Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
การพยากรณ์ความต้องการของแม่พิมพ์ด้วยวิธีเศรษฐมิติ เพื่อการตัดสินใจในการกำหนดลักษณะโรงงาน
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Econometric forecasting of moulds and dies for decision making in plant requirement
Year (A.D.)
1996
Document Type
Thesis
First Advisor
สุทัศน์ รัตนเกื้อกังวาน
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
วิศวกรรมอุตสาหการ
DOI
10.58837/CHULA.THE.1996.1919
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพยากรณ์ความต้องการของแม่พิมพ์โดยใช้แบบจำลอง เศรษฐมิติในการตัดสินใจกำหนดลักษณะโรงงาน ในการพยากรณ์ความต้องการแม่พิมพ์นั้น พยากรณ์จากความต้องการของอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมเครื่องใช้ฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมอุปกรณ์สำนักงาน อัตโนมัติ อุตสาหกรรมรองเท้า อุตสาหกรรมของเด็กเล่น และอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ โดย อุตสาหกรรมเหล่านี้มีอัตราการขยายตัวของมูลค่านำเข้าและมูลคาส่งออกโดยเฉลี่ยระหว่างปีพ.ศ. 2523 - 2536 สูงกว่าร้อยละ 25 และร้อยละ 35 ตามลำดับ และความต้องการของอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องเหล่านี้มีตัวแปรปัจจัยทางเศรษฐกิจ เบื้องต้น ได้แก่ มูลค่าผลิตภัณฑ์ของประเทศเบื้องต้น (GDP) มูลค่าการลงทุนในประเทศ (GDI) ค่าใช้จ่ายในการอุปโภคบริโภคภายในประเทศ (CONEP) อัตราการเจริญเติบโตของการผลิตนอกภาคการเกษตร (NAGR) มูลค่าส่งออก (EXP) และอัตราแลกเปลี่ยนเงิน (ดอลลาร์สหรัฐอเมริกา) (RATE) เป็นตัวแปรอิสระ เหตุผลที่เลือกตัวแปรเหล่านี้เพราะเป็นตัวแปรที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจและมีมูลค่าสูง
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
ผลการวิจัยพบว่าอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ (MODIE) ได้แก่ อุตสาหกรรม ยานยนต์ (CAR) อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (ELECT) และอุตสาหกรรมรองเท้า (FOOT) โดย มีสมการแสดงความสัมพันธ์ดังนี้ MODIE = - 356.8053 + 0.0255 CAR + 0.0390 ELECT + 0.1488 FOOT In (CAR) = - 1.4749 + 1.3607 In (GDI) + 0.3567 In (NAGR) - 2.1184 In (RATE) In (ELECT) = - 25.8066 + 2.2295 In (CONEP) + 1.4615 In (RATE) In (FOOT) = - 1 1.0752 + 1.5008 In (EXP) + 0.4501 In (NAGR) จากผลการวิเคราะห์ทางเศรษฐมิติและการเปรียบเทียบมูลค่าความต้องการกับมูลค่าการผลิตพบว่า การผลิตแม่พิมพ์ยังไม่เพียงพอกับความต้องการ จึงได้ทำการจัดตั้งโรงงานผลิตแม่พิมพ์ประเภท PRECISION PRESS DIE และ MOLD CAST DIE ที่มีคุณภาพและความแม่นยำสูง เพื่อรองรับอุตสาหกรรมที่คัดเลือกมาดังกล่าว โดยใช้เงินลงทุนทั้งสิ้น 50,460,000 บาท เครื่องมือและเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตส่วนใหญ่เป็นเครื่องเอ็นซี และใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบและผลิต พื้นที่โรงงานเท่ากับ 375 ตารางเมตร และเป็นอาคารสำนักงาน 75 ตารางเมตร|The objective of this research was to forecast moulds and dies by econometric model for decision making in plant requirement. This forecasting of moulds and dies was based on relavant industries such as automobile industry, electrical and electronic appliance industry, office automation supply industry, foot ware industry, toys industry, and packaging industry. The average growth rate of import and export were higher than 25% and 35%, during the year 1980-1993. The relavant industries were related to basic economic variables such as Gross Domestic Product (GDP), Gross Domestic Investment (GDI), Consumption Expenditure (CONEP), Growth Rate of Non-Agriculture (NAGR), Export (EXP), and Exchange Rate (USD) (RATE) that are important and large value in economic. The research showed that the related moulds and dies industry (MODIE) were automobile industry (CAR), electrical and electronic appliance industry (ELECT), and foot ware industry (FOOT). It was found that the relation of various equations are as follow: MODIE = - 356.8053 + 0.0255 CAR + 0.0390 ELECT + 0.1488 FOOT In (CAR) = - 1.4749 + 1.3607 In (GDI) + 0.3567 In (NAGR) - 2.1184 In (RATE) In (ELECT) = - 25.8066 + 2.2295 In (CONEP) + 1.4615 In (RATE) In (FOOT) = - 11.0752 + 1.5008 In (EXP) + 0.4501 In (NAGR) Analysis result from econometrics and comparison between demand and production indicated characteristic of moulds and dies manufacturing by Precision Press Die and Mold Cast Die method having high quality and precision with investment cost of 50,460,000 Baht. Most machines and equipments were NC and utilized computer for design and manufacture. Working space within the plant and office building are 375 and 75 square metres respectively.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
พิทยประเสริฐกุล, ลดาวัลย์, "การพยากรณ์ความต้องการของแม่พิมพ์ด้วยวิธีเศรษฐมิติ เพื่อการตัดสินใจในการกำหนดลักษณะโรงงาน" (1996). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 24831.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/24831