Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สถานะทางจริยธรรมของสัตว์ในทัศนะของพุทธศาสนาเถรวาท

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

The moral status of animals in Theravada Buddhist perspective

Year (A.D.)

2010

Document Type

Thesis

First Advisor

สมภาร พรมทา

Faculty/College

Faculty of Arts (คณะอักษรศาสตร์)

Degree Name

อักษรศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

ปรัชญา

DOI

10.58837/CHULA.THE.2010.2112

Abstract

ศึกษาและวิเคราะห์สถานะทางจริยธรรมของสัตว์ในทัศนะของพุทธศาสนาเถรวาท โดยเป็นการวิจัยเชิงเอกสารจากพระไตรปิฎก อรรถกถา หนังสือและบทความที่เกี่ยวข้องกับประเด็นสถานะทางจริยธรรมของสัตว์ จากการศึกษาพบว่า สัตว์ในทัศนะของพุทธศาสนาเถรวาทเป็นสิ่งที่มีสถานะทางจริยธรรม เพราะสัตว์เป็นสิ่งที่มีคุณค่าภายในตัวเอง อันประกอบด้วย (1) คุณค่าจากความสามารถในการกระทำความดี (2) คุณค่าจากความดีที่ได้สั่งสมไว้ในอดีตชาติ และ (3) คุณค่าจากความสามารถในการมีความรู้สึกสุข ทุกข์และรักชีวิต อย่างไรก็ตาม การที่พุทธศาสนาเถรวาทยอมรับว่าสัตว์เป็นสิ่งที่มีสถานะทางจริยธรรมนั้น ทำให้พุทธศาสนาเถรวาทต้องเผชิญกับการท้าทายจากเหตุการณ์ความขัดแย้งทางจริยธรรม ในความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสัตว์หลายเหตุการณ์ เช่น การใช้สัตว์ในพิธีบูชายัญ การอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ การทำปศุสัตว์สำหรับไว้ฆ่ากินเนื้อ การกินเนื้อสัตว์ การใช้สัตว์ทดลองทางวิทยาศาสตร์ เป็นต้น แต่ในวิทยานิพนธ์นี้จะพิจารณาเฉพาะเรื่องการกินเนื้อสัตว์และการใช้สัตว์ทดลองทางวิทยาศาสตร์เท่านั้น จากการอภิปรายเหตุการณ์ดังกล่าวพบว่า แม้พุทธศาสนาเถรวาทจะยอมรับให้มีการกินเนื้อสัตว์และการใช้สัตว์ทดลองทางวิทยาศาสตร์ แต่การกระทำเหล่านั้นก็ยังตั้งอยู่บนพื้นฐานของการคำนึงถึงคุณค่าภายในตัวเองของสัตว์ อย่างไรก็ตาม ด้วยท่าทีของพุทธศาสนาเถรวาทที่มีต่อเหตุการณ์ดังกล่าว ทำให้เห็นว่าแม้สัตว์ในทัศนะของพุทธศาสนาเถรวาทจะเป็นสิ่งที่มีสถานะทางจริยธรรม แต่สัตว์ก็ไม่ได้มีคุณค่าภายในตัวเองเท่าเทียมกับมนุษย์

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

To study the moral status of animals in Theravada Buddhist philosophy by studying from Tripitaka, Buddhist commentaries, books and articles on the moral status of animals. It is found that animals has moral status in Theravada Buddhist perspective because animals has three intrinsic values; (1) the moral capability, (2) the accumulative moral values from past lives, (3) the sentimental ability ; happiness, suffering and love of its life. However, Theravada Buddhism has to face the moral contradictions of the relationship between human and animals such as animals sacrifice, animals preservation, factory farming, meat-eating, animal experimentation. This research focuses on two cases which are meat-eating and animal experimentation. It is found that although Theravada Buddhist philosophy allows meat-eating and animal experimentation, all this actions are based on the awareness of the intrinsic values of animals. However, the Theravada Buddhism’s attitudes on these issues denote that though animals has a moral status, the value of animals is not the same as those human being’s.

Share

COinS