
กระบวนการสื่อสารกลุ่มและอัตลักษณ์ของศิลปิน "เพลงอินดี้"
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Group communication process and identity of "Indie music"
Year (A.D.)
2005
Document Type
Thesis
First Advisor
อวยพร พานิช
Faculty/College
Faculty of Communication Arts (คณะนิเทศศาสตร์)
Degree Name
นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
วาทวิทยา
DOI
10.58837/CHULA.THE.2005.399
Abstract
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการก่อกำเนิดศิลปินอินดี้ในประเทศไทยตลอดจนศึกษากระบวนการสื่อสารกลุ่ม และอัตลักษณ์ของศิลปินเพลงอินดี้ในประเทศไทย รูปแบบการวิจัยเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มตัวอย่างดังนี้ ศิลปินอินดี้ในอดีตที่ประสบความสำเร็จ 3 คน, ศิลปินอินดี้ในปัจจุบันจำนวน 10 คน, เจ้าของค่ายเพลงอินดี้ 4 คน, ตัวแทนกลุ่มหรือสมาคมอินดี้ 1 คน, เจ้าของบริษัทจัดจำหน่ายงานเพลงอินดี้ 1 คน และเจ้าของร้านค้าปลีกย่อยที่จัดจำหน่ายเพลงอินดี้ 4 คน ผลการวิจัยพบว่า พัฒนาการของกระบวนการก่อกำเนิดศิลปินเพลงอินดี้ในประเทศไทยมี 6 ระยะ คือ 1) ยุคใต้ดิน คือ อินดี้ 2) ดีเจวาสนากับของนอก 3) โมเดิร์นด็อก ยุคทองของเพลงอินดี้ 4) ฟ้าเปลี่ยนสีหลังโมเดิร์นด็อก 5) ระลอกเล็กที่กลับมา และ 6) ค้นหา "อินดี้" ในยุคปัจจุบัน กระบวนการสื่อสารกลุ่มของศิลปินอินดี้จะเป็นการสื่อสารระหว่างบุคคล เนื่องจากกลุ่มศิลปินมีขนาดเล็ก ส่วนใหญ่เป็นเพื่อนกันมาตั้งแต่สมัยเรียน มีทัศนคติไปในทางเดียวกัน จึงพูดคุยกันได้ง่ายขึ้นส่วนในการทำงาน ก็สามารถหาที่รวมตัวกันทำงานได้ตามห้องบันทึกเสียงหรือบ้านเพื่อนคนใดคนหนึ่งทุกคนจะรับผิดชอบงานด้านที่ตนเองถนัด และทำงานอย่างมีอิสระ อัตลักษณ์ของศิลปินอินดี้ คือ เอกลักษณ์หรือลักษณะเฉพาะของวงแต่ละวงที่แตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของชื่อวง, บุคลิกลักษณะของสมาชิกในวง, การแต่งกาย, แนวดนตรี, เนื้อหาเพลง, ขั้นตอนการทำงาน ตลอดจนรูปแบบการแสดงคอนเสิร์ต สิ่งเหล่านี้ถือเป็นเสน่ห์ของวงแต่ละวง แต่แน่นอนว่าจุดร่วมที่ศิลปินอินดี้มีเหมือนกัน คือ การได้ปลอดปล่อยจินตนาการความคิดผ่านบทเพลง ผ่านการแสดงออกทางดนตรี ที่เป็นอิสระ ไม่มีใครบังคับ กระบวนการสื่อสารกลุ่ม สามารถสร้างการดำรงไว้ซึ่งอัตลักษณ์ให้กับศิลปินอินดี้ได้ เพราะกระบวนการสื่อสารกลุ่มมีทั้งแรงสนับสนุนที่ทำให้กลุ่มยังดำเนินต่อไปได้ และแรงสกัดจะเป็นการลดความเข้มแข็งของอัตลักษณ์ความเป็นศิลปินอินดี้ลงไป แรงสนับสนุนที่ทำให้ศิลปินอินดี้ดำรงอยู่ได้คือ การสร้างเครือข่ายพันธมิตรของกลุ่มอินดี้ด้วยกันเอง ตลอดจนมีช่องทางจำหน่ายผลงานจากบริษัทจัดจำหน่ายและร้านค้าปลีกสำหรับเพลงอินดี้
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The objectives of this research are to study the way of developing Indie Music in Thailand together with the group communication process and identity of Indie in Thailand. This is the qualitative research by using in-depth interview from the sampling group: 3 successful Indie artists, 10 present Indie artists, 4 Indie music labels, 1 Indie Association representative. 1 Indie music distributor, and 4 Indie music outlets. The research has categorized the Indie music revolution into 6 steps : 1) Underground Age 2) Vasan DJ and music from outsider 3) Modern Dog, the Indie's golden age 4) After the age of Modern Dog 5) The coming back age and 6) Finding "Indie" nowadays. Indie group communication process is the interpersonal communication because of the group size. They established their friendships while in university; have got similar attitudes so that they can easily talk to each other. For Indie team, they assemble at any music studio or members' house for working with their skill in the freedom of atmosphere. The identity of Indie artists is that each band has its own characteristic differently from the others. For example, the way of titling a band, the members' personalities, costuming, music style, songs' contents, working systems, and performing styles on concerts. However, they have one point alike is that they desire to create the music with the frame of independence. The identity of Indie can be maintained by group communication process. Whereas such process can also bring the constraints that destroying the power of its identity. However, the supporting such as network and distribution of Indie can keep the identity maintenance.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
ธารารัตนกุล, ฐิติมา, "กระบวนการสื่อสารกลุ่มและอัตลักษณ์ของศิลปิน "เพลงอินดี้"" (2005). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 25648.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/25648