Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ จี ในผู้ป่วยเด็กโรคธาลัสซีเมีย

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Hepatitis G virus infection in thalassemic children

Year (A.D.)

1997

Document Type

Thesis

First Advisor

ยง ภู่วรวรรณ

Second Advisor

ปัญญา เสกสรรค์

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

กุมารเวชศาสตร์

DOI

10.58837/CHULA.THE.1997.739

Abstract

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาถึงธรรมชาติของการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ จี ในผู้ป่วยเด็กธาลัสซีเมียที่มีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ จี จากการได้รับเลือก รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงพรรณาระยะยาวเป็นระยะเวลา 1 ปี สถานที่ศึกษา: คลินิกผู้ป่วยนอก แผนกกุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ประชากร: ผู้ป่วยเด็กธาลัสซีเมียที่มีการตรวจพบมีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ จี และมารับการรักษาเป็นประจำที่คลินิกโรคเลือดผู้ป่วยนอก แผนกกุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ประชากร ผู้ป่วยเด็กธาลัสซีเมียที่มีการตรวจพบมีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ จี และมารับการรักษาเป็นประจำที่คลินิกโรคเลือดผู้ป่วยนอก แผนกกุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ วิธีการศึกษา: ผู้ป่วยเด็กธาลัสซีเมียที่มีการตรวจพบการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ จี ทั้งหมดจำนวน 23 คน โดยติดตามทำการตรวจเลือดเพื่อตรวจหา HGV-RNA (โดยวิธี RT-PCR) ในครั้งที่ผู้ป่วยมาตรวจตามนัดกับคลินิกโรคเลือดและได้รับการให้เลือด ในเดือนที่ 6, 12, 15, 16, 17 ของการศึกษา ผลการศึกษา: ผู้ป่วยเด็กธาลัสซีเมียที่มีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ จี จำนวน 23 คน ติดตามผลการตรวจเลือดพบว่ามีการหายจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ จี ได้เอง จำนวน 13 คน คิดเป็นร้อยละ 56.5 ของผู้ป่วยทั้งหมดที่ทำการศึกษา พบความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนครั้งของการได้รับเลือดกับการหายากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ จี คือ ในกลุ่มที่ได้รับเลือดจำนวนน้อยกว่า 40 ครั้ง พบว่ามีการหายจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ จี มากกว่ากลุ่มที่ได้รับเลือดมากกว่า 40 ครั้ง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และในผู้ป่วยที่เป็นเพศหญิงมีการหายจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ จี มากกว่าผู้ป่วยเพศชาย แต่ไม่พบมีความสำคัญทางสถิติ (p>0.05) บทสรุป: โรคติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ จี สามารถหายได้โดยที่ผู้ป่วยจำนวนหนึ่งสามารถกำจัดเชื้อไปได้เอง และมักจะกำจัดเชื้อไปได้ตั้งแต่ในระยะแรกภายหลังจากการติดเชื้อ โดยเชื่อว่าร่างกายสามารถสร้างภูมิต้านทานต่อเชื้อไวรัสนี้ได้

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

Objective : To study the natural course of hepatitis G virus infections in thalassemic children. Design : Longitudinal descriptive study. Setting : Pediatric out-patient unit, Chulalongkorn Hospital. Patients : Transfusion-dependent thalassemic children infected with hepatitis G virus. Method : Twenty-three thalassemic children who had infected with HGV were came to followed prospectively for presence of HGV-RNA by RT-PCR in serum samples at 6th, 12th, 15th, 16th, 17th month of the study. RESULT : Of 23 HGV positive cases, we found that there are 13 children (56%) eventually cleared the infection by 17 month without specific treatment. We found that patients who received less than 40 blood transfusions are more likely to clear HGV than those received more than 40 transfusions. (p<0.05) female patients tend to clear the infection more frequenly than male patients, but it did not reach statistical significance. (p>0.05) Conclusions : Viral hepatitis G infection is self limited disease. Most patients can clear the infection by themselves. We concluded that the natural course of viral hepatitis G infection is mild disease and patients can get rid the virus by themselves.

Share

COinS