Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
ผลของการรับประทานกรดอะมิโนโซ่กิ่งต่อการทดสอบสมรรถภาพ ของตับในผู้ป่วยโรคตับแข็ง
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Effect of enteral branched-chain amino acid on liver function tests in cirrhotic patients
Year (A.D.)
1996
Document Type
Thesis
First Advisor
สัจพันธ์ อิศรเสนา
Second Advisor
วโรชา มหาชัย
Third Advisor
สุพีชา วิทยเลิศปัญญา
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
อายุรศาสตร์
DOI
10.58837/CHULA.THE.1996.1608
Abstract
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาว่าการให้อาหารที่มีกรดอะมิโนโซ่กิ่งจะทำให้การทำงานของตับในผู้ป่วยตับแข็งดีขึ้นหรือไม่วิธีการวิจัย ผู้ป่วยโรคตับแข็งที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน และไม่มีข้อห้ามต่อการใช้ caffeine จะถูกแบ่งตาม Child - Pugh classification เป็น Child A, B และ C จากนั้นจะแบ่งเป็น 2 กลุ่ม โดยวิธีการลุ่ม กลุ่มที่ 1 จะได้รับ อาหารที่มีโปรตีน 40 กรัมร่วมกับอาหารที่มีกรดอะมิโนโซ่กิ่งจำนวน 150 กรัม (ซึ่งประกอบด้วยโปรตีน 40 กรัม) ต่อวัน และวิตามินบีรวมวันละ 3 เม็ด เป็นเวลา 4 สัปดาห์ กลุ่มที่ 2 จะได้รับอาหารที่มีโปรตีน 80 กรัมต่อวัน และวิตามินบี รวมวันละ 3 เม็ดเป็นเวลา 4 สัปดาห์ผลการวิจัย ผู้ป่วยโรคตับแข็งที่ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมการวิจัยมีทั้งหมด 30 ราย แบ่งเป็นกลุ่มละ 15 ราย เมื่อติดตามจนครบ 4 สัปดาห์พบว่าผู้ปวยกลุ่มที่ 1 มีการทำงานของตับดีขึ้น โดยเฉพาะ quantitative liver function test คือ caffeine clearance (p < 0.05) และภาวะทางโภชนาการดูจาก serum transferrin ดีขึ้น (p <0.05) ส่วนผู้ป่วยกลุ่มที่ 2 พบว่าผลการทำงานของตับและภาวะโภชนาการดีขึ้น เฉพาะผู้ป่วย Child class A. สรุป การให้อาหารที่มีภรดอะมิโนโซ่กิ่ง ในผู้ป่วยโรคตับแข็ง จะทำให้การทำงานของตับ โดยเฉพาะ caffeine clearance และภาวะโภชนาการของผู้ป่วยดีขึ้น ส่วนการให้อาหารที่มีโปรตีนสูงอย่างเดียวจะทำให้การทำงานของตับ และภาวะโภชนาการดีขึ้นเฉพาะในผู้ป่วย Child class A
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
Objective To study the efficacy of branched-chain amino acid on liver function tests in cirrhotic patients. Method Cirrhotic patients without complications and contraindications to use of caffeine, were classified according to Child-Pugh classification into Child A, B and C and then randomly assigned to receive either protein diet 40 g/d with branched-chain amino acid 150 g (containing 40 gram protein) per day and vitamin B complex 3 tabs/d for 4 weeks (group 1) or protein diet 80 g/d and vitamin B complex 3 tabs/d for 4 weeks (group 2) Result There were altogether 30 cirrhotic selected to participate in the project, 15 patients in each group. At the end of the study 5 in group 1 there was improvement of liver functions esp. caffeine clearance (P<0.05) and improvement of nutrition as assessed by serum transferrin (P<0.05), and in group 2, improvement of liver functions and nutrition were observed only in Child class A patients. Summary Branched - chain amino acid improved liver functions esp. caffeine clearance and nutrition in cirrhotic patients. High protein diet alone improved liver functions and nutrition only in Child class A.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
อริยวงศ์โสภณ, วิไลลักษณ์, "ผลของการรับประทานกรดอะมิโนโซ่กิ่งต่อการทดสอบสมรรถภาพ ของตับในผู้ป่วยโรคตับแข็ง" (1996). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 24987.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/24987