Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
การตรวจหาชิ้นดีเอ็นเอที่มีความจำเพาะต่อเพศในเต่าตนุ Chelonia mydas
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Detection of sex specific DNA fragment from green turtle chelonia mydas
Year (A.D.)
1997
Document Type
Thesis
First Advisor
กนกทิพย์ ภักดีบำรุง
Second Advisor
ศิริพร สิทธิประณีต
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
ชีวเคมี
DOI
10.58837/CHULA.THE.1997.754
Abstract
เพื่อหาวิธีการตรวจเพศของลูกเต่าตนุโดยลูกเต่าที่ผ่านการตรวจสอบยังคงมีชีวิตอยู่จึงทำการทดลองเพื่อหาชิ้นดีเอ็นเอที่มีความจำเพาะต่อเพศของเต่าตนุโดยใช้เทคนิคทางพันธุวิศวกรรม 2 เทคนิค คือ RFLP (เซาท์เทิร์นบลอทไฮบริไดเซชัน) และ PCR–based DNA fingerprinting ใช้ GATA repeats จำนวน 21 เบส ซึ่งเป็นลำดับเบสที่จำลองมาจากส่วน conserved sequence ใน Bkm sequence ซึ่งเป็น sex-specific sequence ในสัตว์หลายชนิดโดยพบอยู่เป็นจำนวนมากใน W และ Y โครโมโซม เป็นดีเอ็นเอติดตามในการทำเซาท์เทิร์นบลอทไฮบริไดเซชันและเป็นดีเอ็นเอไพรเมอร์ในงาน PCR ถึงแม้ผลของเซาท์เทิร์นบลอทไฮบริไดเซชันในเต่าตนุที่ทราบเพศแล้วจะพบชิ้นดีเอ็นเอที่ให้ความแตกต่างระหว่างเพศ คือ พบชิ้นดีเอ็นเอขนาด 8.35 กิโลเบส เฉพาะดีเอ็นเอของเต่าตนุเพศผู้หลังตัดด้วยเอนไซม์ตัดจำเพาะ Hae III แต่วิธีนี้ไม่เหมาะสมที่จะนำไปใช้ในการวิเคราะห์ในลูกเต่าเพราะดีเอ็นเอที่สกัดจากเลือดของลูกเต่ามักแตกหักไม่เหมาะแก่การนำมาใช้ในงาน RFLP เมื่อใช้เทคนิค PCR โดยมี GATA repeats จำนวน 21 เบส เป็นดีเอ็นเอไพรเมอร์พบว่าที่อุณหภูมิ annealing 49℃ สามารถตรวจความแตกต่างระหว่างเพศได้โดยความเข้มของแถบดีเอ็นเอขนาด 2.29 กิโลเบส ในเพศผู้จางกว่าในเพศเมียอย่างชัดเจน เมื่อนำไปใช้ตรวจสอบเพสของลูกเต่าตนุ 2 กลุ่มโดยกลุ่มแรกเป็นลูกเต่าที่เสียชีวิตระหว่างการอนุบาลและนำมาจำแนกเพศโดยการศึกษาลักษณะเนื้อเยื่อของโกแนดส่วนกลุ่มที่สองเป็นลูกเต่าที่มีชีวิตซึ่งเพาะฟักโดยการควบคุมอุณหภูมิและคาดเดาเพศจากอุณหภูมิที่ใช้เพาะฟัก จากการศึกษาพบว่าผลการจำแนกเพศโดยใช้เทคนิค PCR ตรงกับผลการศึกษาลักษณะเนื้อเยื่อโกแนดร้อยละ 75 และผลการจำแนกเพศโดยใช้เทคนิค PCR ตรงกับเพศของลูกเต่าที่คาดไว้จากการกำหนดอุณหภูมิในการเพาะฟักร้อยละ 67 แสดงว่าเทคนิค PCR นี้สามารถนำมาใช้ในการตรวจเพศได้โดยมีความถูกต้องเกินร้อยละ 50
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
To determine sex in juvenile green turtle, GATA repeats 21 mers modified from Bkm sequence was designed as DNA probe and DNA primer for Southern-blot hybridization and PCR-based DNA fingerprinting technique, respectively. Bkm sequence was a sex-specific sequence highly distributed on W or Y chromosome of various animal species. The results from Southern-blot hybridization showed the DNA fragment of 8.35 Kb from Hae III digested green turtle DNA was specific for male. However, this technique was not suitable for the sex determination in juvenile green turtles since the chromosomal DNA from blood was randomly sheared during the extraction. PCR with annealing of 49℃ showed different band intensity of 2.29 Kb amplified DNA fragment. This fragment in male green turtle and significantly lower than those of females. The PCR technique was the used for determination of sex in 2 groups of juvenile green turtles. Group I was dead turtles which their sex was determined using histology of gonad and group II was living turtles hatching in control temperature to sex favorable condition for male or female development. The results of sex analysis by PCR were corresponded to those in group I and II with 75% and 67%, respectively. The result indicates that this PCR technique can be used to differentiate sex with over 50% precision.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
ผาสุข, รุ่งนภา, "การตรวจหาชิ้นดีเอ็นเอที่มีความจำเพาะต่อเพศในเต่าตนุ Chelonia mydas" (1997). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 23855.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/23855