Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาประโยคความซ้อนที่ใช้ "ที่ ซึ่ง อัน" ตามแนวภาษาศาสตร์คอมพิวเตอร์ในเรียงความชนะเลิศรางวัลทุนภูมิพล พ.ศ. 2522-2547

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

A computational linguistic study of complex sentences using /thîi sûŋ ?an/ in King Bhumiphol's scholarship award first prize essays 1979-2004

Year (A.D.)

2007

Document Type

Thesis

First Advisor

สุนันท์ อัญชลีนุกูล

Second Advisor

กฤษณ์ โกสวัสดิ์

Faculty/College

Faculty of Arts (คณะอักษรศาสตร์)

Degree Name

อักษรศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

ภาษาไทย

DOI

10.58837/CHULA.THE.2007.1887

Abstract

วิทยานิพนธ์เล่มนี้มีจุดมุ่งหมายสำคัญ 2 ประการ คือ 1) ศึกษาประโยคความซ้อนที่ใช้ “ที่ ซึ่ง อัน" แนวภาษาศาสตร์คอมพิวเตอร์ในเรียงความชนะเลิศรางวัลทุนภูมิพล พ.ศ. 2522-2547 และ 2) ประยุกต์ผลการศึกษาเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถบอกขอบเขตของประโยคความซ้อนได้ ผลการศึกษาพบว่า ประโยคความซ้อนที่ใช้ “ที่ ซึ่ง อัน" ในเรียงความชนะเลิศรางวัลทุนภูมิพล พ.ศ. 2522-2547 ใช้คำว่า “ที่" เป็นคำชนิดต่างๆ 9 ชนิด ได้แก่ ประพันธสรรพนาม คำเชื่อมอนุพากย์เติมเต็มนาม คำเชื่อมอนุพากย์เติมเต็มกริยา คำบุพบท ส่วนหนึ่งของคำนามประสม ส่วนหนึ่งของคำเชื่อมข้อความ ส่วนหนึ่งของนามวลีที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า “การ" คำแปลงนาม และส่วนหนึ่งในอนุพากย์บอกเวลา ใช้คำว่า “ซึ่ง" เป็นคำชนิดต่างๆ 4 ชนิด ได้แก่ ประพันธสรรพนาม คำบุพบท คำเชื่อมข้อความ และคำเชื่อมบอกรายละเอียด และใช้คำว่า “อัน" เป็นคำชนิดต่างๆ 4 ชนิด ได้แก่ ประพันธสรรพนาม ส่วนหนึ่งของคำเชื่อมข้อความ คำเชื่อมข้อความ และคำเชื่อมแสดงตัวอย่าง คำว่า “ที่ ซึ่ง อัน" ในอนุพากย์คุณศัพท์ มี 3 หน้าที่ ได้แก่ 1) หน้าที่แทนประธานหลักและเป็นประธานหรือกรรมของอนุพากย์ 2) หน้าที่แทนกรรมตรงและเป็นประธานหรือกรรมของอนุพากย์ และ 3) หน้าที่แทนกรรมรองและหน้าที่ประธานหรือกรรมของอนุพากย์ นอกจากนี้พบว่าอนุพากย์ “ที่ ซึ่ง อัน" สัมพันธ์ทางการขยายความกับประธานหรือกรรมของอนุพากย์ 23 ลักษณะ ในการวิเคราะห์คำแสดงและกรอบการก พบกรอบการก 60 กรอบและคำแสดงจำนวน 574 คำ คำแสดงเหล่านี้อาจจำแนกเป็น 3 ชนิด ได้แก่ คำแสดงชนิดแสดงสภาพ คำแสดงชนิดแสดงอาการ และคำแสดงชนิดแสดงการประสบ และอาจจำแนกคำแสดงตามกลุ่มขององค์ประกอบบังคับได้ 4 กลุ่ม ได้แก่ คำแสดงที่มีองค์ประกอบบังคับ 1 ตัว คำแสดงที่มีองค์ประกอบบังคับ 2 ตัว คำแสดงที่มีองค์ประกอบบังคับ 3 ตัว และคำแสดงที่มีองค์ประกอบบังคับ 4 ตัว สำหรับ ผลการทดสอบการบอกขอบเขตประโยคด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ โปรแกรม Unitex พบค่าความแม่นยำ (Precision) 68 เปอร์เซ็นต์และค่าความครบถ้วน (Recall) 73 เปอร์เซ็นต์

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

The objectives of this study are 1) to analyze the complex sentences which use /thîi/ /su^ŋ/ /Ɂan/ and 2) to apply the results in computer program for bounding the complex sentences. It is found that there are 9 types of /thîi/, 4 types of /su^ŋ/ and /Ɂan/. / thîi/ can be relative pronoun, noun complementizer connector, verb complementizer connector, preposition, a part of compound noun, a part of sentence connector, a part of noun phrases which begin with /การ/ (/kaan/), nominalizer, and a part of time-telling clause. /su^ŋ/ can be relative pronoun, preposition, sentence connector, and connector for telling detail. /Ɂan/ can be relative pronoun, a part of sentence connector, sentence connector, and connector for showing example. /thîi/ /su^ŋ/ and /Ɂan/ have three roles in adjective clause : 1) they are a relative pronoun of the subject in main clause and they are a subject or object of the adjective clause. 2) they are a relative pronoun of the direct object in main clause and they are a subject or object of the adjective clause. 3) they are a relative pronoun of the indirect object in main clause and they are a subject or object of the adjective clause. In logic level analysis, there are 60 case frames and 574 predicates. These predicates can be divided into three kinds : 1) stative predicate 2) active predicate 3) emotive predicate. Moreover, they are divided into four groups by the number of argument 1) the one-argument predicates 2) the two-argument predicates 3) the three-argument predicates 4) the four-argument predicates. The results of bounding the complex sentences by using Unitex program are 68 % and 73 % in terms of precision and recall, respectively.

Share

COinS