Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
การผลิตมวลชีวภาพของยีสต์จากน้ำทิ้งที่มีไขมันเป็นองค์ประกอบ
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Production of yeast biomass from fat-containing waste-water
Year (A.D.)
1997
Document Type
Thesis
First Advisor
ส่งศรี กุลปรีชา
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
จุลชีววิทยาทางอุตสาหกรรม
DOI
10.58837/CHULA.THE.1997.747
Abstract
ในการศึกษาการผลิตมวลชีวภาพของยีสต์จากน้ำทิ้งที่มีไขมันเป็นองค์ประกอบ เพื่อใช้เป็นแปล่งอาหารสำหรับสัตว์ และเป็นการบำบัดน้ำทิ้งได้ในขณะเดียวกัน จากการวิเคราะห์ตัวอย่างน้ำทิ้งพบว่า น้ำทิ้งมีค่าบีโอดีและค่าซีโอดีเฉลี่ยเท่ากับ 558 และ 941 มิลลิกรัมต่อลิตร ตามลำดับ มีไขมันเป็นองค์ประกอบเฉลี่ยเท่ากับ 3.27 กรัมต่อลิตร จากการคัดแยกและรวบรวมสายพันธุ์ยีสต์ที่เติบโตได้ในน้ำทิ้ง สามารถรวบรวมสายพันธุ์ยีสต์ได้ทั้งหมด 7 สายพันธุ์ ได้แก่ C 5045 C 5046 S 0001 T 0001 Y 8662 N 0001 และ N 0002 เมื่อเลี้ยงเชื้อยีสต์ดังกล่าวในอาหารเลี้ยงเชื้อจากน้ำทิ้งที่ไม่เติมแหล่งคาร์บอนเปรียบเทียบกับอาหารเลี้ยงเชื้อที่ใช้น้ำทิ้งเติมแหล่งคาร์บอน ได้แก่ กลีเซอรอลและกลูโคส พบว่าเชื้อ Y 8662 เติบโตได้ดีกว่ายีสต์สายพันธุ์อื่นๆ เมื่อเลี้ยงในอาหารเลี้ยงเชื้อจากน้ำทิ้งและน้ำทิ้งเติมกลีเซอรอล ได้น้ำหนักเซลล์แห้งสูงสุดเท่ากับ 2.58 และ 8.40 กรัมต่อลิตร ตามลำดับ ส่วนเชื้อ S 0001 เติบโตได้ดีในอาหารเลี้ยงเชื้อจากน้ำทิ้งเติมกลูโคส ได้น้ำหนักเซลล์แห้งสูงสุดเท่ากับ 4.63 กรัมต่อลิตร จากการเปรียบเทียบองค์ประกอบภายในเซลล์ยีสต์ที่รวบรวมได้ พบว่าเชื้อ Y 8662 มีปริมาณโปรตีนภายในเซลล์ ชนิดและปริมาณกรดอะมิโน รวมทั้งชนิดและปริมาณวิตามินภายในเซลล์ที่เหมาะสมต่อการนำไปใช้เป็นแหล่งอาหารสำหรับสัตว์มากกว่ายีสต์สายพันธุ์อื่นๆ นอกจากนั้นยังสามารถลดค่าบีโอดีและค่าซีโอดีในน้ำทิ้งภายหลังนำไปใช้เป็นอาหารเลี้ยงเชื้อ เป็นเวลา 48 ชั่วโมง ได้ 90.7 และ 88.3 เปอร์เซนต์ ตามลำดับ (ซึ่งมีค่าอยู่ในช่วงมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้ง) การเลี้ยงในขวดเขย่าเมื่อใช้กล้าเชื้อ Y 8662 ที่เหมาะสมคือ กล้าเชื้ออายุ 15 ชั่วโมง เลี้ยงในอาหารที่เตรียมจากน้ำทิ้งซึ่งเติมแอมโมเนียมซัลเฟตและสารสกัดจากยีสต์ ปริมาณ 10 และ 1 กรัมต่อลิตร ตามลำดับ ได้น้ำหนักเซลล์แห้งสูงสุดเท่ากับ 6.48 กรัมต่อลิตร อัตราการเติบโตจำเพาะเท่ากับ 0.125 ต่อชั่วโมง และกำลังการผลิตมวลชีวภาพของยีสต์ เท่ากับ 0.322 กรัมต่อลิตรต่อชั่วโมง ภาวะที่เหมาะสมสำหรับการผลิตมวลชีวภาพของยีสต์ Y 8662 ในถุงหมัก ได้แก่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส ค่าความเป็นกรดด่าง 5.0 อัตราการกวน 600 รอบต่อนาที และอัตราการให้อากาศ 1 vvm เมื่อเลี้ยงเชื้อ Y 8662 แบบ batch ได้น้ำหนักเซลล์แห้งสูงสุดเท่ากับ 8.61 กรัมต่อลิตร อัตราการเติบโตจำเพาะเท่ากับ 0.138 ต่อชั่วโมง และกำลังการผลิตมวลชีวภาพของยีสต์ เท่ากับ 0.438 กรัมต่อลิตรต่อชั่วโมง ไขมันถูกใช้หมดหลังเลี้ยงเชื้อเป็นเวลา 42 ชั่วโมง และหลังจากการเลี้ยงเชื้อเป็นเวลา 72 ชั่วโมง ค่าบีโอดีและค่าซีโอดีลดลง 97.9 และ 94.2 เปอร์เซนต์ตามลำดับ เมื่อเลี้ยงเชื้อY 8662 แบบต่อเนื่อง อัตราการเจือจางที่ให้กำลังการผลิตมวลชีวภาพของยีสต์สูงสุดเท่ากับ 0.218 ต่อชั่วโมง น้ำหนักเซลล์แห้งสูงสุดที่ภาวะคงที่เท่ากับ 10.07 กรัมต่อลิตร และอัตราการเติบโตจำเพาะสูงสุดเท่ากับ 0.283 ต่อชั่วโมง มีผลทำให้กำลังการผลิตมวลชีวภาพของยีสต์สูงสุดเพิ่มขึ้นเป็น 3.20 กรัมต่อลิตรต่อชั่วโมง พบว่าการเลี้ยงเชื้อ Y 8662 แบบต่อเนื่องมีประสิทธิภาพสูงกว่าการเลี้ยงเชื้อแบบ batch และการเลี้ยงเชื้อในขวดเขย่า ตามลำดับ
