Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
การเปรียบเทียบประสิทธิภาพระหว่างวิธีแมนเทล-แฮนส์เซล กับวิธีถดถอยโลจิสติกในการตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกัน ของแบบสอบถามแบบอเนกรูป ในกรณีที่จัดกลุ่มความสามารถ ค่าความยากของข้อสอบ และค่าอำนาจจำแนกของข้อสอบต่างกัน
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
A comparison of the efficiency between the Mantel-Haenszel and logistic regression procedures in detecting nonuniform differential item functioning with different group abilities, item difficulties and item discriminations
Year (A.D.)
1997
Document Type
Thesis
First Advisor
ศิริชัย กาญจนวาสี
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
การวัดและประเมินผลการศึกษา
DOI
10.58837/CHULA.THE.1997.175
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพระหว่างวิธีแมนเทล-แฮนส์เซล กับวิธีถดถอยโลจิสติกในการตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบแบบอเนกรูป โดยศึกษาจากข้อมูลที่จำลองขึ้นด้วยโปรแกรม IRTDATA เงื่อนไขที่ศึกษาได้แก่ (1) กลุ่มความสามารถผู้สอบ 3 ระดับ คือ กลุ่มผู้สอบที่มีความสามารถสูง ปานกลาง และต่ำ (2) ค่าความยากของข้อสอบ 3 ระดับ คือ กลุ่มข้อสอบที่มีค่าความยาก สูง ปานกลาง และต่ำ (3) ค่าอำนาจจำแนกของข้อสอบ 3 ระดับ คือ กลุ่มข้อสอบที่มีค่าอำนาจจำแนกสูง ปานกลาง และต่ำ รวมเงื่อนไขที่ศึกษาทั้งหมด 27 เงื่อนไข ผลการวิจัยพบว่า 1. โดยภาพรวมวิธีแมนเทล-แฮนส์เซลกับวิธีถดถอยโลจิสติกมีประสิทธิภาพการตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบแบบอเนกรูปเท่ากัน ในกลุ่มผู้สอบที่มีความสามารถสูง ปานกลาง และต่ำ 2. ในกลุ่มผู้สอบที่มีความสามารถสูง ข้อสอบที่ตรวจพบการทำหน้าที่ต่างกันแบบอเนกรูปมากที่สุดเป็นข้อสอบที่มีค่าความยากสูง ค่าอำนาจจำแนกสูง 3. ในกลุ่มผู้สอบที่มีความสามารถปานกลาง ข้อสอบที่ตรวจพบการทำหน้าที่ต่างกันแบบอเนกรูปมากที่สุดเป็นข้อสอบที่มีค่าความยากปานกลาง ค่าอำนาจจำแนกสูง 4. ในกลุ่มผู้สอบที่มีความสามารถต่ำ ข้อสอบที่ตรวจพบการทำหน้าที่ต่างกันแบบอเนกรูปมากที่สุดเป็นข้อสอบที่มีค่าความยากต่ำ ค่าอำนาจจำแนกสูง
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The purpose of this research was to compare the efficiency between the Mantel-Haenszel and logistic regression procedures in detecting nonuniform differential item functioning. Data were simulated from IRTDATA program. Factors of this study were (1) 3 ability groups ; high, medium and low ability groups (2) 3 item difficulties ; high, medium and low item difficulties (3) 3 item discriminations ; high, medium and low item discriminations. Twenty-seven conditions were investigated in this study. The results of this research were as follows : 1. The Mantel-Haenszel and logistic regression procedures were equally efficient in detecting nonuniform DIF for high, medium and low ability groups. 2. For the high ability group, nonuniform DIF was detected mostly for items with high difficulty and high discrimination. 3. For the medium ability group, nonuniform DIF was detected mostly for items with medium difficulty and high discrimination. 4. For the low ability group, nonuniform DIF was edtected mostly for items with low difficulty and high discrimination.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
มุคดา, รัชรินทร์, "การเปรียบเทียบประสิทธิภาพระหว่างวิธีแมนเทล-แฮนส์เซล กับวิธีถดถอยโลจิสติกในการตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกัน ของแบบสอบถามแบบอเนกรูป ในกรณีที่จัดกลุ่มความสามารถ ค่าความยากของข้อสอบ และค่าอำนาจจำแนกของข้อสอบต่างกัน" (1997). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 23664.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/23664