Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
ผลของการสอนโดยวิธีการสังเกตที่มีต่อการรับรู้ทางศิลปะของเด็กอายุ 4 ถึง 6 ปี
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Effects of observation teaching technique on art perception of four to six years old children
Year (A.D.)
1996
Document Type
Thesis
First Advisor
อำไพ ตีรณสาร
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
ศิลปศึกษา
DOI
10.58837/CHULA.THE.1996.633
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการสอนโดยวิธีการสังเกตที่มีต่อการรับรู้ทางศิลปะ ของเด็กอายุ 4 ถึง 6 ปี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1.) แผนการสอนโดยวิธีการสังเกตที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจำนวน 8 แผน โดยมีเนื้อหาทางองค์ประกอบเบื้องต้นทางศิลปะ ได้แก่ รูปร่างรูปทรง สี ลักษณะพื้นผิว ขนาดและสัดส่วน ระยะใกล้ใกล้ และความสัมพันธ์ของรูปภาพและพื้นหลัง 2.) แบบทดสอบการรับรู้ ทางศิลปะระดับอนุบาลที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ซึ่งครอบคลุมเนื้อหาตามแผนการสอน ตัวอย่างประชากร คือนักเรียนชายจำนวน 15 คน และนักเรียนหญิง 15 คน จากชั้นอนุบาล 2 จาก โรงเรียนอนุบาลวัดนางนอน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ซึ่งได้จาก การสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง การดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยได้ทดสอบการรับรู้ทางศิลปะของกล่มตัวอย่าง ก่อนการเรียนหลังจากนั้นได้ทำการสอนกลุ่มตัวอย่างตามแผนการสอนโดยวิธีสังเกตที่สร้างขึ้น โดย ดำเนินการสอนด้วยตนเอง สัปดาห์ละ 3 วัน เป็นเวลา 4 สัปดาห์ แล้วให้กลุ่มตัวอย่างทำแบบทดสอบชุดเดิมอีกครั้งภายหลังการสอน นำคะแนนที่ได้จากการทดสอบทั้ง 2 ครั้ง มาเปรียบเทียบเพื่อศึกษาผล ของการสอนโดยวิธีการสังเกตที่มีต่อการรับรู้ทางศิลปะ โดยการทดสอบค่า ( t-test ) ผลการวิจัยพบว่า คะแนนการรับรู้ทางศิลปะหลังการเรียนสูงกว่าก่อนการ เรียน สิ่งแสดงให้เห็นว่าการสอนโดยวิธีสังเกตช่วยส่งเสริมการรับรู้ทางศิลปะของนักเรียน ชั้นอนุบาล 2 ให้พัฒนาสูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The purpose of this research was to study effects of observation technique on art perception of four to six years old children. The instruments used in this research were constructed by the research which included l.) Eight lesson plans. The content concerned with art composition which included shape and form, colour, texture, size and proportion, distance and relationship between picture and background. 2.) Ar t perception test based on the topics in the lesson plans. Sampling group of the population included 15 boys and 15 girls from Wat Nang-Nong kinder garten school, Bangkok. These students was selected by purposive sampling. This thesis has 2 steps, the first was testing before observation teaching, after that] the researcher used the lesson plans 3 days a week for 4 weeks. The last was post testing with the same exercise. The scores of I both test then were compared the statistical significant by using t - test. The result of this research indicated that the art perception scores after learning were higher than before learning. This finding showed that observation teaching technique could develope four to six years old children art perception at the level of 0.05
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
บุญยะฤทธิ์, เสาวนีย์, "ผลของการสอนโดยวิธีการสังเกตที่มีต่อการรับรู้ทางศิลปะของเด็กอายุ 4 ถึง 6 ปี" (1996). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 24848.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/24848