Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
ปริจเฉทสารคดีท่องเที่ยวในอนุสาร อ.ส.ท.
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Discourse of travelogues in Or.Sor.Thor. magazine
Year (A.D.)
2004
Document Type
Thesis
First Advisor
เทพี จรัสจรุงเกียรติ
Faculty/College
Faculty of Arts (คณะอักษรศาสตร์)
Degree Name
อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
ภาษาไทย
DOI
10.58837/CHULA.THE.2004.1867
Abstract
การศึกษาเรื่องปริจเฉทสารคดีท่องเที่ยวในอนุสาร อ.ส.ท. นี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสารคดีท่องเที่ยวซึ่ง กล่าวได้ว่าเป็นปริจเฉทเรื่องเล่าประเภทหนึ่ง ตามแนวคิดของ ลองเอเคอร์ คือ มีการเล่าเรื่องไปตามลำดับเวลา และมีการอ้างถึงตัวผู้กระทำ ซึ่งในที่นี้หมายถึงตัวผู้เขียน การศึกษาครั้งนี้ มุ่งที่จะศึกษาสารคดีท่องเที่ยวใน 2 ประเด็น คือ 1) องค์ประกอบและกลวิธีการเล่าเรื่องในสารคดีท่องเที่ยว และ 2) การเชื่อมโยงความในปริจเฉทสาร คดีท่องเที่ยว ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ สารคดีท่องเที่ยวในอนุสาร อ.ส.ท. แสดงความสัมพันธ์กัน ด้วยองค์ประกอบ 4 องค์ประกอบ คือ บทนำ เนื้อเรื่อง บทสรุป และบทส่งท้าย สามารถแยกแต่ละองค์ประกอบออกจากกันได้โดยตัดสินการแสดงลำดับเวลาและ รูปภาษาที่ใช้ มีกลวิธีการเล่าเรื่องด้วยการใช้คำบอกเวลาเป็นแกนในการดำเนินเรื่องตั้งแต่ต้นจนจบ โดยมีผู้เขียนเป็นผู้ เล่าเรื่องราวการท่องเที่ยว ผ่านมุมมองของตนเอง สังเกตได้จากการใช้คำสรรพนามแทนตนเอง ซึ่งปรากฏใช้ตลอดทั้งเรื่อง การศึกษาลักษณะการเชื่อมโยงความ 3 ประเภทได้แก่การเชื่อมโยงความด้วยการอ้างถึง การเชื่อมโยง ความด้วยการใช้คำเชื่อม และการเชื่อมโยงความด้วยการคำศัพท์ จากการศึกษาพบการเชื่อมโยงความด้วยการอ้าง ถึง 2 ลักษณะได้แก่ การอ้างถึงด้วยการใช้คำสรรพนาม และการอ้างถึงด้วยการชี้เฉพาะ การเชื่อมโยงความด้วย การใช้คำเชื่อม พบการใช้คำเชื่อม 8 ประเภท ได้แก่ คำเชื่อมแสดงลำดับเวลา คำเชื่อมแสดงความสัมพันธ์แบบเพิ่มข้อมูล คำเชื่อมแสดงความสัมพันธ์แบบขัดแย้ง คำเชื่อมแสดงความสัมพันธ์แบบเป็นเหตุ คำเชื่อมแสดงความสัมพันธ์แบบเป็นผล คำเชื่อมแสดงความมุ่งหมาย คำเชื่อมแสดงความสัมพันธ์แบบต่างตอนกัน และคำเชื่อมแสดง ความสัมพันธ์แบบเงื่อนไข การเชื่อมโยงความด้วยการใช้คำศัพท์ พบการเชื่อมโยงความด้วยคำศัพท์ ๖ ประเภท ได้แก่ การใช้คำสัมพันธ์กัน การกล่าวซ้ำหรือซ้ำคำเดิม การใช้คำจ่ากลุ่ม - คำลูกกลุ่ม การใช้คำตรงกันข้าม การใช้คำพ้องความหมาย และการใช้คำที่เป็นส่วนประกอบของหน่วยใหญ่
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The objective of this study is to investigate the discourse of travelogues in OR. SOR. THOR, magazines regarding of the kind of narrative discourse. Longacre’s ( 1983 ) framework is used, in that there are temporal sequence of narrating an agent orientation in the discourse. The following are the points of concentration in the study ;the consist of travelogues, an examining devices that use for narrating and study of cohesion in three types ; reference, conjunction, and lexical cohesion. It appears that travelogues in OR.SOR.THOR use a device of narrating are contingent temporal succession and agent orientation. And the study found that travelogue in OR.SOR.THOR. are consisting of four elements ; leading | body, conclusion, and terminus. The result of the cohesion study in chapter four shows that reference cohesion can be classified into two type ; prominal reference, demonstrative reference. Conjunction cohesion can be classified into eight types of connector ; temporal relation, adversative relation, contrastive relation, additive relation, relation of purpose, causal relation, relation of result, and conditional relation. The study of lexical cohesion found that there are six types; reiteration, synonymy, hyponymy and CO - hyponymy, meronymy and CO -meronymy, collocation, and antonymy.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
อังคะนาวิน, มัญชุสา, "ปริจเฉทสารคดีท่องเที่ยวในอนุสาร อ.ส.ท." (2004). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 24371.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/24371