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
Production of yeast biomass from waste-water containing fat for animal feed supplement and simultaneously as a remedy of such waste-water, was studied. Analysis of the waste-water shows that it contains 3.27 g/l of fat and has a moderately high level of 558 mg/l of BOD and 941 mg/l of COD in average. Seven yeast strains namely C 5045, C 5046, S 0001, T 0001, Y 8662, N 0001 and N 0002 were all capable of growing in this waste-water. Cultivations of all strains in the following three media, waste-water, waste-water plus either glycerol or glucose, were performed. It was found that Y 8662 could grow better than other strains in the first two media and reached about 2.58 g/l and 8.40 g/l maximum cell dry-weight, respectively. In waste-water containing glucose medium, S 0001 was the best to grow and gave a maximum cell dry-weight of 4.63 g/l. Cell compositions such as the cellular protein, amino acids and vitamin contents of yeast Y 8662, were appropriately determined and compared with other strains and other types of animal feed supplement. Consequently, 90.7% decrease in level of BOD and 88.3% in level of COD were observed after a 48-hours-cultivation. This greatly improved the quality of waste-water and put it in the range of standard value to be discharged to environment. In shake flask, from a cultivation in waste-water medium supplemented with 10 g/l (NH4)2SO4 and 1 g/l yeast extract using 15 h seed culture under the optimal conditions, 6.48 g/l maximum cell dry-weight, 0.125 h-1 of specific growth rate and 0.322 g/l/h. of biomass productivity were obtained. Optimum condition determined in this study for biomass production in a fementer using Y 8662 were as follows; Temperature 30 ํC, pH 5.0, agitation speed 600 rpm. and aeration rate 1 vvm. In a batch fermentation, 8.16 g/l of maximum cell dry-weight, 0.138 h-1 of specific growth rate and 0.438 g/l/h. of biomass productivity were achieved while all the fat content was used up within 42 h. The result also showed decreases in levels of BOD and COD to 97.9% and 94.2% respectively after 72 h. cultivation. In a continuous cultivation of Y 8662, the maximum biomass productivity observed at the dilution rate of 0.218 h-1 that gave about 10.07 g/l cell dry-weight, was up to 3.20 g/l/h. Efficiency of Y 8662 in term of biomass production appeared to be highest in the continuous fermentation followed by batch fermentation and shake flask culture respectively.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
เบญจภัทรพงศ์, นพดล, "การผลิตมวลชีวภาพของยีสต์จากน้ำทิ้งที่มีไขมันเป็นองค์ประกอบ" (1997). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 23848.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/23848