Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ระดับสังกะสีและทองแดงในซีรัมของบุคคลทั่วไปและผู้ป่วย ในโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช พอ.

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Serum zinc and copper concentration in normal subjects and patients in Bhumibol Adulyadej Hospital

Year (A.D.)

1996

Document Type

Thesis

First Advisor

อรอนงค์ กังสดาลอำไพ

Second Advisor

ชูพันธ์ ขาญสมร

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

อาหารเคมีและโภชนศาสตร์ทางการแพทย์

DOI

10.58837/CHULA.THE.1996.61

Abstract

สังกะสีและทองแดงเป็นแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกายในปริมาณเล็กน้อย การศึกษานี้ได้วัดระดับสังกะสีและทองแดงในซีรัมของคนปกติ 100 คน และผู้ป่วยในโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช พอ. ที่ได้รับอาหารผ่านทางเดินอาหารสูตรปั่นผสม 19 คน และผู้ป่วยที่ได้รับอาหารทั้งหมดทางหลอดเลือดดำ 8 คน ผลการวัดปริมาณสังกะสีและทองแดงในซีรัมโดยใช้เครื่องสเปกโทรโฟโตมิเตอร์วัดการดูดกลืนแสงโดยอะตอม พบว่าระดับสังกะสีและทองแดงในซีรัมคนปกติเป็น 93.93±10.56 และ 104.59±14.54 ไมโครกรัม ต่อเดซิลิตร ตามลำดับ ในผู้ป่วยที่ได้รับอาหารทางสายให้อาหารพบว่าก่อนให้มีระดับสังกะสีและทองแดง เป็น 80.46±13.34 และ 98.78±17.07 ไมโครกรัมต่อเดซิลิตร ตามลำดับ และหลังจากได้รับอาหารทางสาย ให้อาหาร 7 วัน มีระดับสังกะสีและทองแดงเป็น 85.78±15.26 และ 107.67±15.70 ไมโครกรัมต่อเดซิลิตร ตามลำดับ ส่วนผู้ป่วยก่อนได้รับอาหารทั้งหมดทางหลอดเลือดดำมีระดับสังกะสีและทองแดงเป็น 89.17±10.72 และ 95.86±17.49 ไมโครกรัมต่อเดซิลิตร ตามลำดับ และหลังจากได้รับอาหารทั้งหมดทาง หลอดเลือดดำ 7 วัน มีระดับสังกะสีและทองแดงเป็น 96.87±12.64 และ 100.83±14.91 ไมโครกรัมต่อ เดซิลิตรตามลำดับ ผลการให้อาหาร สำหรับผู้ป่วยที่ได้รับอาหารทางสายให้อาหาร มีการเพิ่มขึ้นของระดับสังกะสี ในซีรัมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 แต่ระดับทองแดงไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนผู้ป่วยที่ได้รับอาหารทั้งหมดทางหลอดเลือดดำนั้นมีระดับสังกะสีและทองแดงเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

Zinc and copper are essential trace elements. This study determined serum zinc and copper levels in 100 healthy adults, in 19 patients receiving enteral nutrition (blenderized formular) and in 8 patients receiving total parenteral nutrition (TPN). Serum zinc and copper concentration were determined by atomic absorption spectrophotometry (AAS). It was found that serum zinc and copper levels in healthy adults were 93.93±10.56 and 104.59±14.54 µg/dL, respectively. Before receiving enteral nutrition serum zinc and copper levels in patients were 80.46±13.34 and 98.78±17.07 µg/dL. Seven days after receiving the enteral nutrition, their levels were 85.78±15.26 and 107.67±15.70 µg/dL, respectively. Before receiving TPN, serum zinc and copper levels in patients were 89.17±1 cp.72 and 95.86±17.49 µg/dL, respectively. After 7 days of the TPN, serum zinc and copper levels were 96.87±12.64 and 100.83±14.91 µg/dL, respectively. The study showed that serum zinc levels increased significantly in patients receiving! enteral nutrition (p<0.05) but serum coppe concentration was not change significantly compared with pretreatment. Serum zinc and copper increased significantly in patients Receiving TPN (p<0.05).

Share

COinS