Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

A comparative study of Chinese and Thai idiomatic expressions as reflecting images of women

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

การศึกษาเปรียบเทียบสำนวนจีนและไทยที่สะท้อนภาพสตรี

Year (A.D.)

2007

Document Type

Thesis

First Advisor

Sasarux Petcherdchoo

Faculty/College

Faculty of Arts (คณะอักษรศาสตร์)

Degree Name

Master of Arts

Degree Level

Master's Degree

Degree Discipline

Chinese as a Foreign Language

DOI

10.58837/CHULA.THE.2007.1926

Abstract

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบสำนวนจีนและสำนวนไทยที่สะท้อนภาพสตรี รวมถึงศึกษาภาพสะท้อนวัฒนธรรมประเพณีของประเทศจีนและไทยที่ปรากฏอยู่ในสำนวนที่เกี่ยวกับสตรี จากการเก็บข้อมูลสำนวนในภาษาจีนจากหนังสือพจนานุกรมสำนวนจีน จำนวน 34 เล่ม และเก็บข้อมูลสำนวนไทยจากหนังสือที่รวบรวมสำนวนภาษาไทยจำนวน 31 เล่ม และนำข้อมูลมาจัดกลุ่มวิเคราะห์ 6 กลุ่ม ได้แก่ รูปลักษณ์ภายนอกของสตรี อุปนิสัยใจคอ ความสัมพันธ์ในครอบครัว ความสัมพันธ์ระหว่างเพศชาย-หญิง วิถีชีวิตความเป็นอยู่ และแนวคิดค่านิยมเกี่ยวกับสตรี โดยพิจารณา 3 ด้าน คือ ด้านบวก ด้านลบ และด้านที่เป็นกลาง โดยพิจารณาความหมายของสำนวนจีนและไทยเป็นเกณฑ์ เนื่องจากความแตกต่างทางลักษณะการดำเนินชีวิตความเป็นอยู่ สภาพแวดล้อม ภูมิประเทศ และพัฒนาการทางวัฒนธรรมของประเทศจีนและไทย ทำให้แนวคิดค่านิยมที่เกี่ยวกับสตรีของคนจีนและคนไทยมีความแตกต่างกัน ผลจากการวิเคราะห์พบว่า สำนวนจีนที่พบมากจะเป็นกลุ่มรูปลักษณ์ภายนอกของสตรี คือร้อยละ 25.44 แต่สำนวนไทยที่พบมากกลับเป็นสำนวนในกลุ่มแนวคิดค่านิยมเกี่ยวกับสตรี คือร้อยละ 29.16 นอกจากนี้ยังพบว่าสำนวนในภาษาจีนที่เกี่ยวกับสตรีมีความหมายด้านบวกมากกว่าด้านลบ คือร้อยละ 64.69 ขณะที่ความหมายของสำนวนในภาษาไทยปรากฏความหมายด้านลบมากกว่าด้านบวก คือร้อยละ 56.25 ผลจากการวิจัยพบว่า ถึงแม้สำนวนที่เกี่ยวกับสตรีระหว่างประเทศจีนและไทยจะมีความแตกต่างกัน แต่ต่างก็ให้ความสำคัญกับสตรีในด้านต่างๆ เหมือนกัน อาทิเช่น ด้านบุคลิกลักษณะ กริยามารยาท ความประพฤติตน การรักนวลสงวนตัว เป็นต้น

Share

COinS