Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
กลวิธีการเล่าเรื่องในงานเขียนเชิงประวัติศาสตร์ของหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Narrative techniques in M.R. Kukrit Pramoj's historical literary works
Year (A.D.)
2007
Document Type
Thesis
First Advisor
สุจิตรา จงสถิตย์วัฒนา
Faculty/College
Faculty of Arts (คณะอักษรศาสตร์)
Degree Name
อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
ภาษาไทย
DOI
10.58837/CHULA.THE.2007.1884
Abstract
วิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษากลวิธีการเล่าเรื่องในงานเขียนเชิงประวัติศาสตร์ของหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ปราโมช จำนวน ๖ เรื่อง ประกอบด้วย กฤษฎาภินิหารอันบดบังมิได้ โครงกระดูกในตู้ ฉากญี่ปุ่น พม่าเสียเมือง ฝรั่งศักดินา และยิวเพื่อแสดงให้เห็นว่าผู้เขียนได้ใช้กลวิธีการเล่าเรื่องในการแสดงทัศนคติของผู้เขียนที่มีต่อสิ่งต่าง ๆ และใช้ภาษาที่มีลักษณะอันเป็นเอกลักษณ์ เพื่อส่งเสริมให้งานเขียนดังกล่าวมีความโดดเด่นในฐานะงานที่ให้ ทั้งความรู้และความบันเทิง เมื่อพิจารณากลวิธีการเล่าเรื่อง ผู้วิจัยพบว่าผู้เขียนได้ใช้วิธีการเล่าเรื่องเพื่อให้ความรู้และความเข้าใจ ในการช่วยส่งเสริมความเป็นงานเขียนเชิงวิชาการ ด้วยการให้ความรู้ทางด้านทางประวัติศาสตร์ควบคู่ไปกับ การให้คำศัพท์สำคัญทางประวัติศาสตร์เป็นภาษาต่างประเทศเพื่อประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้าในระดับสูงต่อไป ในขณะเดียวกันผู้อ่านก็สามารถเข้าใจเรื่องราวที่ผู้เขียนต้องการนำเสนอได้ดียิ่งขึ้นจากการเปรียบเทียบเพื่อสร้างเข้าใจของผู้เขียน ผู้เขียนยังได้ใช้กลวิธีการเล่าเรื่องเพื่อสร้างความบันเทิงโดยการสร้างมิติแห่งเรื่องเล่าแทรกไปในเนื้อหาที่ผู้เขียนต้องการนำเสนอได้อย่างกลมกลืนลงตัว ทำให้เรื่องในประวัติศาสตร์ที่เข้าใจยากกลับกลายเป็นเรื่องที่มีความสนุกสนานและน่าอ่านมากยิ่งขึ้น และได้ใช้กลวิธีการเล่าเรื่องเพื่อแสดงทรรศนะโดยวิธีการตั้งข้อสังเกต คาดเดาความคิดของบุคคลในประวัติศาสตร์ ตลอดจนการแสดงทรรศนะเชิงเสียดสีที่ทำให้ผู้อ่านได้รับทั้งความรู้และความบันเทิงไปพร้อมกันทางด้านการใช้ภาษา ผู้วิจัยพบลักษณะเฉพาะทางภาษาในงานเขียน ทั้งการสร้างคำใหม่ การสรรคำ และการเล่นคำและความ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นลักษณะการใช้ภาษาที่สามารถแสดงให้เห็นถึงความเป็นปราชญ์ทางภาษาของผู้เขียนและยังเป็นการแสดงทัศนคติของผู้เขียนที่มีต่อสิ่งต่าง ๆ นอกจากนี้ยังมีการใช้ภาษาพูดที่ช่วยสร้างความบันเทิงใจให้แก่ผู้อ่าน ภาษาในงานเขียนเชิงประวัติศาสตร์ชุดดังกล่าวจึงเป็นภาษาที่สร้างความรู้ ความบันเทิง และแฝงทัศนคติของผู้เขียนไว้อย่างครบถ้วน กลวิธีการเล่าเรื่องและการใช้ภาษาที่มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวในงานเขียนเชิงประวัติศาสตร์ของหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมชสามารถแสดงทัศนคติที่มีสิ่งต่าง ๆ ของผู้เขียน ทั้งยังทำให้งานเขียนชุดดังกล่าวมีความโดดเด่นในฐานะงานเขียนที่ให้ทั้งความรู้และความบันเทิงได้อย่างชัดเจน
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The purpose of this thesis is to study the narrative techniques in M.R.Kukrit Pramoj’s 6 historical literary works, consisting of Krisda Piniharn Un Bodbang Midai, Krong Kradook Nai Tou, Shak Yeepoon, Pama Sia Muang, Farang Sakdina, and Yew, to demonstrate that the author has used the narrative techniques in expressing his attitudes towards various things and the uniqueness of the language used to promote the said set of writing pieces to stand out as the works that give both knowledge and entertainment. About the narrative techniques, the researcher has found that author has used the narrative techniques to give knowledge and understanding in promoting academic writing through historical knowledge together with foreign historical technical terms for future use in more advanced research. In the same time. The readers are able to understand better the stories presented with the comparison in order to create understanding. The author has also used the narrative techniques to entertain by inserting the created narrating dimensions with smoothness in presentation, making the history which is hard to understand become more entertaining and readable. Moreover, the author has used the narrative techniques to demonstrate the attitudes by setting up the way how to make an observation and guess the thoughts of the people in the history, including the way to make sarcasm, giving the readers both knowledge and entertainment. The use of language, the researcher has found the special characteristics of the language in writing, whether it is the coining of new words, the choice of words and the play with words and wording, all of which demonstrate the author’s attitudes towards various things. Besides, there is a use of the spoken language helping entertaining the readers. The language used in the said historical literary works, therefore, is the one that completely gives knowledge, entertainment and the author’s attitudes lurking behind. The uniqueness of M.R.Kukrit Pramoj’s narrative techniques and the use of the language in his historical literary works demonstrate the author’s attitudes towards various things and make the whole set of works outstanding, obviously giving knowledge and entertainment.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
รัตนโภคา, วสันต์, "กลวิธีการเล่าเรื่องในงานเขียนเชิงประวัติศาสตร์ของหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช" (2007). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 24651.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/24651