Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการศึกษา การกระจายทางพื้นที่ของอาชญากรรม
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Geographic information system for the study of spatial distribution of crimes
Year (A.D.)
2000
Document Type
Thesis
First Advisor
ลักษมี เจี้ยเวชศิลป์
Second Advisor
เกษียร วรศิริ
Faculty/College
Faculty of Arts (คณะอักษรศาสตร์)
Degree Name
อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
ภูมิศาสตร์
DOI
10.58837/CHULA.THE.2000.1565
Abstract
การศึกษาการกระจายทางพื้นที่ของอาชญากรรม ทั้งอาชญากรรมประเภทความผิดคดีประทุษร้ายต่อร่างกายฯ และอาชญากรรมประเภทความผิดคดีประทุษร้ายต่อทรัพย์ ในพื้นที่รับผิดชอบของสถานีตำรวจนครบาลบางซื่อ ใช้สถิติอาชญากรรมตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539-2541 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการกระจายทางพื้นที่ของอาชญากรรม โดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์และคำนวณดัชนีบ้านใกล้เคียง วัตถุประสงค์ที่สองคือการหาความสัมพันธ์ของปัจจัยทางกายภาพ และปัจจัยทางเศรษฐกิจ สังคม ที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดอาชญากรรม โดยใช้ Chi square test ทดสอบนัยสำคัญทางสถิติ และ Logistic regression หาโอกาสหรือความน่าจะเป็นของปัจจัยที่ศึกษา จากการใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เก็บข้อมูล แสดงแผนที่ และการใช้ดัชนีบ้านใกล้เคียง พบว่า อาชญากรรมทั้ง 2 ประเภทมีรูปแบบการกระจายแบบเกาะกลุ่มในบริเวณพื้นที่เสี่ยง คือ ริมถนนสายหลัก การใช้ที่ดินประเภทพาณิชยกรรม ได้แก่ ถนนพหลโยธิน ถนนประดิพัทธ์ ถนนสุทธิสารวินิจฉัย ห้างสรรพสินค้าเมอร์รี่คิงส์ ตลาดนัดสวนจตุจักร และสถานีขนส่งสายเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ (หมอชิต 2) นอกจากนี้ยังพบว่าการเกิดอาชญากรรมมีมากใน พ.ศ. 2541 ซึ่งเป็นปีที่ประเทศไทยประสบปัญหาสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ แต่ไม่พบความสัมพันธ์ที่มีนัยสำคัญทางสถิติ ระหว่างอาชญากรรมกับปัจจัยเศรษฐกิจ ช่วงเวลา 17:00-21:59 น. เพศชายและเพศหญิงมีโอกาสเป็นเหยื่อเท่าๆ กัน โอกาสเกิดอาชญากรรมในพื้นที่ที่มีความหนาแน่นของประชากรสูงมีน้อยกว่า และโอกาสในการเกิดอาชญากรรมในการใช้ที่ดินประเภทพาณิชยกรรม มีเท่ากับการใช้ที่ดินประเภทอื่นๆ จากผลการศึกษา เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถจัดสายตรวจให้เหมาะสมกับการเกิดอาชญากรรมทั้ง 2 ประเภทได้ โดยแบ่งช่วงเวลาตรวจออกเป็น 6 ช่วงเวลา คือ ทุก 4 ชั่วโมงนับแต่ 01:00 น. เป็นต้นไป ซึ่งสอดคล้องกับช่วงเวลากิจกรรมมนุษย์ โดยให้ความสำคัญในช่วงเวลา 17:00-20:59 น. ควรเน้นให้เจ้าหน้าที่ตำรวจจัดสายตรวจดูแลบริเวณอาคารพาณิชย์ ริมถนนสายหลัก ห้างสรรพสินค้าเมอร์รี่คิงส์ ตลาดนัดสวนจตุจักร สถานีขนส่งสายเหนือและสายตะวันออกเฉียงเหนือ (หมอชิต 2) เพื่อป้องกันอาชญากรรมทั้ง 2 ประเภท และในช่วงเวลา 21:00-24:59 น. บริเวณแหล่งสถานบันเทิงถนนสุทธิสารวินิจฉัย เพื่อป้องกันอาชญากรรมประเภทความผิดคดีประทุษร้ายต่อร่างกายฯ ส่วนประชาชนควรหลีกเลี่ยงช่วงเวลาและบริเวณดังกล่าว เพื่อลดช่องโอกาสในการตกเป็นเหยื่อของอาชญากรรม
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
This research applied Geographic Information System (GIS) exploring crime pattern on road and landuse map in the Bang Sae Police Station area and statistic methods analyzing socio-economic factors involved. Both crimes of violence and crime against property were clustered in the risk area, i.e. Merry King Department Store, Jatujak weekend market, Mochit bus terminal and along the main road, Phahonyothin Rd., Pradiphat Rd., and Sutthisan-winitchai Rd. Nearest neighbor index confirmed cluster patterns of all crime types. Chi square was used to statistically test the association of crime patterns and six variables of socio-economic factors. Only time social variable was found significant. There is no statistic significance of relationship of crime and an economic factor, the number of coroparates end while economic crisis. The cluster crime patterns and significant time ranges were put into the final map. The map showed cluster crime area and roads during six time activities period 24 hours a day, 4 hours each. This result leads to suggest changing police patroling period. During 17:00-21:59, Merry King department store, Jatujak weekend market, Mochit bus terminal should be frequently patrolled. Awareness during 21:00-24:59 at Sutthisan-winitchai Rd. was more likely to prevent crimes of violence. People should avoid places and time period as previously described to reduce chance of being victims. Moreover, it is found that the after work period, 17:00-21:59, was the most frequently crime time. The probability of being risk in that period was further studied by logistic regression. It resulted in percentage of chance in which a crime was likely to occur in such a period. Male and female had equal opportunities of being victims. People should be in more crowded area due to the less probability. The chance of crime in commercial area was the same as other landuse area.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
ไทพาณิชย์, วรยา, "ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการศึกษา การกระจายทางพื้นที่ของอาชญากรรม" (2000). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 24055.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/24055