Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

A comparative study of Chinese and Thai proverbs as reflecting the idea of virtue

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

การศึกษาเปรียบเทียบภาษิต-คำพังเพยจีนและไทยที่สะท้อนแนวคิดเรื่องคุณธรรม

Year (A.D.)

2007

Document Type

Thesis

First Advisor

Sasarux Petcherdchoo

Faculty/College

Faculty of Arts (คณะอักษรศาสตร์)

Degree Name

Master of Arts

Degree Level

Master's Degree

Degree Discipline

Chinese

DOI

10.58837/CHULA.THE.2007.1921

Abstract

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโครงสร้างไวยากรณ์และการใช้โวหารภาพพจน์ในภาษิต-คำพังเพยจีนและไทย ตลอดจนศึกษาแนวคิดเรื่องคุณธรรมที่ปรากฏในภาษิต-คำพังเพยจีนและไทย อันประกอบด้วยคุณธรรม ๕ ประการ คือ ความเมตตา ความจงรักภักดีต่อชาติและพระมหากษัตริย์ ความกตัญญูกตเวที การให้อภัย และความซื่อสัตย์สุจริต ผลการวิจัยพบว่าภาษิต-คำพังเพยจีนและไทยมีโครงสร้างไวยากรณ์ ๓ ระดับ คือ วลี ประโยคความเดียว และประโยคความรวมหรือความซ้อน ซึ่งโครงสร้างที่พบมากที่สุดในทั้งสองภาษาคือ ประโยคความรวมหรือความซ้อน ในด้านการใช้โวหารภาพพจน์ พบว่าภาษิต-คำพังเพยจีนและไทยต่างก็มีการใช้โวหารภาพพจน์ ๕ ประเภทได้แก่ การใช้ความเปรียบเทียบ นามนัย อธิพจน์ บุคลาธิษฐาน และปฏิพจน์ ซึ่งโวหารที่พบมากที่สุดในทั้งสองภาษา คือการใช้ความเปรียบ การวิจัยครั้งนี้พบว่าภาษิต-คำพังเพยจีนและไทยต่างก็สะท้อนแนวคิดเรื่องคุณธรรมทั้ง ๕ ประการดังกล่าวข้างต้น แต่ก็มีความแตกต่างบางประการ เช่น แนวคิดเรื่องความกตัญญูกตเวทีที่ปรากฏในภาษิต-คำพังเพยจีนสะท้อนให้เห็นว่าบุตรควรแสดงความกตัญญูต่อบุพการีในรูปแบบของการกระทำที่เป็นรูปธรรม เช่น การรักษาพยาบาลยามเจ็บป่วย หรือการชดใช้หนี้สินแทนบุพการี เป็นต้น แต่กลับไม่พบแนวคิดเช่นนี้ในภาษิต-คำพังเพยไทย ที่ส่วนใหญ่จะสะท้อนแนวคิดความกตัญญูกตเวทีในลักษณะที่เป็นนามธรรม เช่นการปลูกฝังให้บุตรสำนึกบุญคุณของบุพการี เป็นต้น นอกจากนี้แนวคิดเรื่องคุณธรรมที่ปรากฏในภาษิต-คำพังเพยจีนและไทย ยังสะท้อนให้เห็นถึงลัทธิความเชื่อและศาสนาของชนชาติจีนและไทยอีกด้วย กล่าวคือ ชาวจีนได้รับอิทธิพลเรื่องคุณธรรมจากแนวคิดของขงจื่อเป็นหลัก ส่วนชาวไทยได้รับอิทธิพลเรื่องคุณธรรมจากหลักธรรมทางพุทธศาสนา ดังนั้นการศึกษาแนวคิดเรื่องคุณธรรมที่ปรากฏในภาษิต-คำพังเพยจีนและไทย จึงช่วยสร้างความเข้าใจในวัฒนธรรมของทั้งสองชนชาติได้ดียิ่งขึ้น

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

本研究目的是探討漢泰諺語的語法結構與修辭法,以及針對漢泰諺語所反映的道德價值觀念進行研究,所謂道德價值觀念指的是五種道德,即仁義、忠誠、孝順、寬容及誠信。研究結果發現,漢泰諺語的語法結構可分爲三種,即短語、單句及複句。其中,兩種諺語數目最多的語法結構都是複句。修辭法上發現,漢泰諺語都運用相同的五種修辭法,即比喻、借代、誇張、比擬及對照。其中,兩種諺語運用最多的是比喻法。大體上,漢泰諺語都反映出相同的五種道德,而有的思想內涵還有差異存在。比如:在孝順道德上,漢諺語反映出孩子應通過具體的方法對父母表現孝順,如:生病了要伺候、替父母還債等。而這種思想內涵卻沒有出現於泰諺語中,泰諺語常常反映出抽象的思想感情,如:強調孩子對父母感恩等。除此之外, 漢泰諺語所反映出的道德價值觀念,還表現出兩國人民不同的宗教信仰。儒家思想對中國人民的道德觀影響很大,而佛教教義對泰國人民的思想觀念產生了深刻的影響。由此可見,通過漢泰諺語所反映的道德價值觀念之比較研究,能更加深入地瞭解兩國不同的文化內涵。

Share

COinS