Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
การผลิตกรดอิทาโคนิกโดยสายใยตรึงของ Aspergillus terreus I10
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Itaconic acid production by immobilized mycelium of Aspergillus terreus I10
Year (A.D.)
1997
Document Type
Thesis
First Advisor
กรรณิกา จันทรสอาด
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
จุลชีววิทยาทางอุตสาหกรรม
DOI
10.58837/CHULA.THE.1997.750
Abstract
ภาวะที่เหมาะสมสำหรับการเตรียมสายใยตรึงของ Aspergillus terreus I10 ในชิ้นเส้นใยบวบหอม ซึ่งเป็นวัสดุตรึงจากธรรมชาติเพื่อการผลิตกรดอิทาโคนิก คือ เพาะเลี้ยงสปอร์ตรึงความหนาแน่น 1-2x10⁸ สปอร์ต่อชิ้นเส้นใยบวบหอมหนัก 2.0-2.2 กรัม ซึ่งมีความสูง 5 เซนติเมตร ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4.0-4.2 เซนติเมตร ในอาหารเลี้ยงเชื้อที่มีน้ำตาลทรายขาว 15 กรัมต่อลิตร เป็นแหล่งคาร์บอน แอมโมเนียมซัลเฟต 1.35 กรัมต่อลิตร เป็นแหล่งไนโตรเจน เป็นเวลา 44 ชั่วโมง เมื่อผลิตกรดในคอลัมน์แก้วที่มีการให้อากาศด้านล่างพบว่า ภาวะที่เหมาะสมต่อการผลิตกรด คือ อัตรากาศให้อากาศ 2.0 ลิตรต่อลิตรอาหารเลี้ยงเชื้อต่อนาที ใช้กล้าเชื้อหนัก 3.74 กรัม (น้ำหนักแห้ง) ต่ออาหารเลี้ยงเชื้อ 1 ลิตรที่มีน้ำตาลทรายขาว 40 กรัมต่อลิตรเป็นแหล่งคาร์บอน ไม่เติมแหล่งไนโตรเจน ส่วนภาวะที่เหมาะสมสำหรับการเตรียมสายใยตรึงในชิ้นพอลียูรีเทนโฟม คือ เพาะเลี้ยงสปอร์ตรึงความหนาแน่น 1-2x10⁹ สปอร์ต่อพอลิยูรีเทนโฟมรูปบาศก์ ขนาด 0.25 ลูกบาศก์เซนติเมตร หนัก 1 กรัม เป็นเวลา 72 ชั่วโมง สำหรับการผลิตกรดอิทาโคนิกภายใต้ภาวะการให้อากาศ 2.5 ลิตรต่อลิตร อาหารเลี้ยงเชื้อต่อนาที ใช้กล้าเชื้อหนัก 2.69 กรัม (น้ำหนักแห้ง) ต่ออาหารเลี้ยงเชื้อ 1 ลิตรที่มีน้ำตาลทรายขาว 25 กรัมต่อลิตร เป็นแหล่งคาร์บอน ไม่เติมแหล่งไนโตรเจน ชิ้นเส้นใยบวบหอมเป็นวัสดุตรึงจากธรรมชาติชนิดใหม่ที่น่าสนใจและเหมาะสมสำหรับการตรึง Aspergillus terreus I10 เนื่องจากการเตรียมวัสดุตรึงง่ายและใช้เวลาเพาะเลี้ยงกล้าเชื้อสั้น
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The suitable conditions for preparation of immobilized Aspergillus terreus I10 mycelia on luffa’s fruit fiber, natural matrix, were as followed : cultivating 1-2x10⁸ immobilized spores per 2.0-2.2 g. dry weight of fiber (5 cm. high, 4.0-4.2 cm. diameter) for 44 hrs. in preculture medium containing 15 g/l. refined-cane sugar, 1.35 g/l. ammonium sulfate as carbon and nitrogen sources respectively. The acid production in glass bubble column under the following optimal conditions : 2.0 vvm. Aeration rate, 3.74 g. mycelia dry weight per 1 liter of production medium containing 40 g/l. refined-cane sugar as carbon source, without adding any nitrogen source. For the preparation of immobilized mycelia in polyurethane foam cube, the suitable conditions were as followed : cultivating 1-2x10⁹ immobilized spores per 1 g. of 0.25 cm³. Foam cube in preculture medium for 72 hrs. The production of itaconic acid in glass bubble column with 2.5 vvm. Aeration rate, 2.69 g. mycelia dry weight per 1 liter of production medium containing 25 g/l. refined-cane sugar as carbon source without nitrogen source were optimum. Luffa’s fruit fiber, a new natural matrix, was interesting and suitable for immobilized Aspergillus terreus I10 mycelia to produce itaconic acid. It was easy to prepare and the time for cultivation immobilized mycelia on fiber was short.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
พุ่มไพบูลย์, เทพนาฏ, "การผลิตกรดอิทาโคนิกโดยสายใยตรึงของ Aspergillus terreus I10" (1997). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 23851.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/23851