Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
ผลของการใช้โปรแกรมการแนะแนวแบบกลุ่มย่อยที่มีต่อการตระหนักในอนาคต ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Effect of using a small group guidance program on future orientation of mathayom suksa one students
Year (A.D.)
1997
Document Type
Thesis
First Advisor
สุภาพรรณ โคตรจรัส
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
จิตวิทยาการปรึกษา
DOI
10.58837/CHULA.THE.1997.1017
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการใช้โปรแกรมการแนะแนวแบบกลุ่มย่อย ที่มีต่อการตระหนักในอนาคตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยมีสมมติฐานการวิจัย คือ (1) หลังการทดลองนักเรียนที่ได้รับโปรแกรมการแนะแนวแบบกลุ่มย่อย จะมีคะแนนการตระหนักในอนาคตสูงกว่าก่อนเข้ารับโปรแกรม (2) หลังการทดลองนักเรียนที่ได้รับโปรแกรมการแนะแนว แบบกลุ่มย่อยจะมีคะแนนการตระหนักในอนาคตสูงกว่านักเรียนที่ไม่ได้รับโปรแกรมการแนะแนว แบบกลุ่มย่อย กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนหัตถสารเกษตรวิทยาคาร จังหวัดปทุมธานี จำนวน 20 คน ซึ่งสุ่มฉากนักเรียนที่มีคะแนนการตระหนักในอนาคตตํ่ากว่า เปอร์เซนต์ไทล์ที่ 25 สุ่มเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 10 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการแนะแนวแบบกลุ่มย่อย สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ครั้งละ 1 ชั่วโมง 40 นาที ติดต่อกัน 5 สัปดาห์ รวม 9 ครั้ง โดยมีผู้วิจัยเป็นผู้นำกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลในการวิจัย คือ แบบวัดการ ตระหนักในอนาคตซึ่งผู้วิจัยพัฒนาขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย ของคะแนนการตระหนักในอนาคตด้วยวิธีการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัย พบว่า (1) หลังการทดลองนักเรียนที่ได้รับโปรแกรมการแนะแนวแบบกลุ่มย่อย มีคะแนนการตระหนักในอนาคตสูงกว่าก่อนเข้ารับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) หลังการทดลองนักเรียนที่ได้รับโปรแกรมการแนะแนวแบบกลุ่มย่อย มีคะแนนการตระหนักในอนาคตสูงกว่านักเรียนที่ไม่ได้รับโปรแกรมการแนะแนวแบบกลุ่มย่อยอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The purpose of this research was to study the effect of using a small group guidance program on future orientation of Mathayom Suksa One students. The hypotheses were that (1) die posttest scores on the Future Orientation Scale of the experimental group would be higher than its pretest scores, (2) the posttest scores on the Future Orientation Scale of the experimental group would be higher than the posttest scores of the control group. The sample was 20 Mathayom Suksa One students of Huttasarnvitayakarn School, Phathumthani, who scored below 25 percentile on the Future Orientation Scale. They were randomly assigned to the experimental group and the control group, each group comprised of 10 students. The experimental group participated in a small group guidance program conducted by the researcher for a session of one hour and forty minutes, 2 sessions per week for 5 consecutive weeks, for die total of 9 sessions. The instrument used for data collection in this research was die Future Orientation Sçale constructed by the researcher. The t-test was ultilized for data analysis. Results indicated that : (1) Idle posttest scores on die Future Orientation Scale of the experimental group พลร higher than its pretest scores at .05 level of significance. (2) The posttest scores on the Future Orientation Scale of the experimental group was higher than die posttest scores of die control group at .05 level of significance.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
กลิ่นบุหงา, สุพิชชา, "ผลของการใช้โปรแกรมการแนะแนวแบบกลุ่มย่อยที่มีต่อการตระหนักในอนาคต ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1" (1997). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 23828.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/23828