Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
กระบวนการกลายเป็นอัตวิสัยของคำกริยา "เห็น" ในภาษาไทย
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Subjectification of the verb Hen in Thai
Year (A.D.)
2009
Document Type
Thesis
First Advisor
กิ่งกาญจน์ เทพกาญจนา
Faculty/College
Faculty of Arts (คณะอักษรศาสตร์)
Degree Name
อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
ภาษาศาสตร์
DOI
10.58837/CHULA.THE.2009.2053
Abstract
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การกลายเป็น “คำบ่งชี้หน้าที่ทางวัจน-ปฏิบัติ" ของคำว่า “เห็น" การทำหน้าที่บ่งชี้ทางวัจนปฏิบัติคือความหมายไวยากรณ์ประเภท หนึ่ง (Brinton1996; Traugott 1997; Dasher and Traugott 2002) จากการศึกษาพบว่าคำกริยา “เห็น" ที่แสดงหน้าที่เป็นคำไวยากรณ์จะปรากฏอยู่ใน บริบทเฉพาะ 3 บริบท ได้แก่ 1) “เห็น" ปรากฏหน้าอนุพากย์แสดงการคัดลอกถ้อยความ 2) “เห็น" ปรากฏร่วมกับคำแสดงปฏิเสธ “ไม่" 3) “เห็น" ปรากฏร่วมกับคำสัมพันธกริยา “เป็น" และ “ได้แก่" คำว่า “เห็น" ที่ปรากฏในบริบทเฉพาะทั้งสามบริบทนี้แสดงความหมายทาง ไวยากรณ์เนื่องจาก “เห็น" ไม่ใช่คำกริยาหลัก กล่าวคือไม่ได้แสดงเหตุการณ์หลักของประโยค แต่แสดงข้อมูลเพิ่มเติมบางอย่าง โดยพบว่าคำว่า “เห็น" สามารถปรากฏแบบละได้ในทุก ประโยคที่ปรากฏในสามบริบทนี้ “เห็น" แสดงหน้าที่ทางวัจนปฏิบัติศาสตร์ที่เรียกว่า “คำแสดง การลดทอนน้ำเสียง" ได้แก่คำที่ใช้ลดทอนระดับน้ำเสียงแสดงความมั่นใจ และการยืนยัน ความถูกต้องที่มีต่อถ้อยความ ความหมายทางวัจนปฏิบัติที่แสดงโดยคำว่า “เห็น" นี้เกี่ยวข้อง กับมโนทัศน์เรื่องอัตวิสัยที่เสนอโดยแลงแอคเคอร์ (Langacker 1985; 1991; 1999; 2006) เนื่องจากคำว่า “เห็น" ทำให้เกิดการมองภาพเหตุการณ์ในลักษณะที่เรียกว่า “การมองภาพ เหตุการณ์แบบผู้พูดมีส่วนร่วม" สถานะของเหตุการณ์ที่ถูกมองผ่านคำว่า “เห็น" นี้มีสถานะ เป็นอัตวิสัยมากขึ้นเนื่องจากถูกมองผ่านมุมมองในฐานะผู้มีส่วนร่วมต่อเหตุการณ์ของผู้พูด ดังนั้น สถานะของเหตุการณ์สามารถตัดสินถูกผิดได้ภายใต้ขอบเขตมุมมองของผู้พูดเท่านั้น การกลายเป็นคำไวยากรณ์ของคำว่า “เห็น" นี้เป็นผลจากกระบวนการที่เรียกว่า “การลดเลือน และโปร่งใสของความหมาย" กล่าวคือความหมายของคำว่า “เห็น" เจือจางลงและสูญเสีย ความหมายต้นแบบไปจนหมดสิ้น
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
This study examines the development of the verb hěn meaning ‘see’ into a pragmatic marker, which is generally considered one product of grammaticalization (Brinton1996; Traugott 1997; Dasher and Traugott 2002). It is found that hěn which exhibits this grammatical function occurs in three syntactic contexts: 1) hěn precedes a quotative clause 2) hěn co-occurs with the negative word mâj 3) hěn cooccurs with the copula verbs pen and dâjkὲε.The meaning of the verb hěn in these three actual contexts is obviously grammatical as it does not constitute a semantic core but extra information. Furthermore, it is optional in every afore-mentioned context. Hěn functions as one of mitigating devices that softens the assertive force or degree of commitment towards the proposition. Hěn in these three syntactic contexts also exhibits a certain degree of subjectivity in Langacker’s sense (1985, 1991, 1999, 2006)in that hěn construes the speaker as being a part of the events, which results in an ego-centric viewing arrangement in which the speaker/ conceptualizer remains inside its scope of predication. The potency of actual events becomes more subjective as being judged according to the speaker’s very own visual perception. The grammaticalization of hěn results from the process of attenuation and transparency in which a large part of the basic meaning of hěn has disappeared
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
วงษ์ตะวัน, ปริญญา, "กระบวนการกลายเป็นอัตวิสัยของคำกริยา "เห็น" ในภาษาไทย" (2009). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 25319.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/25319