Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเปรียบเทียบกรรมวิธีซ้อนทับภาพรังสี 4 เทคนิค เพื่อประเมินการเปลี่ยนแปลงของฟันบน

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

A comparative study of 4 cephalometric superimposition techniques for evaluation of maxillary teeth alteration

Year (A.D.)

1997

Document Type

Thesis

First Advisor

สมรตรี วิถีพร

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

ทันตกรรมจัดฟัน

DOI

10.58837/CHULA.THE.1997.760

Abstract

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งของฟันบนเมื่อประเมินจากกรรมวิธีซ้อนทับภาพรังสีกะโหลกศีรษะด้านข้าง 4 เทคนิค ได้แก่ การซ้อนทับภาพรังสีบนระนาบเพดานที่จุด ANS (เทคนิค ANS) การซ้อนทับภาพรังสีตามระนาบเพดานที่ pterygomaxillary fissure (เทคนิค PTM) การซ้อนทับภาพรังสีบนตำแหน่งที่โครงสร้างภายในเพดานซ้อนทับกันมากที่สุด (เทคนิค FIT) และ การซ้อนทับภาพรังสีบน zygomatic process (เทคนิค ZYM) และเพื่อให้ได้ข้อสรุปถึงการซ้อนทับภาพรังสีเทคนิคที่เหมาะสม กลุ่มตัวอย่างภาพรังสีกะโหลกศีรษะด้านข้าง ก่อนและหลังรักษาที่ถ่ายจากผู้ป่วยคนเดียวกันด้วยเครื่องถ่ายเดียวกันของกลุ่มตัวอย่าง 60 ราย เป็นชาย 22 ราย หญิง 38 ราย อายุระหว่าง 10 ถึง 13 ปี ได้รับการรักษาทางทันตกรรมจัดฟันด้วยเทคนิคต่างๆ กัน ระยะเวลารักษาไม่เกิน 3 ปี นำภาพรังสีก่อนและหลังรักษาของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดมาซ้อนทับภาพรังสีตามเทคนิค 4 เทคนิค การเคลื่อนที่ของฟันตัดและฟันกรามบน ศึกษาในลักษณะโคออร์ดิเนตและวิเคราะห์ด้วยสถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (one way ANOVA) ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 และ post hoc Tukey's test ความสามารถในการทำซ้ำได้ของแต่ละเทคนิคทดสอบด้วยสถิติวิเคราะห์แบบ t-test ที่ระดับมีนัยสำคัญ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า เทคนิค ANS เทคนิค FIT และเทคนิค ZYM ประเมินการเคลื่อนที่ของฟันบนในแนวระนาบได้ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เทคนิค ANS และเทคนิค FIT ประเมินการเคลื่อนที่ในแนวดิ่งของฟันบนได้ใกล้เคียงกัน แต่น้อยกว่าเทคนิค PTM และเทคนิค ZYM เทคนิค FIT มีความสามารถในการทำซ้ำในแนวดิ่งต่ำ เทคนิค PTM ไม่เหมาะสมในการประเมินการเคลื่อนที่ในแนวระนาบของฟันบน แต่ประเมินการเคลื่อนที่ในแนวดิ่งของฟันบนได้ใกล้เคียงกับเทคนิค ZYM

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

The objectives of this study were to compare the alterations of maxillary tooth position as evaluated from four cephalometric superimposition techniques comprising: the superimposition along the palatal plane registered at ANS (ANS), the superimposition along the palatal plane registered at pterygomaxillary fissure (PTM), the superimposition of the internal structure of the hard palate on the best fit position (FIT), and the superimposition on the anterior surface of the zygomatic process (ZYM). So that the most appropriate cephalometric superimpostion technique could be identified. The sample comprised pre-treatment and post-treatment lateral cephalometric films of 60 patients, 22 males and 38 females, at 10-13 years of age. All patients had been treated with various techniques which were no more than 3 years in duration. The preand post treatment head films had been superimposed following the 4 techniques, the displacements of the maxillary incisor and molar were evaluated by the coordination system. One-way ANOVA (P<0.05) and the Tukey's test had been used in the statistical analysis and the reproductability of each technique had been tested by the t-test statistic (P<0.05). The result indicated that there are no statistical differences in the evaluation of the horizontal displacement of the maxillary teeth among the ANS, FIT and ZYM techniques. The ANS technique and FIT technique give similar evaluation in the vertical displacement of the maxillary teeth but less than the PTM technique and ZYM technique do. The FIT technique has a low reproducibility in the vertical evaluation. The PTM technique is inappropriate for evaluation of the horizontal displacement but provides similar evaluation in the vertical displacement to the ZYM technique.

Share

COinS