Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การเพิ่มประสิทธิภาพของระบบแอกทิเวเต็ดสลัดจ์ในการกำจัดน้ำเสีย จากโรงงานฟอกย้อมด้วยการเติมผงถ่านกัมมันต์

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Enhancement of activated sludge system for textile waste treatment by addition of powder activated carbon

Year (A.D.)

1996

Document Type

Thesis

First Advisor

มั่นสิน ตัณฑุลเวศม์

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม

DOI

10.58837/CHULA.THE.1996.1824

Abstract

งานวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาถึงอิทธิพลของผงถ่านกัมมันต์ ที่มีต่อประสิทธิภาพการทำงานของระบบแอกทิเวเต็ดสลัดจ์ โดยใช้น้ำเสียจริงที่มีสีรีแอกทีฟเป็นส่วนใหญ่จากโรงฟอกย้อมผ้าและด้ายฝ้าย น้ำเสียดังกล่าวมีค่าซีโอดีอยู่ในช่วง 229-280 มก./ล. มีค่าสีอยู่ในช่วง 89-122 Su. จากการทดลองพบว่า เมื่อเติมผงถ่านกัมมันต์ที่มีความเข้มข้น 0, 25, 50, 100, 150 และ 215 มก./ล. ลงในระบบแอกวิเวเต็ดสลัดจ์ที่มี เวลากักน้ำ และ ค่าอายุตะกอน เท่ากับ 1 และ 7 วัน ตามลำดับ จะมีค่า MLSS เฉลี่ย ในถังเติมอากาศเท่ากับ 374, 527, 699, 1090, 1506 และ 1729 มก./ล. และมีค่า SVI. เฉลี่ยเท่ากับ 47, 58, 58, 33, 30 และ 33 มล./ก. ตามลำดับ ผลการบำบัดปรากฏว่าน้ำทิ้งมีค่าซีโอดีเฉลี่ยเท่ากับ 72, 60, 60, 58, 53 และ 39 มก./ล. ตามลำดับ และมีสีเข้มข้นเฉลี่ยเท่ากับ 80, 69, 59, 45, 32 และ 35 Su. ตามลำดับ ประสิทธิภาพในการกำจัดซีโอดีเฉลี่ย เท่ากับ 70, 74, 74, 79, 81 และ 84% ตามลำดับ และประสิทธิภาพในการกำจัดสีเฉลี่ยเท่ากับ 18, 26, 37, 50, 64 และ 68% ตามลำดับ ผลการทดลองแสดงได้ว่า ผงถ่านกัมมันต์สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการกำจัดสีของระบบแอกทิเวเต็ดสลัดจ์ได้ย่างชัดเจนและทำให้สลัดจ์ของระบบแอกทิเวเต็ดสลัดจ์ตกตะกอนได้ดีขึ้น แต่ไม่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการกำจัด ซีโอดีได้มากนัก ผลการทดลองยังแสดงอีกว่า ระบบแอกทิเวเต็ดสลัดจ์ธรรมดาสามารถกำจัดซีโอดีให้เหลือต่ำกว่ามาตรฐานของกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมที่กำหนดไว้ที่ 120 มก./ล.ได้ แต่สามารถกำจัดสี จากความเข้มข้นสีประมาณ 100 Su. แต่ต้องเสียค่าใช้จ่ายของผงถ่านกัมมันต์ที่ต้องเติมในระบบแอดทิเวเต็ดสลัดจ์ประมาณ 8 บาท/ม3 ยิ่งไปกว่านั้นสลัดจ์ที่เกิดขึ้นในระบบแพคท์ยังมีค่ามากกว่าสลัดจ์ในระบบแอกทิเวเต็ดสลัดจ์ถึง 4.5 เท่า

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

The purpose of this study is to investigate the effects of PAC upon the enhancement of AS for textile waste treatment. The wastewater from the cotton fabric and thread dyeing plant containing mostly reactive dyes was used, having COD concentration between 229-280 mg/l color between 89-122 Su. The PAC doses of 0, 25, 50, 100, 150 and 215 mg/l were studied in the AS system which were operated at a hydraulic retention time and a sludge retention time of 1 day and 7 days respectively. The average MLSS in the aeration tank were 374, 527, 699, 1090, 1506 and 1729 mg/l and the average SVI were found to be 47, 58, 58, 33, 30 and 33 ml/g respectively. The average effluent COD were found to be 72, 60, 60, 58, 53 and 39 mg/l respectively; and the effluent color of 80, 69, 59, 45, 32, and 35 Su respectively, were obtained. The average COD removal were 70, 74, 74, 79, 81 and 84 % respectively, and the cooler removal of 18, 26, 37, 50, 64 and 68% respectively, were obtained. This experiment clearly showed that the addition of PAC to the AS system significantly increased the cooler removal efficiency and improved the settle ability of sludge but could only slightly increase the COD removal efficiency. According to the experiments, the AS process alone was found to remove COD below the effluent standard, issued by the Ministry of Science, Technology and Environment, of 120 mg/l but was able to remove the color approx. from 100 Su to 80 Su. The PACT system was found to remove the cooler down to approx. 30 Su at the PAC dose of 200 mg/l but the cost of this PAC dosage was about 8 baht/m3. Furthermore, about 4.5 times of sludge was produce from the PACT system more than the AS system.

Share

COinS