Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
A comparative study of the meanings of words and idiomatic expressions relating to colors in Chinese and Thai languages
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
การศึกษาเปรียบเทียบความหมายของคำและสำนวนที่เกี่ยวกับสีในภาษาจีนและภาษาไทย
Year (A.D.)
2007
Document Type
Thesis
First Advisor
Suree Choonharuangdej
Second Advisor
Peng, Zongping
Faculty/College
Faculty of Arts (คณะอักษรศาสตร์)
Degree Name
Master of Arts
Degree Level
Master's Degree
Degree Discipline
Chinese as a Foreign Language
DOI
10.58837/CHULA.THE.2007.1923
Abstract
本論文的研究目的在於探討漢泰兩種文化在顔色詞語中蕴含的意義概念,研究對象包括紅、白、黑、黃、青、綠等顔色;並比較研究帶有顔色詞的漢泰詞語的比喻方法,分析漢泰文化及信仰對於表示顏色的詞語的影響。研究結果顯示,漢泰表示顔色詞語相當豐富,並各有特色。這些詞語的意義包括基本意義及引申意義,基本語義除了代表本身的顏色的意思外,其中引申意義是最具文化特色的地方。漢泰民族對於顏色詞的運用有同有異,分析的結果表明,大部分的語義是異多於同。如漢泰都使用黑、白比喻是非、對錯、善惡,而明顯不同之處,譬如漢語裡紅色可以比喻女人、愛情、好運、受歡迎等涵義,泰語卻沒有類似的比喻,在泰語裡紅色常用來比喻人的性格、事情的結果、金錢、重要、最好等其他意思。由於中泰兩國不同的生活習慣、地域環境和文化演進,產生了漢泰在顏色詞語選擇上的不同偏好,造成二著的相異之处,如漢泰在黃色都反映了宗教,但反映的宗教却不同,在漢語裡是反映道教,泰語則是反映佛教。透過研究顔色詞語反映社會地位、風俗民情、宗教信仰、古代人的智慧和才能、與外來文化的影響等特点,能進一步精確的了解顏色詞語的運用以及背後代表的涵意,減少語言使用上的誤解。
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มุ่งศึกษาแนวคิดทางด้านความหมายของคำและสำนวนที่เกี่ยวกับสีต่างๆ ในวัฒนธรรมจีนและไทย อันประกอบด้วยสีแดง ดำ ขาว เหลืองและเขียว ศึกษาเปรียบเทียบการใช้อุปมาอุปไมยในคำและสำนวนที่เกี่ยวกับสีในภาษาจีนและภาษาไทย รวมทั้งวิเคราะห์ถึงอิทธิพลของวัฒนธรรมและความเชื่อของจีนและไทยที่มีต่อการใช้คำและสำนวนที่เกี่ยวกับสีในภาษาทั้งสอง ผลการวิจัยพบว่าคำและสำนวนที่เกี่ยวกับสีในจีนและไทยมีความหลากหลายและมีลักษณะเฉพาะของตนเอง ทั้งความหมายโดยตรงและความหมายโดยนัย นอกจากความหมายของสีต่างๆ โดยเฉพาะตัวแล้ว ความหมายโดยนัยของสีเหล่านั้นยังสามารถแสดงถึงจุดเด่นทางวัฒนธรรมได้อีกด้วย การใช้คำและสำนวนที่เกี่ยวกับสีของชนชาติไทยและจีนมีทั้งที่เหมือนกันและต่างกัน การวิจัยครั้งนี้พบว่าความหมายของคำและสำนวนที่เกี่ยวกับสีในภาษาทั้งสองมีความต่างกันมากกว่าเหมือนกัน แม้ว่าทั้งจีนและไทยต่างก็ใช้สีดำและขาวเปรียบกับความถูก-ผิด ชั่ว-ดี แต่ในขณะที่จีนนิยมใช้สีแดงเพื่อเปรียบถึง ผู้หญิง ความรัก ความโชคดี ความมีชื่อเสียง ฯลฯ เรากลับไม่พบการเปรียบเทียบลักษณะนี้ในภาษาไทย ซึ่งมักจะนำสีแดงมาเปรียบกับอุปนิสัยของคน ผลของเหตุการณ์ เงินตรา และความสำคัญ เนื่องจากความแตกต่างทางลัษณะการดำเนินชีวิต ความเป็นอยู่ สภาพแวดล้อม ภูมิประเทศ และพัฒนาการทางวัฒนธรรมของประเทศไทยและจีน ทำให้ความนิยมในการเลือกใช้คำและสำนวนที่เกี่ยวข้องกับสีของจีนและไทยไม่เหมือนกัน ความหมายที่แสดงออกจึงต่างกันด้วย เช่น แม้สีเหลืองในภาษาจีนและไทยต่างสามารถสะท้อนถึงศาสนา แต่ก็เป็นศาสนาที่ต่างกัน สีเหลืองในภาษาจีนมักใช้หมายถึงลัทธิเต๋า แต่ในภาษาไทยกลับสะท้อนถึงศาสนาพุทธ การศึกษาลักษณะเด่นต่างๆ เกี่ยวกับฐานะทางสังคม ประเพณีและความเป็นอยู่ของประชาชน ศาสนาและความเชื่อ ภูมิปัญญาและความสามารถของคนโบราณ ตลอดจนอิทธิพลของภาษาต่างประเทศ ผ่านทางคำหรือสำนวนที่เกี่ยวกับสี จะช่วยให้สามารถใช้คำและสำนวนที่เกี่ยวกับสีต่างๆ เหล่านั้นได้อย่างถูกต้องเพิ่มความเข้าใจในที่มาของความหมาย และลดข้อผิดพลาดในการใช้ภาษาได้
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
Noppadolsathan, Kamolwan, "A comparative study of the meanings of words and idiomatic expressions relating to colors in Chinese and Thai languages" (2007). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 24600.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/24600