Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
การวิเคราะห์ภาพถ่ายบุคคลเชิงตรรกะการบริโภคของโบดริยาร์ด
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Analysis of portrait photography in baudrillard's consumption logic
Year (A.D.)
1997
Document Type
Thesis
First Advisor
ศิริชัย ศิริกายะ
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
การสื่อสารมวลชน
DOI
10.58837/CHULA.THE.1997.415
Abstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการสื่อความหมายในภาพถ่ายบุคคล และเพื่อให้ทราบคุณค่าของภาพถ่ายบุคคลเชิงตรรกะการบริโภคของโบดริยาร์ด ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบต่างๆ ในการสื่อความหมายของภาพถ่ายบุคคล ทำให้ภาพถ่ายบุคคลทั้ง 2 ประเภทคือ ภาพถ่ายตามวาระโอกาส (ภาพถ่ายแต่งงาน และภาพถ่ายครอบครัว) และภาพถ่ายแฟชั่น มีลักษณะเป็นรูปแบบการลอกเลียนแบบ (simulation model) ที่สามารถผลิตซ้ำได้ และเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดภาพนิมิต (simulacrum) ขึ้นสำหรับผู้บริโภค แต่รูปแบบการลอกเลียนแบบที่เกิดขึ้นนี้เป็นรูปแบบในระดับที่ 1 หรือระดับที่ 2 ตามแนวคิดของโบดริยาร์ดเท่านั้น คือ ในระดับที่ 1 เป็นรูปแบบของการลอกเลียนแบบธรรมชาติหรือการสร้างให้เหมือนกับของแท้ ส่วนในระดับที่ 2 เป็นรูปแบบการลอกเลียนแบบในระบบอุตสาหกรรมที่ภาพถ่ายบุคคลได้ถูกผลิตซ้ำในลักษณะเป็นรุ่น (series) จำนวนมากเหมือนกับการผลิตสินค้าประเภทอื่น ในการวิเคราะห์คุณค่าเชิงตรรกะการบริโภคของภาพถ่ายบุคคลพบว่า ปัจจัยกำหนดและพฤติกรรมการบริโภคภาพถ่ายบุคคลของผู้บริโภคยังคงเป็นแบบดั้งเดิมอยู่ คือ บริโภคภาพถ่ายบุคคลตามตรรกวิทยาแห่งค่าการใช้ (use value) ในฐานะสื่อสำหรับการบันทึก มากกว่าที่จะบริโภคเพื่อคุณค่าอื่นๆ ถึงแม้จะพบว่ากรณีศึกษาได้รับคุณค่าการแลกเปลี่ยนเชิงสัญลักษณ์ (symbolic exchange value) มาจากการใช้งานภาพถ่ายอยู่บ้าง แต่คุณค่าส่วนนี้เป็นเพียงผลพลอยได้จากค่าการใช้เท่านั้น
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The qualitative research was aimed to study on the signification in portrait photography produced by portrait studio and the consumption values of it in Jean Baudrillard’s consumption logic. The study found that the signification elements of portrait photography; wedding portrait, family portrait, and fashion portrait, transformed this consumption object into a simulation model, as a result a simulacra was created on portrait photography. However this simulation model available at the studio was a simulation in the first and the second order in Baudrillard’s concept. The first order was a counterfeit or imitation model and the second order was a commercial model. Thus the simulation of the consumers appearing on portrait photography was controlled by the law of nature in the first order of simulation or by the law of industry if it was of the second order where portrait photography was reproducible in series like commercial products. In analyzing the consumption values of portrait photography, it was significantly found that the consumers still consumed portrait photography in a traditional style. Their oriented purpose of consumption was as for the logic of use value that portrait photography was used as a recording medium. Nevertheless, the consumers additionally gained symbolic exchange value from portrait photography under the operation of the use value.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
นาคจิรังกูร, วริยา, "การวิเคราะห์ภาพถ่ายบุคคลเชิงตรรกะการบริโภคของโบดริยาร์ด" (1997). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 23779.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/23779