Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

A comparative study of the directional complement "GUO" in Mandarin Chinese and its Thai equivalents

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

การศึกษาเปรียบเทียบคำเสริมกริยาบอกทิศทาง "GUO" ในภาษาจีนกลางกับคำภาษาไทยในลักษณะเดียวกัน

Year (A.D.)

2007

Document Type

Thesis

First Advisor

Jintana Thunwaniwat Barton

Faculty/College

Faculty of Arts (คณะอักษรศาสตร์)

Degree Name

Master of Arts

Degree Level

Master's Degree

Degree Discipline

Chinese as a Foreign Language

DOI

10.58837/CHULA.THE.2007.1924

Abstract

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความหมายและการใช้คำเสริมกิริยาบอกทิศทาง “GUO" ซึ่งรวมถึงคำ“GUOLAI"และ“GUOQU"ด้วย และเพื่อศึกษาเปรียบเทียบความหมายและการใช้คำเสริมกิริยาบอกทิศทาง “GUO" “GUOLAI" และ “GUOQU" กับคำภาษาไทยในลักษณะเดียวกัน ผลการวิจัยพบว่า ความหมายของคำเสริมกิริยาบอกทิศทาง “GUO" “GUOLAI" และ “GUOQU" สามารถแบ่งเป็น ๒ ความหมาย คือ ความหมายโดยตรง และความหมายโดยนัย ส่วนวิธีการใช้พบว่า ก)โครงสร้างประโยคของ “GUO" มี 6 แบบ 1)ส่วนโครงสร้างประโยคของ “GUOLAI" และ “GUOQU" มี 15 แบบ และ 14 แบบตามลำดับ 2)ตำแหน่งบทกรรมของ “GUO" ต้องตามหลังคำเสริมกิริยาเท่านั้น ส่วนตำแหน่งบทกรรมของ “GUOLAI" และ “GUOQU" สามารถวางได้ 3 ตำแหน่งคือ ข้างหน้า ข้างหลัง และ ตรงกลางของคำเสริมกิริยา 3)ตำแหน่งปัจจัย “LE" ของ “GUO" ต้องอยู่หลังคำเสริมกิริยา หรือท้ายประโยคเท่านั้น ส่วนตำแหน่งปัจจัย “LE"ของ “GUOLAI" และ “GUOQU" วางได้ 2 ตำแหน่งคือ ด้านหน้า และหลังของคำเสริมกิริยา 4) การใช้คำเสริมกิริยาบอกทิศทาง “GUO" “GUOLAI" และ “GUOQU" ในโครงสร้างคำเสริมกิริยาบอกความเป็นไปได้ พบทั้งในความหมายโดยตรง และความหมายโดยนัยสำหรับผลการศึกษาเปรียบเทียบคำเสริมกิริยาบอกทิศทาง “GUO" “GUOLAI" และ “GUOQU" กับคำภาษาไทยในลักษณะเดียวกันพบว่า ในด้านความหมาย เมื่อ“GUO" “GUOLAI" และ “GUOQU" แปลเป็นภาษาไทยแล้ว มีลักษณะดังนี้ คือ 1)ภาษาจีนและภาษาไทยใช้คำเสริมกิริยาตรงกัน 2)คำเสริมกิริยาที่ใช้ในภาษาจีนและภาษาไทยไม่ตรงกัน 3)ภาษาจีนใช้คำเสริมกิริยา แต่ภาษาไทยไม่ใช้ ส่วนด้านวิธีการใช้ มีลักษณะดังนี้ 1)โครงสร้างประโยคในภาษาจีนและภาษาไทยมีทั้งความเหมือนและความต่าง 2) ตำแหน่งบทกรรมในภาษาจีนและภาษาไทยเหมือนกัน 3) ปัจจัย “LE" เมื่อปรากฏร่วมกับคำเสริมกิริยาบอกทิศทาง “GUO" “GUOLAI" และ “GUOQU" ในประโยคเดียวกัน ตำแหน่งในภาษาจีนและภาษาไทย มีทั้งความเหมือนและความต่าง 4)การใช้คำเสริมกิริยาบอกทิศทางในโครงสร้างคำเสริมกิริยาบอกความเป็นไปได้ พบทั้งในภาษาจีนและภาษาไทย แต่โครงสร้างต่างกัน

Share

COinS