Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วรรณกรรมเยาวชนเรื่อง นิเฮียะกุเน็น โนะ โคะโดะโมะ ของโอเอะ เค็นสะบุโร : ความขัดแย้งแบบขั้วตรงข้าม และมิติเวลากับอำนาจของกลุ่มชายขอบ

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Ōe Kenzaburō’s nihyakunen no kodomo : binary opposition, time and the power of marginal groups

Year (A.D.)

2011

Document Type

Thesis

First Advisor

เดือนเต็ม กฤษดาธานนท์

Faculty/College

Faculty of Arts (คณะอักษรศาสตร์)

Degree Name

อักษรศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

ภาษาญี่ปุ่น

DOI

10.58837/CHULA.THE.2011.2107

Abstract

วรรณกรรมเรื่อง นิเฮียะกุเน็น โนะ โคะโดะโมะ เป็นงานเขียนยุคปลายที่โอเอะกล่าวว่า เป็นวรรณกรรมเยาวชนเล่มแรกและเล่มเดียวในชีวิตการเป็นนักเขียนของเขา ในผลงานชิ้นนี้โอเอะสร้างและนำเสนอเรื่องราวโดยใช้รูปแบบที่เรียกว่า “ความขัดแย้งแบบขั้วตรงข้าม" กล่าวคือ มีการสร้างฉากและตัวละครที่แสดงบทบาทหน้าที่ซึ่งขัดแย้งกัน อีกทั้งในวรรณกรรมเรื่องนี้ยังมีรูปแบบการนำเสนอที่เป็นลักษณะเด่นของโอเอะปรากฏอยู่ด้วย นั่นคือ การสลับบทบาทระหว่างสิ่งที่เป็นศูนย์กลางกับชายขอบ การวิจัยในครั้งนี้มุ่งเน้นการศึกษาถึงการใช้รูปแบบความขัดแย้งแบบขั้วตรงข้าม และมิติเวลากับอำนาจของคนชายขอบในวรรณกรรมเยาวชนเรื่อง นิเฮียะกุเน็น โนะ โคะโดะโมะ ของ โอเอะ เค็นสะบุโร ซึ่งผู้วิจัยเห็นว่าการศึกษาวิเคราะห์ถึงความขัดแย้งแบบขั้วตรงข้ามในงานวรรณกรรมเยาวชนเรื่องนี้ จะช่วยทำให้สามารถเข้าถึงและเข้าใจความหมายที่ผู้เขียนต้องการสื่อผ่านมายังผู้อ่านได้อย่างลึกซึ้งมากขึ้น และยังเป็นการวิเคราะห์ลักษณะการเขียนอีกรูปแบบหนึ่งของโอเอะ เพื่อเป็นประโยชน์ในการศึกษาผลงานเรื่องอื่นๆ ต่อไป ผลจากการศึกษาผู้วิจัยพบว่าความขัดแย้งแบบขั้วตรงข้ามเป็นลักษณะการเขียนรูปแบบหนึ่งของโอเอะ เค็นสะบุโร ที่มีปรากฏตั้งแต่ในงานเขียนยุคแรก และมีอยู่ในผลงานหลายเรื่อง แม้กระทั่งในงานที่กล่าวได้ว่าเป็นวรรณกรรมเยาวชนเรื่องแรกอย่างเรื่อง นิเฮียะกุเน็น โนะ โคะโดะโมะ ก็มีการสร้างตัวละคร ฉาก และการดำเนินเรื่องในลักษณะคู่เปรียบ ซึ่งเป็นการเขียนถึงความขัดแย้งแบบขั้วตรงข้ามเพื่อให้อำนาจแก่กลุ่มชายขอบ อีกทั้งยังมีการใช้มิติเวลาเพื่อเน้นให้เห็นถึงอำนาจของกลุ่มชายขอบมากขึ้นด้วย

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

Nihyakunen no kodomo is the one and only Ōe’s youth-novel written in his late period. In this work Ōe use the pattern called “binary opposition" to create scenes and roles that are paradoxical. Also Ōe’s outstanding technique of switching the role of the central and the marginal groups is presented. This research aims to study the pattern of using binary opposition, time and power of marginal groups in Nihyakunen no kodomo written by Ōe Kenzaburō. The researcher believes that by analyzing binary opposition in this novel, deeper understanding of the meaning that the writer wants to communicate to readers will be obtained. More over the pattern of Ōe's writing style will also be analyzed in order to understand his other works. From this study, the researcher find that binary opposition is Ōe Kenzaburō's pattern of writing that appears from the beginning and goes on in many other novels. Even in this first youth novel of Nihyakunen no kodomo, roles, scenes and continuity are all come in comparison style, which is written to empower the marginal groups, and their importance by using the dimension of time.

Share

COinS