Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
การศึกษากระบวนการบริหารงานของภาควิชา : การศึกษาเฉพาะกรณีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Departmental administration process : a case study of Chulalongkorn University
Year (A.D.)
1996
Document Type
Thesis
First Advisor
สุชาติ ตันธนะเดชา
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
อุดมศึกษา
DOI
10.58837/CHULA.THE.1996.684
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการบริหารงานของภาควิชา ปัญหาอุปสรรคในกระบวนการบริหารงานของภาควิชา และนำเสนอแนวทางในการบริหารงานของภาควิชา ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผลการวิจัยพบว่า ภาควิชามีการปฏิบัติกิจกรรมในด้านการวางแผน การจัดองค์การ การเป็นผู้นำ และ การควบคุม ในระดับบางครั้ง เมื่อจำแนกตามกลุ่มสาขาวิชามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในด้านการเป็นผู้นำ เมื่อจำแนกในแต่ละด้าน มีข้อค้นพบดังนี้ 1. ด้านการวางแผน กิจกรรมที่มีการปฏิบัติในระดับประจำคือ จัดประชุมสัมมนาอาจารย์เพื่อจัดทำแผนของภาควิชา กิจกรรมนอกนั้นปฏิบัติในระดับบางครั้ง เมื่อจำแนกเป็นกลุ่มสาขาวิชาไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยทุกกลุ่มสาขาวิชามีการจัดประชุมสัมมนาอาจารย์เพื่อจัดทำแผนของภาควิชาในระดับประจำ เว้นแต่ในสาขาสังคมศาสตร์ที่ปฏิบัติอยู่ในระดับบางครั้ง ปัญหาอุปสรรคที่สำคัญในการวางแผน ได้แก่ การมีส่วนร่วม ของอาจารย์ เวลาที่ใช้ในการจัดทำแผน และความรู้ความเข้าใจในหลักวิชาการวางแผน 2. ด้านการจัดองค์การ กิจกรรมที่มีการปฏิบัติในระดับประจำคือ ประชุมเพื่อมอบหมายงานของภาควิชา ให้อาจารย์ปฏิบัติกิจกรรมนอกนั้นปฏิบัติในระดับบางครั้ง เมื่อจำแนกเป็นกลุ่มสาขาวิชามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในเรื่องจัดประชุมหารือในการกำหนดคุณวุฒิคุณสมบัติ สรรหาและคัดเลือกอาจารย์ใหม่ ปัญหาอุปสรรคที่สำคัญในด้านนี้คือ อัตรากำลังคน งบประมาณ และความรับผิดชอบของอาจารย์|3. ด้านการเป็นผู้นำ กิจกรรมที่มีการปฏิบัติในระดับประจำคือ จัดหาเครื่องมือ อุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการเรียนการสอนและการวิจัย กิจกรรมนอกนั้นปฏิบัติในระดับบางครั้ง เมื่อจำแนกตามกลุ่มสาขาวิชามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในเรื่อง เสนอแนะ/จัดหาแหล่งทุน สนับสนุนการทำวิจัยของอาจารย์ และ จัดประชุมสัมมนาทางวิชาการในระดับชาติหรือนานาชาติ และแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ใน เรื่องจัดหาเครื่องมืออุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการเรียนการสอนและการวิจัย ปัญหาอุปสรรคที่สำคัญในด้านนี้คือสิ่งจูงใจในการทำงานของอาจารย์ สภาพแวดล้อมและสถานที่ทำงานของอาจารย์ และระเบียบข้อบังคับทางราชการ 4. ด้านการควบคุม มีการปฏิบัติอยู่ในระดับบางครั้งทุกกิจกรรม เมื่อจำแนกตามกลุ่มสาขาวิชามีการปฏิบัติแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในเรื่อง จัดทำประมวลรายวิชาจัดเก็บไว้ทุกภาคการศึกษา โดยที่กลุ่มสาขามนุษยศาสตร์เท่านั้นที่ปฏิบัติในระดับประจำ ปัญหาอุปสรรคที่สำคัญในด้านนี้คือ การยอมรับการประเมินการสอนของอาจารย์ ความร่วมมือในการให้ข้อมูลผลงานของอาจารย์ ระบบข้อมูลในการบริหารและวิชาการของภาควิชา
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
This purpose of this study were to study of departmental administration process, to study of problems of departmental administration process and to present the direction of departmental administration process at Chulalongkorn University. The results indicated that the departments of Chulalongkorn University had occasionally performed the activities in aspects of planning, organizing, leading and controlling. When classified into four academic areas, there was significantly different at 0.05 level in “the leading". The results of each aspect found that: 1. Planning : the activity was regularly performed, it has only faculty seminar for planning of department, the others were occasionally performed. When classified into four academic areas, there was no statistically different in all the activities. Three academic areas had regularly performed in the faculty seminar for planning of department except Social Science had occasionally performed. The most important problem of planning were the instructors’ participation, the time period used in planning, knowledge and understanding in planning. 2. Organizing : the activity was regular)' performed, it had only the meeting for instructor assignment. The rest were occasionally performed. When classified into four academic areas, there was significantly different at 0.05 level in the meeting for determine faculty qualification, recruitment and faculty selection. The most important problem of organizing were man power, budget and instructor’s responsibilities. 3. Leading : the activity was regularly performed, it had only provided material for learning teaching and research. The rest were occasionally performed. When classified into four academic areas, there were significantly different at 0.05 level in the recommendation and fund raising, promoting faculty research and the national/international conference. And there was significantly different at 0.01 level in the providing material for learning-teaching and research. The most important problem of leading were job’s motivation, environment and office of instructor and government rules and regulations. 4. Controlling : all of the activities were occasionally performed. When classified into four academic areas, there was significantly different at 0.05 level in accomplishing course syllabus for every semester. Humanity has regularly performed. The most important problem of controlling were the acceptance for instructor evaluation, instructor co-operation, administration and academic data system of department.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
พิมพาภรณ์, รพีพรรณ, "การศึกษากระบวนการบริหารงานของภาควิชา : การศึกษาเฉพาะกรณีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" (1996). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 25021.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/25021